svasdssvasds

ส่องรายชื่อ 7 ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ Net Zero Emission

ส่องรายชื่อ 7 ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ Net Zero Emission

Net Zero Emission เป็นเป้าหมายร่วมกันที่ประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญและจับมือกันก้าวสู่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ เพื่อควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เข้่าสู่วิกฤติ

ข้อมูลจาก world economic forum รวบรวมสรุปรายชื่อ 7 ประเทศที่ปัจจุบันมีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ซึ่งหมายถึงการที่ก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยจากกิจกรรมของมนุษย์มีภาวะสมดุลกับการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก

 

1.ภูฏาน Bhutan 
ประเทศในเทือกเขาหิมาลัย (Himalayas) นี้ปกคลุมด้วยป่าไม้กว่า 72% ต้นไม้เหล่านี้ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 9 ล้านตันต่อปี

2.ซูรินาม Suriname
ประเทศชื่อไม่คุ้นนี้ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ติดกับประเทศกายอานา เป็นประเทศที่มีป่าไม้มากที่สุดในโลกถึง 97% ของพื้นที่ประเทศทั้งหมด 

3.ปานามา Panama
ประเทศที่มีต้นไม้ครอบคลุมถึง 57% ของประเทศ และวางแผนตั้งเป้าที่จะปลูกป่าทดแทนเพิ่มขึ้นในพื้นที่กว่า 5 หมื่นเฮกตาร์ (คิดเป็นประมาณ 312,500 ไร่) ภายในปี 2050

4.กายอานา Guyana 
ประเทศที่ตั้งอยู่แถบชายฝั่งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ มีป่าไม้ที่เติบใหญ่ตั้งรกรากมานานอยู่กว่า 14.48 ล้านเฮกตาร์ (คิดเป็นประมาณ 9,050,000 ไร่) ซึ่งมีความหนาแน่นของคาร์บอนมากเป็นพิเศษ

5.กาบอง Gabon 
หนึ่งในหกประเทศที่ตั้งอยู่ในบริเวณป่าฝนคองโก (Congo rainforest) ซึ่งเป็นป่าฝนที่คงรักษาความสมบูรณ์และถูกทำลายน้อยที่สุดจากเขตป่าฝนที่มีทั้งหมดบนโลก

6.มาดากัสการ์ Madagascar 
เกาะของทวีปแอฟริกาที่ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ประเทศในแอฟริกาแห่งนี้ยังคงการเป็น (Net Zero Emission)  ได้อยู่ แต่แนวโน้มการตัดไม้ทำลายป่าที่มีกว้างขวางเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้กำลังจะกลายเป็นหนึ่งผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนในไม่ช้า

7.นีอูเอ Niue
เกาะเล็กๆ ในภูมิภาคแบบเขตภูเขาไฟนี้ผลิตก๊าซเรือนกระจกต่อปีน้อยกว่า 0.0001% แต่ป่าไม้ภายในประเทศที่มีสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าการปล่อยที่มี

สำหรับประเทศไทยได้กำหนดแนวนโยบายภาคพลังงาน โดยมีเป้าหมายสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถมุ่งสู่พลังงานสะอาดและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนไดออกไซด์) สุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายใน ค.ศ. 2065-2070 (พ.ศ.2608-2613) หรืออีก 49 ปีข้างหน้า ซึ่งประกาศมติที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในวันที่ 4 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา

ที่มา

greenpeace.org

world economic forum

related