SHORT CUT
กรุงเทพฯ กำลังเผชิญภาวะเกาะความร้อนในเมือง อาจมีคนเสียชีวิต 2,300 ราย ค่าไฟพุ่ง 1.7 หมื่นล้านต่อปี ชวนอ่าน 5 ผลกระทบจากธนาคารโลกประจำประเทศไทย พร้อมกางแผนรับมือ
คนกรุงฯ เคยสงสัยไหมว่าเหตุใดพื้นที่ในเมืองถึงรู้สึกร้อบอบอ้าวมากกว่าพื้นที่รอบนอกเมือง แน่ล่ะ...เมืองไทยกับอากาศร้อนเป็นของคู่กัน แต่อีกหนึ่งเหตุผลคือปรากฏการณ์ที่เรียกว่า เกาะความร้อนในเมือง มองไม่เห็น แต่รู้สึกได้ และมีผลกระทบกับชีวิตเรามากกว่าที่คิด !
“อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเพียง 1 องศา อาจนำไปสู่การเสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อนกว่า 2,300 ราย”
"สูญเสียค่าจ้างแรงงานกว่า 44,000 ล้านบาท”
“ค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอีกราว 17,000 ล้านบาทต่อปี”
SPRiNG ชวนทำความเข้าใจปรากฎการณ์เกาะความร้อนในเมือง อันตรายแค่ไหน ส่งผลกระทบในแง่มุมใดบ้าง พร้อมสรุป 4 แนวทางแก้ไขปัญหาจากธนาคารโลกประจำประเทศไทย เมื่อกรุงเทพฯ กลายเป็นเกาะความร้อน แก้ไขอย่างไรดี ?
Urban Heat Island - UHI หรือ “ปรากฏการณ์เกาะความร้อนในเมือง” รายงานล่าสุดจากธนาคารโลกแห่งประเทศไทยกับกรุงเทพมหานคร อธิบายว่า ช่วงกลางวันที่แดดร้อนจัด ตึกสูงและพื้นคอนกรีตในเมืองดูดซับความร้อนไว้ และจะคายออกมาในตอนกลางคืน
และที่สำคัญการมีอยู่ของตึกสูงทั่วกรุงเทพฯ ยังกัดขวางการเคลื่อนไหวของลม ทำให้ความร้อนถูกถ่ายเทไม่สะดวก กระทั่งดึงความชื้นไปบนฟ้า เป็นอีกหนึ่งเหตุผลว่าทำไมฝนมักตกช่วงเลิกงาน ก็เพราะฉะนี้นี่เอง
1.กรุงเทพฯ มีวันอากาศร้อนเพิ่มขึ้น
ระหว่างปี 2503 - 2543 กรุงเทพฯ มีวันที่อุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียสประมาณ 60 - 100 วันต่อปี การคาดการณ์ด้วยแบบจำลองภูมิอากาศในรายงานชี้ว่า ภายในปี 2643 กรุงเทพฯ อาจเผชิญกับวันที่อุณหภูมิสูงเกิน 35 องศาเซลเซียสเพิ่มขึ้นอีก 153 วันต่อปีในกรณีที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณปานกลาง
2. ความร้อนในเมืองไม่เท่ากัน
ความรุนแรงของเกาะความร้อนแตกต่างกันตามพื้นที่ บางเขต เช่น เขตปทุมวัน บางรัก ราชเทวี และพญาไท เป็นพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นที่โดยรอบเฉลี่ยถึง 2.8 องศาเซลเซียสเนื่องจากมีอาคารสูงและพื้นผิวคอนกรีตหนาแน่นที่สะสมความร้อนและระบายออกช้า
3. เสี่ยงต่อสุขภาพ - ทรัพย์สิน - อาจถึงเสียชีวิต
หากอุณหภูมิในเมืองเพิ่มขึ้นเพียง 1 องศาเซลเซียส กรุงเทพฯ อาจเผชิญกับการเสียชีวิตจากความร้อนกว่า 2,300 ราย โดยมีประชากรกลุ่มเปราะบางที่เผชิญความเสี่ยงสูง เช่น เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ราว 880,000 คน และผู้สูงอายุเกิน 65 ปี ประมาณ 1 ล้านคน ซึ่งกลุ่มเหล่านี้มักอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความร้อนสูงที่สุด
4. อากาศร้อนเกินไปทำสายพานแรงงานหยุดชะงัก
ในปี 2562 มีคนทำงานประมาณ 1.3 ล้านคนในกรุงเทพฯ ที่ทำงานกลางแจ้งอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ หากอุณหภูมิในเมืองเพิ่มขึ้นเพียง 1 องศาเซลเซียสอาจทำให้ผลิตภาพแรงงานลดลงประมาณ 3.4% นำไปสู่การสูญเสียค่าจ้างแรงงานมากกว่า 44,000 ล้านบาทต่อปี
5. ค่าไฟพุ่ง
หากอุณหภูมิในเมืองเพิ่มขึ้นเพียง 1 องศาเซลเซียส อาจทำให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นราว 17,000 ล้านบาทต่อปี ความร้อนที่รุนแรงยังส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ เช่น ถนน ซึ่งต้องได้รับการซ่อมแซมบ่อยขึ้น ส่งผลให้เกิดภาระทางเศรษฐกิจเพิ่มเติม
มาตรการระยะสั้น
มาตรการระยะยาว
ที่มา: ธนาคารโลกประจำประเทศไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง