svasdssvasds

ออสเตรเลีย ปลาเกยตื้นตาย 30,000 ตัว เพราะถูกคลื่นความร้อนในมหาสมุทร เล่นงาน

ออสเตรเลีย ปลาเกยตื้นตาย 30,000 ตัว เพราะถูกคลื่นความร้อนในมหาสมุทร เล่นงาน

ยังไม่มีท่าทีว่าจะจบลงง่าย ๆ สำหรับ คลื่นความร้อนในมหาสมุทร ที่กำลังแผ่ซ่านไปทั่วน่านน้ำของประเทศออสเตรเลีย ทำให้ล่าสุด มีคนพบ ปลากว่า 30,000 ตัว ลอยเกยตื้นตายที่หาด Gnoorea

ณ เวลานี้ คลื่นความร้อนในมหาสมุทร (marine heatwave) ได้ฆ่าปลาในออสเตรเลียไปแล้วกว่า 30,000 ตัว ซึ่งลอยเกยตื้นที่หาด Gnoorea ใกล้กับเมืองคาร์ราต้า (Karratha) สร้างความตื่นหนกแก่ผู้พบเห็น และนักวิทยาศาสตร์กำลังเป็นกังวลกับเรื่องนี้มาก

Department of Primary Industries and Regional Development

ก่อนอื่นต้องรู้กันเบื้องต้นก่อนว่า คลื่นความร้อนในมหาสมุทร หรือ marine heatwave คืออะไร?

คลื่นความร้อนในมหาสมุทร คือ ปรากฎการณ์อุณหภูมิผิวน้ำของมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้นมากผิดปกติเป็นระยะเวลานาน อาจจะเป็นสัปดาห์ เดือน หรือหลายปี และสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ในมหาสมุทร

โดยมีสาเหตุมาจากการดูดซับความร้อนจากพื้นผิวโลกที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มากักเก็บไว้ในมหาสมุทรหรือทะเลมากเกินไป ทำให้อุณหภูมิผิวน้ำสูงกว่าค่าเฉลี่ย เกิดปะการังฟอกขาว และสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

อันที่จริงออสเตรเลียเคยเผชิญเหตุการณ์คลื่นความร้อนในมหาสมุทรมาแล้ว อันได้แก่ปี 2010 ซึ่ง ณ เวลานั้น ทั้งปลา ระบบนิเวศใต้น้ำ รวมถึงระบบนิเวศริมชายฝั่ง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก

 

คลื่นความร้อนในมหาสมุทร จะสิ้นสุดเมื่อไหร่?

เว็บไซต์ The University of Western Australia อธิบายว่า เมื่อช่วงปลายเดือนธันวาคม ปี 2024 ที่ผ่านมา อุณหภูมิน้ำสูงขึ้น  4-5 องศา และหลักจากที่บรรดานักวิจัยได้ใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น ดาวเทียม ก็พบว่า อุณหภูมิน้ำที่ระดับความลึก 200 เมตรนั้นสูงผิดปกติ

ทั้งนี้ คลื่นความร้อนในออสเตรเลียในครั้งนี้ ยังไม่มีวี่แววว่าจะบรรเทา หรือจบลง โดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่า คลื่นความร้อนในมหาสมุทรนั้นจะดำเนินไปเรื่อย ๆ จนถึงเดือนกุมภาพันธ์

 

 

ที่มา: The Guardian

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related