svasdssvasds

จริงหรือที่ว่า...โปรตีนในพืชลดลง 10% เพราะภาวะโลกเดือด กระอักคาร์บอน !

จริงหรือที่ว่า...โปรตีนในพืชลดลง 10% เพราะภาวะโลกเดือด กระอักคาร์บอน !

เป็นที่ทราบกันว่า ‘ภาวะโลกเดือด’ นั้นส่งผลกระทบในหลาย ๆ แง่มุม อาทิ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การดำเนินธุรกิจ หรือแม้กระทั่งการทำเกษตรกรรม

ในสภาวะนี้ สภาพอากาศโลกจะคละคลุ้งไปด้วยก๊าซคาร์บอนฯ ในขณะที่ ‘ดิน’ ซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญของพืชผักทั้งหลาย กลับมาสารอาหารลดลง

งานวิจัยได้ชี้ชัดให้เห็นว่า เมื่อพืชผลทางการเกษตร เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าว และถั่วเหลือง สัมผัสกับ CO2 ในระดับที่คาดการณ์ไว้สำหรับปี 2593 พืชจะสูญเสียสังกะสีมากถึง 10% ธาตุเหล็ก 5% และโปรตีน 8%

Credit Reuters

เมื่อสารอาหารในพืชลดลง แรกสุดเลยก็คือ ส่งผลกระทบต่อสัตว์ ที่กินพืชพรรณใบหญ้าเป็นอาหาร ยกตัวอย่างเช่น ตั๊กแตน ในปี 2020 มีการศึกษาที่พบว่า จำนวนตั๊กแตนลดลงประมาณ 1 ใน 3 ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งผู้วิจัยเสนอว่าเป็นเพราะพืชมีสารอาหารลดลง

กระนี้ นักวิทยาศาสตร์จึงตั้งข้อสันนิษฐานว่าเมื่อพืชได้รับก๊าซคาร์บอนฯ ในปริมาณมาก พืชจะมีประสิทธิภาพในการดูดซับแร่ธาตุน้อยลง กล่าวคือ รากสามารถดูดซับสารอาหารเข้ามาได้น้อยลง

ในมุมกลับกัน การเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนฯ ก็สามารถทำให้พืชบางชนิดเติบโตได้ดี และมีผลผลิตดีกว่าปกติ แต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะหากเราคิดถึงมุมอื่น ๆ ที่เกษตรกรต้องเจอ อาจไม่คุ้มค่ากันเท่าไร

Credit Reuters

ยกตัวอย่างเช่น คลื่นความร้อน สภาพอากาศแปรปรวน ภัยแล้ง น้ำท่วม เหล่านี้ส่งผลกระทบมากกว่าแค่สารอาหาร แต่หมายรวมไปถึงเรื่องปากท้อง เศรษฐกิจ ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นภารกิจที่นักวิทยาศาสตร์ต้องลงมือค้นหาคำตอบที่แน่ชัดกันต่อไปว่า เมื่อโลกเผชิญกับภาวะโลกเดือด ก๊าซคาร์บอนฯ สูงขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบกับปริมาณสารอาหารของพืชอย่างไร

 

ที่มา: knowledgable magazine, The Guardian

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related