svasdssvasds

วิจัยใหม่พบ โฮโม อิเร็กตัส ปรับตัวเก่ง ! จึงอยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมเลวร้าย

วิจัยใหม่พบ โฮโม อิเร็กตัส ปรับตัวเก่ง ! จึงอยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมเลวร้าย

จากเดิมที่เคยเชื่อกันว่า "โฮโม เซเปียนส์" คือมนุษย์ยุคแรกที่สามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นใจ สภาพอากาศเลวร้าย หรือแม้แต่การอาศัยอยู่ในทะเลทราย ได้เป็นสายพันธุ์แรก ข้อค้นพบของงานวิจัยชิ้นนี้ ชวนทำให้ต้องขบคิดกันใหม่เสียแล้ว

ก่อนที่ โฮโม เซเปียนส์ (Home sapiens) หรือบรรพบุรุษของมนุษย์ยุคปัจจุบัน โลกใบกลม ๆ นี้เคยมีมนุษย์โบราณอาศัยอยู่ก่อน ‘รุ่นพี่’ ของพวกเราก็คือ โฮโม อีเร็กตัส (Home erectus) โดยมีชีวิตอยู่ช่วงระหว่าง 1.8 ล้าน - 1.1 แสนปีก่อน แล้วก็เป็นอันต้องสูญพันธุ์ไป

ส่วนความเข้าใจที่ว่า โฮโม เซเปียนส์ นั้นคือมนุษย์ยุคแรกที่สามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นใจ สภาพอากาศเลวร้าย หรือแม้แต่การอาศัยอยู่ในทะเลทราย คงต้องขบคิดกันใหม่เสียแล้ว

งานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ในวารสาร Communication Earth & Environment ได้ทำการศึกษาแหล่งโบราณคดี ‘Engaji Nanyori’ อยู่ทางตอนเหนือของประเทศแทนซาเนีย ทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นแหล่งที่ค้นพบซากฟอสซิลของโฮโมอีเร็กตัส และเครื่องมือหินมากที่สุดแห่งหนึ่ง

ทีมนักวิจัยชี้ว่า ในอดีต พื้นที่บริเวณดังกล่าวเคยมีสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งมาก่อน มีน้ำ และพืชพรรณเพียงเล็กน้อย ซึ่งแปลว่ายากต่อการดำรงชีวิต แต่ทีมนักวิจัยได้ทำการวิเคราห์เครื่องมือหินต่าง ๆ และมีข้อสันนิษฐานดังนี้

โฮโม อีเร็กตัส เริ่มมีการลับเครื่องมือหินให้แหลมคมเพื่อใช้ในการฆ่าสัตว์ ทั้งยังเริ่มมีไอเดียว่าควรพกอาวุธเหล่านี้ติดตัวไว้ด้วยเวลาออกไปไหนมาไหน เผื่อว่าเจอสัตว์จะได้ลงมือฆ่าทันที ยืนยันจากหลักฐานที่นักวิจัยค้นพบ

Credit Natural History Museum

นั่นก็คือรอยถูกเลื่อย หรือหั่นที่ซากกระดูกของสัตว์ อาทิ วัว ฮิปโปโปเตมัส จระเข้ ซึ่งสันนิษฐานว่ามีการถลกหนังของสัตว์เหล่านี้มาใช้ประโยชน์ ทั้งยังมีการควักไขกระดูกสัตว์ออกมาด้วย

“สิ่งนี้บ่งชี้ว่ามนุษย์โฮโมอิเร็กตัสปรับการใช้ทรัพยากรให้เหมาะสมเพื่อปรับตัวให้เข้ากับความท้าทายของสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง ซึ่งทรัพยากรมีอย่างจำกัด และจำเป็นต้องถูกใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่" Mercader Florin หนึ่งในผู้เขียนงานวิจัยชิ้นนี้ กล่าว

“สิ่งนี้สะท้อนว่า โฮโมอิเร็กตัสสามารถมีชีวิตรอดได้ในระยะยาวในสภาพแวดล้อมที่รุนแรง มีแหล่งอาหารน้อย พืชพรรณน้อยมาก อุณหภูมิ และความชื้นสูง”

นักวิจัยยังเปิดเผยในงานชิ้นนี้อีกว่าทักษะการ ‘ปรับตัว’ ของโฮโมอีเร็กตัสในการอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมอันเลวร้าย แล้วอาหารอันน้อยนิด อาจพอตอบได้ว่าเหตุใดมนุษย์สายพันธุ์นี้จึงสามารุเดินทางจากแอฟริกาไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลกได้ เช่น เอเชีย เกาะชวา หรือประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน

 

ที่มา: SmithSonianmag

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related