SHORT CUT
สำหรับแนวทางการรับมือเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย มีดังนี้ ปี2568 ตั้งเครื่องติดตามการเคลื่อนตัวของดิน 140 สถานี ในอนาคตติดตั้ง 600 สถานีทั่วประเทศ
กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผย ปี2567 ไทยเผชิญเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย เกิดเหตุรวม 1,112 เหตุการณ์ แผ่นดินถล่ม-น้ำป่าไหลหลาก 160 เหตุการณ์ แผ่นดินไหว 947 เหตุการณ์ และหลุมยุบรวม 5 เหตุการณ์
เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย ใครๆก็ไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่…เราไม่สามารถไปควบคุมธรรมชาติได้ เพราะโลกของเราเปลี่ยนแปลงไปมาก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยบ่อยขึ้น ดังนั้นแนวทางการรับมือที่ดีจะช่วยให้ลดความสูญเสียได้มากขึ้น วันนี้ #SPRiNG ได้รวบรวมข้อมูลจาก กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผยว่า ปี2567 ไทยเผชิญเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย เกิดเหตุรวม 1,112 เหตุการณ์ แบ่งตามรายละเอียดดังนี้
สำหรับแนวทางการรับมือเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย มีดังนี้
ทั้งนี้ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) เปิดเผยว่า ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัยเพื่อรับมืออนาคต จากข้อมูลเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยในรอบปี 2567 พบว่า ประเทศไทยเผชิญเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย รวม 1,112 เหตุการณ์ แบ่งเป็น แผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก 160 เหตุการณ์ แผ่นดินไหว 947 เหตุการณ์ และหลุมยุบรวม 5 เหตุการณ์ จากการสำรวจล่าสุดพบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินถล่มระดับสูงมากถึงปานกลาง ครอบคลุมพื้นที่ 54 จังหวัด 463 อำเภอ 1,984 ตำบล 15,559 หมู่บ้าน คิดเป็นพื้นที่เสี่ยงรวม 142,067 ตารางกิโลเมตร (84.8 ล้านไร่) หรือประมาณร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศไทย
โดยเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2567 คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนำแผนที่พื้นที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่มของประเทศไทยไปใช้ประกอบการเตรียมความพร้อม ป้องกัน เฝ้าระวังและเตือนภัยในพื้นที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่มในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว
ทั้งนี้ รมว.ทส. ได้ให้นโยบายด้านการป้องกัน เฝ้าระวัง แจ้งเตือนธรณีพิบัติภัย และมอบหมายกรมทรัพยากรธรณีให้ดำเนินการลดผลกระทบธรณีพิบัติต่อประชาชนในพื้นที่เสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยพัฒนาข้อมูลและแนวทางมาตรการให้มีความครบถ้วน พัฒนาระบบการเฝ้าระวังธรณีพิบัติภัยแผ่นดินถล่ม และเครือข่ายกรมทรัพยากรธรณีให้มีความพร้อมรับมือ และพัฒนาแบบจำลองการเตือนภัยและศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณีให้มีความพร้อม
สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2568 กรมทรัพยากรธรณีจะเร่งติดตั้งเครื่องตรวจติดตามการเคลื่อนตัวของมวลดินเพิ่มอีกกว่า 140 สถานี ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงธรณีพิบัติภัยแผ่นดินถล่ม ในจังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนติดตั้งรวม 600 สถานีทั่วประเทศ พร้อมเสริมสร้างขีดความสามารถในการรับมือและลดความเสี่ยงจากธรณีพิบัติภัยแก่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ รมว.ทส. มอบหมายให้ ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการติดตามเฝ้าระวังและประเมินสถานการณ์ธรณีพิบัติภัยระดับประเทศ โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับชุมชนและเครือข่ายท้องถิ่น เพื่อให้การแจ้งเตือนภัยเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
สำหรับแผนที่พื้นที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่มของประเทศไทยครอบคลุม 54 จังหวัด463 อำเภอ 1,984 ตำบล และหนังสือคู่มือลดผลกระทบธรณีพิบัติภัยแผ่นดินถล่ม 2567
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นักธรณี พบ แก่น-เนื้อโลก ไม่ได้หมุนในระนาบเดียวกัน คาดใช้เวลา 8.5 ปี เวียนครบ
6 อันดับ แผ่นดินไหวที่คร่าชีวิตผู้คนมากที่สุด นับตั้งแต่ปี 1950