svasdssvasds

ชงของบ 400 ล้าน รับมือ “พิบัติภัยปี2568” ตั้งเครื่องมือ 600 สถานีทั่วประเทศ

ชงของบ 400 ล้าน รับมือ “พิบัติภัยปี2568” ตั้งเครื่องมือ 600 สถานีทั่วประเทศ

“ดร.เฉลิมชัย” เปิดศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย ชงของบ 400 ล้านบาท รับมือ “พิบัติภัยปี2568” พร้อมเผยสถิติธรณีพิบัติภัยรอบปี 67 ลุยติดตั้งเครื่องมือตรวจวัด ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงกว่า 600 สถานีทั่วประเทศ

SHORT CUT

  • เรื่องพิบัติภัยเป็นเรื่องที่รอช้าไม่ได้ เพราะหากไม่มีการเตรียมความพร้อมรับมือให้ดีอาจเกิดความเสียหายกับชีวิตทรัพย์สินได้
  • ปี 2567 พบว่า ประเทศไทยเผชิญเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย รวม 1,112 เหตุการณ์ แบ่งเป็น แผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก 160 เหตุการณ์ แผ่นดินไหว 947 เหตุการณ์ และหลุมยุบรวม 5 เหตุการณ์
  • ทั้งนี้จึงทำให้เปิดศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย พร้อมชงของบ 400 ล้านบาท รับมือ “พิบัติภัยปี2568” ลุยติดตั้งเครื่องมือตรวจวัด ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงกว่า 600 สถานีทั่วประเทศ

“ดร.เฉลิมชัย” เปิดศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย ชงของบ 400 ล้านบาท รับมือ “พิบัติภัยปี2568” พร้อมเผยสถิติธรณีพิบัติภัยรอบปี 67 ลุยติดตั้งเครื่องมือตรวจวัด ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงกว่า 600 สถานีทั่วประเทศ

เพราะ…เรื่องพิบัติภัยเป็นเรื่องที่รอช้าไม่ได้ เพราะหากไม่มีการเตรียมความพร้อมรับมือให้ดี อาจเกิดความเสียหายกับชีวิต ทรัพย์สินได้ โดยปี2567 ที่ผ่านมา ไทยก็ประสบพิบัติภัยมากมาย จึงทำให้ปี2568 ต้องวางแผนรับมือกันอย่างหนัก อย่างล่าสุด ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) เป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการและนิทรรศการ โดยมี นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ ที่ปรึกษา รมว.ทส. นาวาตรี สุธรรม ระหงษ์ เลขานุการ รมว.ทส. นายนริศ ขำนุรักษ์ คณะทำงาน รมว.ทส. นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงฯ เข้าร่วมงาน โอกาสนี้ นายพิชิต สมบัติมาก อธิบดีกรมทรัพยากรธรณีและคณะผู้บริหาร ร่วมให้การต้อนรับ ณ ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี

ดร.เฉลิมชัย  ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า กำลังจะยื่นเสนอของบประมาณรับมือพิบัติภัยปี2568 กับ คณะรัฐมนตรี (ครม) ในเร็วๆนี้ วงเงินกว่า 400 ล้านบาท เพื่อรับมือพิบัติภัยที่มีโอกาสจะเกิดขึ้น พร้อมแผนติดตั้งเครื่องมือตรวจวัด ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงกว่า 600 สถานีทั่วประเทศ

ทั้งนี้จากข้อมูลเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยในรอบปี 2567 พบว่า ประเทศไทยเผชิญเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัย รวม 1,112 เหตุการณ์ แบ่งเป็น แผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก 160 เหตุการณ์ แผ่นดินไหว 947 เหตุการณ์ และหลุมยุบรวม 5 เหตุการณ์  จากการสำรวจล่าสุดพบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินถล่มระดับสูงมากถึงปานกลาง ครอบคลุมพื้นที่ 54 จังหวัด 463 อำเภอ 1,984 ตำบล 15,559 หมู่บ้าน คิดเป็นพื้นที่เสี่ยงรวม 142,067 ตารางกิโลเมตร (84.8 ล้านไร่) หรือประมาณร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศไทย

ชงของบ 400 ล้าน รับมือ “พิบัติภัยปี2568” ตั้งเครื่องมือ 600 สถานีทั่วประเทศ

โดยเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2567 คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนำแผนที่พื้นที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่มของประเทศไทยไปใช้ประกอบการเตรียมความพร้อม ป้องกัน เฝ้าระวังและเตือนภัยในพื้นที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่มในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเร็วทั้งนี้ รมว.ทส. ได้ให้นโยบายด้านการป้องกัน เฝ้าระวัง แจ้งเตือนธรณีพิบัติภัย

และมอบหมายกรมทรัพยากรธรณีให้ดำเนินการลดผลกระทบธรณีพิบัติต่อประชาชนในพื้นที่เสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยพัฒนาข้อมูลและแนวทางมาตรการให้มีความครบถ้วน พัฒนาระบบการเฝ้าระวังธรณีพิบัติภัยแผ่นดินถล่ม และเครือข่ายกรมทรัพยากรธรณีให้มีความพร้อมรับมือ และพัฒนาแบบจำลองการเตือนภัยและศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณีให้มีความพร้อม

อย่างไรก็ตามแผนการดำเนินงานในปี 2568 กรมทรัพยากรธรณีจะเร่งติดตั้งเครื่องตรวจติดตามการเคลื่อนตัวของมวลดินเพิ่มอีกกว่า 140 สถานี ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงธรณีพิบัติภัยแผ่นดินถล่ม ในจังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนติดตั้งรวม 600 สถานีทั่วประเทศพร้อมเสริมสร้างขีดความสามารถในการรับมือและลดความเสี่ยงจากธรณีพิบัติภัยแก่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ รมว.ทส. มอบหมายให้ ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการติดตามเฝ้าระวังและประเมินสถานการณ์ธรณีพิบัติภัยระดับประเทศ โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับชุมชนและเครือข่ายท้องถิ่น เพื่อให้การแจ้งเตือนภัยเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

ชงของบ 400 ล้าน รับมือ “พิบัติภัยปี2568” ตั้งเครื่องมือ 600 สถานีทั่วประเทศ

สำหรับแผนที่พื้นที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่มของประเทศไทยครอบคลุม 54 จังหวัด463 อำเภอ 1,984 ตำบล และหนังสือคู่มือลดผลกระทบธรณีพิบัติภัยแผ่นดินถล่ม 2567 สามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่แผนที่เสี่ยงภัย 54 จังหวัด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

related