svasdssvasds

COP29 รุมสับ 2 ยักษ์ใหญ่ "จีน-อินเดีย" ไม่ควรได้รับเงินทุนแก้โลกเดือด

COP29 รุมสับ 2 ยักษ์ใหญ่ "จีน-อินเดีย" ไม่ควรได้รับเงินทุนแก้โลกเดือด

ประเทศยากจนทวงถามความเหมาะสมจากที่ประชุม COP29 "จีน-อินเดีย" ไม่ใช่ประเทศกำลังพัฒนา คนหนึ่งเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 อีกคนปล่อยมลพิษมากที่สุดในโลก ยังสมควรได้รับเงินทุนแก้โลกเดือดอยู่หรือไม่?

การประชุม COP29 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานในครั้งนี้คือการเปิดโต๊ะเพื่อประชุมกันเรื่องการจัดหาเงินทุนเพื่อต่อสู้กับปัญหาสภาพภูมิอากาศ (climate finance)

หนึ่งประเด็นที่มีการหยิบยกขึ้นมาพูดถึงหลายครั้งจากหลาย ๆ ประเทศสมาชิกก็คือคำถามที่ว่า จีนกับอินเดียยังสมควรถูกนิยามว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนาอีกหรือไม่

Credit Reuters

ซึ่งถ้าคำตอบคือ “ไม่” สองประเทศนี้ก็ไม่ควรได้รับเงินเพื่อแก้ปัญหาโลกเดือด และสองประเทศนี้ก็ไม่ได้มีปัญหาเรื่องการดึงดูดการลงทุนเข้าประเทศ หนำซ้ำสองยักษ์ใหญ่ควรช่วยลงขันเงินทุนเพื่อช่วยเหลือประเทศยากจน ที่กำลังเสี่ยงภัยกับปัญหาด้านสภาพอากาศ

บาลาราเบ อับบาส ลาวัล รัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมไนจีเรีย เปิดเผยว่า “จีนและอินเดียไม่สมควรจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอีกต่อไป สองประเทศนี้ คนละเรื่องกันเลยเมื่อเทียบกับไนจีเรีย และประเทศอื่น ๆ ในแอฟริกา อีกทั้ง พวกเขาควรให้คำมั่นสัญญาว่าจะช่วยเหลือ และสนันสนุน (เงิน) ประเทศยากจน”

เล่าย้อนความสักนิดว่าการประชุม COP29 ในครั้งนี้ มีรัฐบาลจาก 200 ประเทศ มารวมตัวกันที่อาเซอร์ไบจาน เพื่อหารือการเรื่องเงินทุนช่วยเหลือด้านสภาพอากาศ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อขับเคลื่อน และสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และรับมือกับสภาพอากาศที่เลวร้าย

 

ทำไม “จีน-อินเดีย” ยังถูกนิยามว่ายังเป็นประเทศกำลังพัฒนา?

เว็บไซต์เดอะการ์เดียนอธิบายว่า กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เมื่อปี 1992 มีกว่า 154 ประเทศที่ร่วมลงนามอนุสัญญาว่าด้วยการจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่ง ณ เวลานั้น จีนและอินเดีย (หนึ่งในประเทศสมาชิก) ยังถือว่าเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา

ดังนั้น หากอ้างอิงจากอนุสัญญาที่ร่วมลงนามไว้เมื่อปี 1992 อินเดียกับจีนไม่จำเป็นต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และไม่จำเป็นต้องร่วมระดมเงินทุนเพื่อช่วยเหลือประเทศยากจน หนำซ้ำ สองประเทศนี้มีสิทธิเป็นฝ่ายได้รับเงินช่วยเหลือด้านสภาพอากาศเสียเอง

Credit Reuters

“ประเทศที่สมควรได้รับการสนับสนุนนี้จริงๆ คือประเทศในแอฟริกา ประเทศยากจนในเอเชีย และประเทศเกาะขนาดเล็กที่เผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่เลวร้าย” ลาวัลกล่าว

มิเพียงแค่ไนจีเรียที่ออกมาพูดในลักษณะนี้กับจีนและอินเดีย หนึ่งในตัวแทนจากแอฟริกาได้ออกมาเปิดเผยว่า “จีน อินเดีย แอฟริกาใต้ อียิปต์ ประเทศเหล่านี้ไม่ควรอยู่ในรายชื่อประเทศกำลังพัฒนา พวกเขามีเงื่อนไขในการเข้าถึงเงินทุนมากกว่าเรามาก พวกเขาควรช่วยเหลือประเทศยากจน”

นอกจากนี้ ยังมีการระบุอีกว่า บรรดาประเทศที่พัฒนาแล้วไม่ค่อยเต็มใจจะจ่ายเงินทุนช่วยเหลือด้านสภาพอากาศให้กับประเทศยากจน และสิ่งที่เป็นอยู่นี้ยุติธรรมหรือไม่ กับการที่จีน ซึ่งเป็นผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดในโลก (11,397 ล้านเมตริกตัน)

แต่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก ขณะที่ อินเดีย ซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลก ยังสมควรได้รับเงินทุนด้านสภาพอากาศอยู่หรือไม่

หลี่ ซัว ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิอากาศจีนแห่งสถาบันนโยบายสังคมเอเชีย เปิดเผยว่า “การผลักดันให้จีนมีส่วนสนับสนุนเงินทุนด้านสภาพอากาศบนเงื่อนไขเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ถือเป็นการกระทำที่ไร้ประโยชน์”

 

ที่มา: The guardian

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related