สหรัฐประกาศสนับสนุนเงินทุนด้านสภาพภูมิอากาศแบบทวีภาคีกว่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นรายที่จ่ายเงินมากที่สุดในโลก เพื่อช่วยรับมือกับภาวะโลกเดือด
การประชุม COP29 ที่ยังดำเนินไปอย่างเข้มข้น หนึ่งในประเด็นหลักที่ต้องได้ข้อสรุปในการประชุมรอบนี้ ณ กรุงบากู อาเซอร์ไบจาน คือ การสนับสนุนเงินทุนด้านสภาพภูมิอากาศ ที่ก่อนหน้านี้ องค์การสหประชาชาติ หรือ UN ถึงกับลั่นว่า ไม่ควรปล่อยให้ประเทศยากจน และ ประเทศกำลังพัฒนากลับบ้านมือเปล่า
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐ พูดถึงประเด็นนี้ในระหว่างเดินทางไปเยือนป่าฝนเขตร้อนผืนใหญ่ในบราซิล นั่นคือ “ป่าแอมะซอน” เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
โดยประธานาธิบดีไบเดน ย้ำว่าเงินทุนสนับสนุนด้านสภาพภูมิอากาศแบบทวิภาคีของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ ซึ่งเป็นไปตามคำมั่นที่เขาได้ให้ไว้
ทำเนียบขาวแถลงก่อนที่ไบเดนจะเดินทางถึงเมืองมาเนาส์ในแอมะซอนของบราซิลว่า
“การต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภารกิจสำคัญที่กำหนดความเป็นผู้นำและการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของไบเดน”
สำหรับตัวเลขเงินทุน 11 พันล้านดอลลาร์ฯ ทำเนียบขาวระบุว่า ทำให้สหรัฐฯ เป็นประเทศที่ให้เงินทุนสนับสนุนด้านสภาพภูมิอากาศแบบทวิภาคีรายใหญ่ที่สุดในโลก
จำนวนเงินดังกล่าวมากกว่าตอนที่ไบเดนเริ่มดำรงตำแหน่งในปี 2564 ถึง 6 เท่า
แต่สหภาพยุโรปยังคงเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนด้านสภาพภูมิอากาศรายใหญ่ที่สุดของโลก
ประมาณครึ่งหนึ่งของเงินทุนสนับสนุนด้านสภาพภูมิอากาศทั้งหมดถูกจัดสรรผ่านกองทุนพหุภาคีที่บริหารร่วมกันโดยประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งนำไปสู่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อแนวทางของสหรัฐฯ ที่ชอบให้เงินทุนแบบทวิภาคี
ข้อมูลล่าสุดจาก OECD ระบุว่า ประเทศร่ำรวยระดมเงินทุนด้านสภาพภูมิอากาศได้ 116,000 ดอลลาร์ในปี 2565
การประชุม COP น่าจะเริ่มสนุกและมีสีสันมากขึ้นเมื่อย่างเข้าสู่สัปดาห์สุดท้ายของการประชุม เมื่อพี่ใหญ่อย่างสหรัฐแสดงเจตนารมณ์แบบนี้แล้ว ประเทศร่ำรวยทั้งหลายจะควักกระเป๋า เพื่อช่วยให้โลกดีขึ้นการระดมทุนสนับสนุนด้านภูมิอากาศรอบนี้