SHORT CUT
มาดูความเคลื่อนไหวการประชุม World Leaders Climate Action Summit โดยมีการเรียกร้องให้ลดอุณหภูมิโลก ด้านยูเอ็นวอนกลุ่มจี 20 นำทีมมก่อน ชี้ เงินทุนสำหรับสภาพภูมิอากาศ คือการลงทุนในอนาคตที่มั่นคงสำหรับทุกประเทศบนโลก
การประชุมสุดยอดผู้นำโลกด้านการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการไปแล้ว ณ สนามกีฬาบากู Plenary Hall Nizami โดยงานซัมมิทจะจัดถึงวันพุธที่ 13 พฤศจิกายน 2567 มีหัวหน้ารัฐ และรัฐบาล, คณะผู้แทนพรรค, แขกที่ได้รับเชิญจากรัฐบาลสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน, หัวหน้าองค์กรสหประชาชาติ และองค์กรที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชนเข้าร่วม
โดยพิธีเปิดมี 3 ผู้นำขึ้นเวทีกล่าวสุนทรพจน์ นำโดยนายอิลฮัม อาลีเยฟ ประธานาธิบดีสาธารณรัฐอาเซอร์ไบ ต่อด้วยนายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ และปิดท้ายด้วยนางไมมูนาห์ โมฮัมหมัด ชารีฟ นายกเทศมนตรีกรุงกัวลาลัมเปอร์และอดีตผู้อำนวยการบริหารโครงการการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์แห่งสหประชาชาติ นอกจากนั้น มีการแสดงด้านวัฒนธรรมในตอนท้ายของงาน
"อันโตนิโอ กูเตอร์เรส" เลขาธิการสหประชาชาติ เน้นย้ำถึงความสำคัญของการประชุม COP ครั้งนี้ ในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่เกิน 1.5°C และเร่งการดำเนินการที่จำเป็นเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ โดยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้สร้างความเสียหายทั้งทางเศรษฐกิจ และสังคมทั่วโลก ตั้งแต่พายุเฮอริเคนที่รุนแรง การเสียชีวิตในสภาพอากาศร้อนจัด ไปจนถึงความหิวโหยเนื่องจากภัยแล้ง ปัญหาเหล่านี้เพิ่มพูนขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุษย์ และไม่มีประเทศใดที่หลีกเลี่ยงได้
ด้านเศรษฐกิจ ห่วงโซ่อุปทานมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทุกที่ การเก็บเกี่ยวที่ล้มเหลวที่ผลักดันราคาขึ้น และบ้านที่ถูกทำลายที่เพิ่มค่าเบี้ยประกันภัยปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องของความอยุติธรรมที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ว่าผู้ร่ำรวยสร้างปัญหาแต่คนยากจนมีราคาที่ต้องจ่ายสูง โดย COP28 เมื่อปีที่แล้ว มีความก้าวหน้าหลังจากเรียกร้องให้ทุกประเทศตกลงที่จะเคลื่อนย้ายออกจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และมุ่งสู่ระบบพลังงานศูนย์การปล่อยก๊าซ การตั้งเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ และการปรับแผนการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (NDCs) ให้สอดคล้องกับขีดจำกัด 1.5°C
ขณะเดียวกัน "กูเตอร์เรส" เรียกร้องให้ทุกประเทศมุ่งเน้นไปที่ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเร่งด่วน การปกป้องประชาชนจากผลกระทบของวิกฤติสภาพภูมิอากาศ และการจัดหาเงินทุนสำหรับการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ เขาย้ำว่าทุกประเทศต้องทำหน้าที่ของตนเอง และกลุ่ม G20 ต้องเป็นผู้นำในการนี้
พร้อมให้เน้นถึงความจำเป็นในการให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสีเขียว โดยเน้นว่าการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นสิ่งจำเป็น และเงินทุนสำหรับสภาพภูมิอากาศไม่ใช่การให้การช่วยเหลือ แต่เป็นการลงทุนในอนาคตที่มั่นคงสำหรับทุกประเทศบนโลก
ด้าน "ไมมูนาห์ โมฮัมหมัด ชาริฟ" นายกเทศมนตรีกัวลาลัมเปอร์ และอดีตผู้อำนวยการบริหารโครงการที่อยู่อาศัยแห่งสหประชาชาติ เล่าว่า ความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะชุมชนที่เปราะบาง สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ชีวิตของคนกลายเป็นการต่อสู้ในแต่ละวัน และประชาชนกำลังมองหาให้ผู้นำระดับโลกดำเนินการเพื่ออนาคตที่ดีกว่า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เกรต้า ธันเบิร์ก ฉะเจ้าภาพ COP 29 ใช้การประชุมฟอกเขียวเรื่องสิทธิมนุษยชน
รู้จัก “มุกห์ตาร์ บาบาเยฟ” อดีตตัวพ่อบริษัทน้ำมัน สู่ประธานการประชุม COP 29
เปิด 4 เรื่องสำคัญ! ไทยบนเวที COP 29 ย้ำการเปลี่ยนผ่านพลังงานที่เป็นธรรม