svasdssvasds

ภาวะโลกร้อน ทำให้ "พายุมิลตัน" กลายเป็นเฮอริเคนระดับ 5 ภายใน 24 ชม.

ภาวะโลกร้อน ทำให้ "พายุมิลตัน" กลายเป็นเฮอริเคนระดับ 5 ภายใน 24 ชม.

นักวิทยาศาสตร์ต่างหวาดกลัว เมื่อพบว่า "พายุมิลตัน" ได้พัฒนาจากพายุโซนร้อน กลายเป็น 'เฮอริเคนระดับ 5' ที่รุนแรงที่สุด ภายใน 24 ชม. โดยมีสาเหตุมาจากอุณหภูมิของมหาสมุทรที่สูงขึ้น ซึ่งอาจสร้าง 'เฮอริเคนระดับ 6' ขึ้นมาในอนาคต

"เฮอริเคนมิลตัน" นอกจากจะเป็นพายุลูกล่าสุดที่กำลังจะพัดเข้าสู่รัฐฟลอริดาของสหรัฐฯ จนทำให้ประชาชนกว่า 3 ล้านคนต้องเร่งอพยพแล้ว ยังนับเป็นหลักฐานที่ชัดเจนที่สุดว่า 'ภาวะโลกร้อน' กำลังส่งผลกระทบที่ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อชีวิตผู้คนกว่าครึ่งค่อนโลก หลังจากที่มันได้พัฒนาตัวเองจากพายุโซนร้อน กลายเป็นเฮอริเคนระดับ 5 ระดับที่รุนแรงที่สุดภายใน 24 ชม.

ภาวะโลกร้อน ทำให้ \"พายุมิลตัน\" กลายเป็นเฮอริเคนระดับ 5 ภายใน 24 ชม.

โลกร้อนเกี่ยวอะไร?

ข้อมูลจาก Climate Central ระบุว่า สาเหตุที่ทำให้เฮอริเคนมิลตัน รวมถึงพายุลูกก่อนหน้าอย่าเฮอริเคนเฮเลน ทวีความเร็วลมขึ้นอย่างฉับพลัน และกลายเป็นพายุที่สร้างความเสียหายระดับรุนแรง มาจากอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณที่พายุเคลื่อนตัวผ่าน ซึ่งร้อนมากกว่าปกติหลายเท่า

การเคลื่อนตัวผ่านน้ำอุ่นหรือบริเวณที่สภาพอากาศอบอุ่น คือปัจจัยที่ทำให้พายุมีความเร็วเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดความชื้นในบรรยากาศเพิ่มเติม ก่อให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมรุนแรง ซึ่งปัจจุบันอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรทั่วโลกก็กำลังเพิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากภาวะโลกร้อน

เบอร์นาเด็ตต์ วูดส์ พลัคกี้ หัวหน้านักอุตุนิยมวิทยาของ Climate Central เสริมว่า ความร้อนที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์นั้นเปรียบเสมือนสเตียรอยด์สำหรับพายุเฮอริเคน หากมนุษย์ยังคงทำให้สภาพอากาศร้อนขึ้น เราก็จะเห็นพายุที่เปลี่ยนแปลงเป็นพายุเฮอริเคนที่รุนแรงและก่อให้เกิดการทำลายล้างเพิ่มมากขึ้น

เฮอริเคนมิลตัน รุนแรงแค่ไหน

พายุมิลตัน ได้รับการจัดให้เป็นพายุโซนร้อนเมื่อช่วงบ่ายวันอาทิตย์ ก่อนจะเปลี่ยนแปลงตัวเองกลายเป็นเฮอริเคนระดับ 5 ด้วยความเร็วลมที่ 285 กม./ชม.  นับเป็นพายุที่มีความรุนแรงเป็นอันดับสามในประวัติศาสตร์เท่าที่มีการบันทึกไว้ในมหาสมุทรแอตแลนติก

ภาวะโลกร้อน ทำให้ \"พายุมิลตัน\" กลายเป็นเฮอริเคนระดับ 5 ภายใน 24 ชม.

เฮอริเคนมิลตัน อาจรุนแรงถึง 'ระดับ 6' ที่ไม่เคยมีมาก่อน

สิ่งที่น่ากังวลคือ เฮอริเคนมิลตันอาจไม่หยุดเพียงเท่านี้ และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเป็น 'เฮอริเคนระดับ 6' ซึ่งเป็นระดับที่ไม่เคยมีการกำหนดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ เพราะจนถึงปัจจุบัน ทั่วโลกได้ใช้ 'มาตราเฮอร์ริเคนแซฟเฟอร์-ซิมป์สัน' ในการนิยามความรุนแรงของเฮอริเคน ซึ่งใช้ความเร็วลมเป็นตัววัด และมีกำหนดไว้เพียง 5 ระดับ เท่านั้น 

แต่นักวิทยาศาสตร์หลายคนต่างคาดการณ์ว่า อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น จะยิ่งก่อให้เกิดเฮอริเคนระดับที่รุนแรงจนทำลายสถิติบ่อยครั้งขึ้นเรื่อยๆ จนอาจกลายเป็นเรื่องปกติ และมาตรวัดความรุนแรงของเฮอริเคนที่มี 5 ระดับ ก็อาจไม่เพียงพออีกต่อไป