svasdssvasds

โลกร้อนจะอยู่กับเราไปอีก 50,000 ปี รู้จัก ยุค Anthropocene ยุคมนุษย์โลกร้อน

โลกร้อนจะอยู่กับเราไปอีก 50,000 ปี รู้จัก ยุค Anthropocene ยุคมนุษย์โลกร้อน

ปาดเหงื่อกันรุ่นต่อรุ่น! นักวิทย์เตือน โลกร้อนจะอยู่กับเราไปอีก 50,000 ปี แก้ไม่ได้ แต่บรรเทาได้ ชวนรู้จักยุค Anthropocene ยุคปัจจุบันของมนุษย์โลกร้อน

ที่มานิยามยุค Anthropocene ยุคใหม่ที่ได้รับอิทธิพลมาจากมนุษย์

เรื่องโลกร้อนไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นปัญหาใหญ่ที่เราไม่ยอมแก้กันสักที คือต้องเล่าย้อนกลับไปในปี 2000 หรือ พ.ศ. 2543 นักวิทยาศาสตร์ชีววิทยาคนหนึ่งนามว่า พอล ครูตเซน (Paul Crutzen) ณ ขณะนั้น เขามีชื่อเสียง ได้รับการกล่าวขานมากที่สุดในโลก เพราะเป็นผู้รับรางวัลโนเบล จากผลงานชื่อดังหลายชิ้น อาทิ เรื่องราวของหลุมโอโซนและทฤษฎีผลกระทบของฤดูหนาวนิวเคลียร์ (Nuclear Winter)

Paul Jozef Crutzen นักชีววิทยาผู้ศึกษาวิจัยหลุมโอโซนและผู้นิยามยุค Anthropocene ในเดือนกุมภาพันธ์ ครูตเซนได้ลุกขึ้นพูดที่โครงการธรณีสเฟียร์-ชีวมณฑลนานาชาติเม็กซิโก (The International Geosphere-Biosphere Programme หรือ IGBP) สิ่งที่เขาได้ขึ้นพูดนั้น เป็นการด้นสด แต่ได้รับความสนใจไม่น้อยและถูกเผยแพร่อย่างกว้างขวาง แต่ ณ ขณะนั้นก็เป็นเพียงแค่ทฤษฎีเท่านั้น

โดยครูตเซนได้พูดถึง ยุคใหม่ที่มนุษย์กำลังสร้างขึ้นในอนาคต ที่ชื่อว่า ยุค Anthropocene เป็นยุคทางธรณีวิทยาใหม่ เป็นตัวแทนของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปโดยผลกระทบของมนุษยชาติที่พัฒนาแล้ว

ครูตเซนบอกว่า ดาวเคราะห์ของเราในยุคนั้นจะมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีส่วนทำให้การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศรุนแรงขึ้น เช่น การตัดไม้ทำลายป่าอย่างมหาศาล เขื่อนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแม่น้ำสายใหญ่ของโลก การประมงที่มากเกินไป วัฏจักรไนโตรเจนของโลกที่เต็มไปด้วยการใช้ปุ๋ย และการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของก๊าซเรือนกระจก ซึ่งทั้งหมดนี้ ครูตเซนพูดไว้เมื่อปี 2000 นะ แต่ตรงกับปัจจุบันเป๊ะ

ยุค Anthropocene ยุคมนุษย์โลกร้อน

สิ่งที่ครูตเซนพูดกำลังเป็นจริง! ยุค Anthropocene ได้ถือกำเนิดขึ้นแล้ว

ยุคดังกล่าวกำลังก่อร่างสร้างตัวในยุคปัจจุบัน จากหลักฐานและรายงานทางวิทยาศาสตร์มากมายที่เผยแพร่ออกมาในปีนี้ แม้จะยังไม่ถูกประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ แต่นิยามนี้ก็ถูกใช้อย่างแพร่หลาย

แต่อย่างไรก็ตาม ยุคปัจจุบันซึ่งถูกเรียกอย่างเป็นทางการยังคงเป็นยุคโฮโลซีน (Holocene) ซึ่งเริ่มต้นเมื่อประมาณ 11,700 ปีก่อน (ประมาณ 8,000 ปีก่อนคริสตกาล) หลังจบยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย

Holocene ต่างกับ Anthropocene อย่างไร?

เรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์กำลังถกเถียงกันอยู่ และสหพันธ์วิทยาศาสตร์ธรณีวิทยาระหว่างประเทศ (IUGS) ซึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ตั้งชื่อและกำหนดยุคสมัยต่าง ๆ ก็ยังไม่มีประกาศใช้คำนี้อย่างเป็นทางการ

ยุคโฮโลซีน (Holocene) ต่างกับยุคแอนโทรโปซีน (Anthropocene) อย่างไร?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดังนั้น หาก IUGS ต้องการประกาศยุคใหม่ แอนโทรโปซีน IUGS จะต้องตอบให้ได้ว่า ระบบของโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ยุคนี้เริ่มขึ้นเมี่อไหร่ แต่เบื้องต้นมีการหารือกันว่า ยุคแอนโทรโปซีนอาจจะเริ่มตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงทศวรรษที่ 1800 โดยเป็นช่วงที่กิจกรรมของมนุษย์ส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศโลก

โลกเปลี่ยนไปแล้ว และโลกร้อนจะอยู่กับมนุษย์ไปอีก 50,000 ปี จริงเหรอ?

หากสังเกตหรือติดตามข่าวสารจะพบว่าตั้งแต่ปี 2022 มีข่าวออกมาอย่างสม่ำเสมอของการทำลายสถิติ ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิโลกพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 120,000 ปี ภัยพิบัติบางประเทศรุนแรงทุบสถิติในรอบหลายร้อยปี ปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศโลกมีมากจนทุบสถิติ หรือทวีปน้ำแข็งละลายมากที่สุดในประวัติศาสตร์

โลกร้อนจนกลับมาแก้ไม่ได้แล้ว Cr.NASA

ความร้อนไม่ได้ส่งผลแค่ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย น้ำจืดเหือดแห้ง สัตว์ป่าล้มตายเท่านั้น แต่มันยังสามารถสร้างมีเทนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศได้ด้วย โดยมีสาเหตุมาจากพืชพรรณที่เน่าเปื่อยในพื้นที่ชุ่มน้ำเขตร้อนมีปริมาณมากขึ้น

นักวิทย์ได้สร้างแบบจำลองผลกระทบของกลไกโลก ที่จากเดิมกระแสลม-น้ำ/ อุ่น-เย็น เคลื่อนหมุนอยู่ในชั้นบรรยากาศโลกอย่างสมดุลมานานหลายศตวรรษ แต่เมื่อเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม การหมุนวนนั้นเริ่มเปลี่ยนแปลงไป และถูกแทนที่ด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนหนึ่งล้านล้านตัน

แบบจำลองเผยว่า สภาพอากาศใหม่นี้ (การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน) จะหยุดชะงักและเป็นอย่างนี้เป็นเวลาอย่างน้อย 50,000 ปี หรืออาจนานกว่านั้น ซึ่งนี่คือสายพานสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงโลกของเราจนไม่อาจย้อนกลับมาแก้ไขได้

ที่มาข้อมูล

ScienceAlert

The Nobel Prize

Economic Times

National Geographic

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related