ในยุคที่ผู้คนสามารถเลือกใช้ขนส่งแบบ Delivery ในการจัดส่งสินค้าได้แล้ว แถมสะดวก รวดเร็ว แต่เหรียญอีกด้านกลับพบว่า การขนส่งสินค้าแบบ Delivery อาจปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่โลกถึง 32% เราจะหาวิธีรับมือกับโลกที่เคลื่อนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วนี้อย่างไรดี?
จะเป็นอย่างไร หากภายในปี 2573 เราอาจต้องใช้เวลาบนท้องถนนนานขึ้น 11 นาทีต่อคน?
ยุคนี้สมัยนี้ ใคร ๆ ก็สั่งของผ่าน Delivery กันหมดแล้ว ในแง่หนึ่งมันรวดเร็ว แถมสะดวกเสียนี่กะไร สั่งเสร็จก็ตัดเงินผ่าน Application ได้เลย จะมีอะไรสบายไปกว่านี้อีก
แต่อีกมุมหนึ่ง รู้หรือไม่ว่า การจัดส่งสินค้าผ่าน Delivery กำลังสร้างปัญหาให้กับสุขภาพของเมืองอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการจราจรที่ติดขัด มลพิษทางอากาศ และอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น
องค์การสันนิบาตชาติ (NLC) ได้เปิดเผย ผลกระทบของการส่งสินค้าผ่าน Delivery ออกมาว่า ภายในปี 2573 การจราจรบนท้องถนนที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เราเสียเวลาเดินทางเพิ่มราว 11 นาทีต่อคนใน 100 เมืองใหญ่ทั่วโลก และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ขนส่ง Delivery อย่างเดียว) คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 32%
ก่อนจะไปถึงคู่มือคำแนะนำขององค์การสันนิบาตชาติ ขอยกตัวอย่างภาพการขนส่ง Delivery คร่าว ๆ ของประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่าง จีน ให้เห็นภาพรวมของอุตสาหกรรมกันสักนิด ว่าปัญหามลพิษจากยานหานะที่ใช้ขนส่ง Delivery นั้นเป็นอย่างไร
ในระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา การขนส่งสินค้าของประเทศจีนเติบโตกว่า 25% ต่อปี ในช่วงใกล้สิ้นปี 2022 จีนมียอดนักช็อปออนไลน์สูงถึง 84.5 ล้านคน และมียอดขายสินค้าของปี 2022 รวมกันกว่า 13.79 ล้านล้านหยวน หรือราว 1.91 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
แต่เมื่อระบบการขนส่ง Delivery เติมโตแบบเต็มอัตราเช่นนี้ มลพิษจากยานหานพาหนะที่ใช้ขนส่งก็พุ่งพรวดไปพร้อมกับยอดขายเช่นเดียวกัน นับตังแต่ปี 2560 ถึง 2565 จีนปล่อยก๊าซคาร์บอนเพิ่มขึ้นจาก 18.37 ล้านตันเป็น 55.65 ล้านตัน คิดเป็น200% ในระยะเวลา 5 ปี
นอกจากนี้ นักวิจัยจากกรีนพีชเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังพบว่า การขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกทางไกลเป็นต้นเหตุใหญ่ในการปล่อยก๊าซคาร์บอนของจีน
อย่างไรก็ตาม จีนได้เปิดตัวโครงการที่ชื่อว่า 9917 Project โดยเป้าหมายของโครงการนี้คือ ต้องการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ของสินค้าที่ประชาชนสั่งผ่านออนไลน์ให้เป็นบรรจุภัณฑ์แบบรีไซเคิลได้
ซึ่งหมุดแรกที่จีนปักเอาไว้คือ ต้องบรรลุเป้าหมายใช้บรรจุภัณฑ์ของสินค้าส่งด่วนแบบรีไซเคิลให้ได้จำนวน 10 ล้านชิ้น และใช้กล่องจากกระดาษแข็งที่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ 700 ล้านกล่องภายในช่วงสิ้นปี 2566
ข้ามฟากไปที่ดินแดนของพญาอินทรีย์ ภาคอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าถือเป็นแหล่งในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุด คิดเป็นร้อยละ 27.2 จากการรายงานของ World Economic Forum พบว่า แนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระบบขนส่ง Delivery จะเพิ่มขึ้น 32% หรือราว ๆ 6 ล้านตัน
นอกจากนี้ ยังเสนอมาตรการเพื่อช่วยลดมลพิษจากยานหานะขนส่งสินค้า Delivery บนท้องถนนมา 5 ข้อหลัก ๆ ได้แก่
ผู้เขียนของรายงานชิ้นนี้กล่าวว่า ต้องมีมาตรการหรือนโยบายเชิงรุกให้เหล่าผู้ผลิต หรือตัวแทนบริษัทขนส่งสินค้าต่าง ๆ ใส่ใจเรื่องความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น หรือพูดง่าย ๆ คือ ให้บริษัทขนส่งทั้งหลายหันมาใช้รถขนส่งแบบไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนนั่นเอง
ในเมืองซานตาโมนิกา (Santa Monica) แคลิฟอร์เนีย (California) ณ ขณะนี้ได้มีการนำนโยบายและเทคโนโลยีของยานพาหนะมาใช้เพื่อลดภาระของคนในเมืองแล้ว ด้วยการกำหนดโซนหรือบริเวณการจัดส่งแบบไม่มีการปล่อยมลพิษ กล่าวคือ จะมีการจำกัดยานพาหนะที่ใช้ขนส่งสินค้าที่ไม่ปล่อยมลพิษ
บริษัทอย่าง Gotcha Mobility ผู้ให้บริการ Bikeshare ได้ติดตั้งโปรแกรมที่ใช้กับจักรยาน E-bike ของตัวเองแล้ว ที่เมืองแบตันรูช (Baton Rouge) รัฐลุยเซียนา (Louisiana) โดยเปิดให้เช่าบริการ E-bike เพื่อใช้สำหรับขนส่งสินค้า Delivery คิดค่าธรรมเนียมวันละ 15 เหรียญสหรัฐต่อวัน
การให้บริการดังกล่าวเหมาะสำหรับธุรกิจไซส์ ที่จะสามารถเข้าถึงยานพาหนะขนส่งไฟฟ้าได้อย่างสะดวก แถมมีต้นทุนต่ำ เพื่อช่วยรันธุรกิจของตัวเองได้อย่างลื่นไหล แทนที่จะต้องจ้างบริษัทขนส่ง (outsource) ในราคาที่แพงกว่า
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ นำมาสู่คำถามใหญ่ที่ว่า...
เมืองไทยจะลดปัญหามลพิษจากยานหานะที่ใช้ส่งสินค้า Delivery ได้หรือไม่?
ให้ทุกท่านลองนึกจินตนาการถึงเมืองที่อาศัยอยู่ แล้วพิจารณาความเป็นจริงขนาบข้างไปพร้อม ๆ กับคำถามเหล่านี้
จากนั้นทุกท่านก็จะทราบเองว่า เมืองไทยนั้นพร้อมหรือยังสำหรับการนำจักรยานไฟฟ้าหรือ E-bike มาใช้สำหรับขนส่งสินค้า Delivery เพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศ และการจราจรที่ติดขัด
**แม้ในคำถามจะเขียนรวม ๆ ว่าเมืองไทย ต่อขอให้เข้าใจว่าเป็นเมืองที่คุณกำลังอาศัยอยู่
ที่มา: smartcitiesdive
เนื้อหาที่น่าสนใจ