เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียกำลังประสบปัญหาความร้อนในเมืองสะสม จึงเร่งเสาะหาต้นไม้ใหม่ ๆ เพื่อหวังให้ร่มเงาและอากาศที่เย็นสบายแก่ชาวเมือง ส่วนต้นไม้เก่าขาประจำเตรียมถูกโละออก ชวนผู้เชี่ยวชาญเร่งถกถึงต้นไม้ที่เหมาะสม
เหตุผลแรกคือ ต้นเพลนเป็นต้นไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่คอนกรีต จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ในเมืองซิดนีย์มีต้นไม้ชนิดนี้อยู่ถึง 4,000 ต้นกระจายอยู่ทั่วทั้งเมือง คิดเป็นร้อยละ 8.5 ของต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ตามริมถนน และสวนสาธารณะของเมือง
แต่ในช่วงหลายปีมานี้ มีประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากต้นไม้ชนิดนี้ นักเคลื่อนไหวในชุมชนเอง หรือชาวบ้านสามัญชนก็เรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ถอดถอนต้นไม้ชนิดนี้ออกไป
เพราะจากการรายงานพบว่า คนส่วนใหญ่ที่ร้องเรียนให้มีการถอนถอนต้นไม้ชนิดนี้ออกไปเป็นกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคหอบหืด และเป็นไข้ละอองฟาง
เพราะในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ต้นเพลนจะทิ้งเส้นใยหรือขนที่มีหนามเล็ก ๆ ที่เราเรียกกันว่า ไทรโครม (Trichomes) ออกมาในปริมาณมาก และแน่นอนบริเวณริมถนนที่ผู้คนพลุกพล่าน พวกเขาย่อมได้รับผลกระทบจากเส้นใยดังกล่าว
ซึ่งทำให้ดวงตา คอ หรือจมูกเกิดอาการระคายเคือง หรือสำหรับคนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว อาการก็จะทรุดหนักลงไปอีก และทำให้ลำบากต่อการใช้ชีวิต
แต่หากเราค้นงานวิจัยที่เคยถูกตีพิมพ์ออกมา พบว่า ไม่มีงานวิจัยชิ้นไหนที่บ่งบอกว่าเส้นใยที่ต้นเพลนปล่อยออกมา สามารถทำให้คนเกิดโรคหอบหืดได้
ทั้งนี้ทั้งนั้น เหตุผลที่ทางเมืองซิดนีย์แสดงท่าทีออกมา กลับไม่ใช่เหตุผลจากเรื่องโรคหอบหืดเป็นปัจจัยสำคัญ แต่กลับเป็นความกังวลเรื่องสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงที่อาจทำให้เมืองร้อนขึ้น และทางเมืองซีดนีย์จำเป็นต้องเร่งเสาะหาต้นไม้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับโจทย์ที่ตั้งเอาไว้
คาเรน สวีนีย์ ผู้จัดการป่าไม้ คาดการณ์ว่าภายในปี 2050 สภาพภูมิอากาศของเมืองซิดนีย์มีโอกาสใกล้เคียงกับเมืองเกรฟตัน ที่รัฐนิวเซาท์เวลส์
เมื่อโจทย์ใหญ่ของเมืองคือ เรื่องของสภาพภูมิอากาศ ที่มีแนวโน้มว่าอาจจะร้อนระอุขึ้นเรื่อย ๆ และมีความแห้งแล้งมากขึ้น เมืองซิดนีย์จึงกำลังพิจารณาต้นไม้ชนิดอื่น ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ตรงนี้ได้
ไม่รอช้าทางสภาของออสเตรเลียจึงได้อนุมัติแผนป่าไม้ในเมืองและต้นไม้ริมถนนฉบับใหม่ โดยจุดประสงค์ของแผนการฟื้นฟูนี้คือ ต้องการเพิ่มหลังคาเมือง (ต้นไม้) ที่มีคุณลักษณะที่เหมาะสมเพื่อที่จะให้ร่มเงา และทำให้อากาศเย็นสบายสำหรับประชาชนที่สัญจรผ่านไปผ่านมา
โดยกระบวนการก็คือ ได้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญเรื่องต้นไม้และผังเมืองมาเดินดูทีละบล็อก ไล่ไปทีละถนน เพื่อสำรวจและเก็บข้อมูลมาเพื่อประกอบการพิจารณาว่า แล้วต้นไม้ชนิดใดที่เหมาะสำหรับสภาพภูมิอากาศที่ร้อน ซึ่งภายในปี 2050 อากาศจะเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ทั้งร้อนขึ้นและชื้นมากขึ้น
นั่นหมายความว่า ต้นไม้ชนิดใหม่ ๆ ที่กำลังจะเข้ามาแทนที่ จำเป็นต้องรอให้ต้นไม้ขาประจำเมืองค่อย ๆ หมดสิ้นอายุขัย และเหี่ยวเฉาไปตามวัฏจักรของมัน
“เราได้ทำการรื้อถอนต้นเพลนไปในบางพื้นที่แล้ว ชาวเมืองอาจจะค่อย ๆ เริ่มเห็นชัดเจนมากขึ้นในอนาคต” สวีนีย์ กล่าว
ต้นไม้ที่จะถูกนำมาแทนจะเป็นต้นไม้พันธุ์พื้นเมืองผสม ๆ กันเช่น ไม้เนื้ออ่อน ไม้ทิวลิป และกิ่งงาช้าง และนำต้นไม้ผลัดใบที่ยังพอมีแสงส่องผ่านไปได้ ไปตั้งอยู่บริเวณบ้านเรือนของประชาชน
"การปลูกพืชหรือต้นไม้หลายชนิดถือเป็นแนวทางที่ดีในการเพิ่มความหลากหลาย แถมยังช่วยลดปัญหาศัตรูพืชอีกด้วย" จอห์น ซีมอน ผู้อำนวยกานฝ่ายพืช-สวนและคอลเลกชั่นสิ่งมีชีวิตที่ Royal Botanic Garden Sydney กล่าว
จอห์น ซีมอนจึงได้ลิสต์รายชื่อต้นไม้ที่คาดว่า น่าจะนำมาปลูกทดแทนต้นเพลนได้ดังนี้
ทั้งนี้ทั้งนั้น คาเรน สวีนีย์ ยังทิ้งท้ายไว้ว่าต้นเพลน (Plane Tree) ก็ไม่ได้จะถูกนำออกไปทั้งหมด สำหรับพื้นที่ซึ่งมีความสำคัญทางวัฒนธรรมของเมืองสูง หรือในที่ซึ่งไม่ได้ถูกผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงเล่นงานมากนัก ก็ยังจะเก็บต้นไม้ชนิดชี้เอาไว้อยู่เช่น บริเวณสวนสาธารณะที่มีระบบน้ำที่ดี มีดินที่ดีเป็นต้น
ที่มา: Theguardian
ข่าวที่เกี่ยวข้อง