ที่เห็นงานเดินช้า ไม่ใช่ขี้เกียจ แต่เป็นเพราะอากาศร้อนต่างหาก ผลงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย University of Exeter ระบุ ผลพวงอากาศร้อนกระทบประสิทธิภาพการทำงาน แม้นั่งในออฟฟิสติดแอร์
รู้สึกไหม ว่าวันไหนที่อากาศร้อนๆ คนทำงานอย่างเราๆ มักจะออกอาการขี้เกียจขึ้นมาดื้อๆ สมองมันดูจะตื้อๆ คิดงานไม่ค่อยออก ใจพาลแต่อยากจะนอนดูเน็ตฟลิกให้รู้แล้วรู้รอด แม้ว่าเราจะไม่ได้ออกไปสัมผัสกับอากาศร้อนข้างนอกสักนิด
อย่างไรก็ตาม อาการขี้เกียจ ประสิทธิภาพงานลดกระทันหันในวันอากาศร้อน มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์อยู่เช่นกัน การวิจัยใหม่โดย มหาวิทยาลัย University of Exeter ประเทศอังกฤษ เผยให้เห็นว่าสภาพอากาศที่ร้อนทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานลดลงจริง แม้ว่าสถานที่ทำงานของพวกเขาจะมีเครื่องปรับอากาศก็ตาม
การศึกษานี้นำได้ติดตามอุณหภูมิภายนอกและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในโรงงานไฮเทคแห่งหนึ่งในจีน โดยพบว่า แม้สภาพการทำงานในโรงงานจะมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ และมีอากาศเย็นฉ่ำ แต่ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานกลับลดลง 0.83% เมื่ออากาศภายนอกร้อนขึ้นทุกๆ 1 องศาเซลเซียส
นักวิจัยพบว่า ความร้อนในตอนกลางวันส่งผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพการทำงาน ในขณะที่ค่ำคืนที่มีอากาศร้อน (ซึ่งอาจส่งผลต่อการนอนหลับ) ก็ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงบางส่วนเช่นกัน แม้ยังไม่ชัดเจนว่าเหตุใดจึงเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ แต่นักวิจัยกล่าวว่า การค้นพบของพวกเขาอีกหนึ่งหลักฐานถึงผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนต่อมนุษย์ และเร่งให้รัฐบาลและภาคธุรกิจปรับตัวตามอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น
“เรามักจะคิดถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแง่ของผลกระทบในวงกว้าง แต่อากาศที่ร้อนขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อตัวบุคคลด้วย” ดร. Jingnan Chen นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย University of Exeter กล่าว
“หลายๆ งานวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า สภาพอากาศร้อนทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของผู้ที่ทำงานกลางแจ้งหรือในอาคารที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศลดลง แต่การค้นพบของเราชี้ให้เห็นว่า ความร้อนส่งผลกระทบต่อพนักงานแม้แต่ในสถานที่ทำงานที่มีเครื่องปรับอากาศ เป็นหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ยุโรปร้อนทุบสถิติสี่เดือนติด ปี 66 ขึ้นแท่นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์
อังกฤษทุบสถิติโลก ปี 2022 มีคนเสียชีวิตเพราะอากาศร้อนมากถึง 4,500 ราย
โลกร้อนทำแฮตทริก อุณหภูมิสูงขึ้น อากาศร้อนสุดติดกัน 3 เดือนรวด มิ.ย - ส.ค.
ที่มา: University of Exeter