ทั่วโลกกำลังจับตามองเอลนีโญ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ทำให้สภาพอากาศแปรปรวน เกิดความแห้งแล้ง โดยเฉพาะภาคการเกษตรซึ่งเป็นเหมือนอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทย เรามาดูการคาดการณ์เอลนีโญครึ่งปีหลังกันดีกว่าว่าจะกระทบภาคเกษตรอย่างไรบ้าง?
สถานการณ์เอลนีโญในปี 2566 นี้มีการคาดการณ์ว่าประเทศไทยจะประสบปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรง ซึ่งอาจส่งผลกระทบในหลายภาคส่วน ทั้งภาคธุรกิจ ภาคการเกษตร รวมถึงกระทบต่อน้ำการอุปโภค บริโภคของประชาชน มีการคาดการณ์เอลนีโญครึ่งปีหลังว่าอาจจะผลกระทบกับภาคการเกษตรเนื่องจากฝนทิ้งช่วงและความแห้งแล้ง
จากข้อมูลจาก Global Climate Risk 2021 เผยว่าประเทศไทยถูกจัดอันดับเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอันดับที่ 9 จาก 180 ประเทศทั่วโลก จึงมีโอกาสสูงที่จะเผชิญกับปัญหาสภาพอากาศที่สูงขึ้นกว่าปกติและสภาพอากาศสุดขั้ว และภาคเกษตรอาจได้รับผลกระทบจากเอลนีโญมากที่สุดเนื่องจากมีสัดส่วนการใช้น้ำมากที่สุด เมื่อเทียบกับภาคส่วนอื่นๆ
โดยภาคเกษตรใช้น้ำคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 77% ของการใช้น้ำในแต่ละปีของไทย ซึ่งความต้องการใช้น้ำในแต่ละปีของไทยอยู่ที่ราว 147,747 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) แบ่งเป็น
โดยผู้เล่นในภาคเกษตรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย ทำให้มีข้อจำกัดในการปรับตัวด้านการบริหารจัดการน้ำ อีกทั้งพื้นที่เพาะปลูกของไทยอยู่นอกพื้นที่ชลประทานถึง 78% ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากปัญหาขาดแคลนน้ำในการทำเกษตรกรรมมากที่สุด
การคาดการณ์เอลนีโญครึ่งปีหลัง ในรอบนี้คาดว่าจะทำให้ 3 พืชในภาคเกษตรกรรมสำคัญ ได้แก่ ข้าว อ้อย และมันสำปะหลังได้รับความเสียหายรวมกันอยู่ที่ราว 16,000-126,000 ล้านบาท หากเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงยาวตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2566 ไปจนถึงปลายปี 2567 คาดผลผลิตข้าวนาปี อ้อย และมันสำปะหลัง จะได้รับความเสียหายพอสมควรจากปริมาณน้ำต้นทุนที่ลดต่ำลงมาก
ความเสียหายคาดการณ์เอลนีโญครึ่งปีหลังของปี 2567 มูลค่าความเสียหายรวม 126,000 ล้านบาท แบ่งเป็น
1) ข้าวได้รับความเสียหายมากที่สุดประมาณ 7.5 ล้านตัน มูลค่าราว 67,484 ล้านบาท
2) อ้อยได้รับความเสียหายประมาณ 25.8 ล้านตัน มูลค่าราว 27,606 ล้านบาท
3) มันสำปะหลังได้รับความเสียหายประมาณ 12.8 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 30,592 ล้านบาท
ที่มา : Krungthai Compass
ภาพ : pixabay
เนื้อหาที่น่าสนใจ :