ฤดูหนาวแต่อากาศที่รู้สึกกลับร้อนอบอ้าว ความผิดปกตินี้กำลังเกิดขึ้นในอเมริกาใต้ หลังเดือนนี้ต้องเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว แต่อุณหภูมิกลับสูงถึง 38 องศาเซลเซียส
“เอ๊ะ เข้าฤดูหนาวแล้วนะ แต่ทำไมมันยังขึ้นแจ้งเตือนอุณหภูมิที่ 37 องศาเซลเซียสล่ะ?”
อเมริกาใต้กำลังเจอกับการเปลี่ยนแปลงที่น่าฉงนใจ เพราะในช่วงเวลานี้ อเมริกาใต้ต้องเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว แต่สภาพอากาศที่รู้สึกกลับไม่เป็นอย่างนั้น หลายพื้นที่มองไปไม่มีใครสวมใส่เสื้อกันหนาวเพื่อรับมืออากาศหนาวเลย แต่ทุกคนใส่เสื้อผ้าโปร่งสบาย ๆ เพื่อรับมืออากาศร้อนแทน
นี่คือความผิดปกติของสภาพอากาศที่อเมริกาใต้กำลังเผชิญอยู่ มีการรายงานว่า ทางตอนเหนือของอาร์เจนตินา ชิลี อุรุกวัย และบราซิล มีอุณหภูมิสูงถึง 100 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 38 องศาเซลเซียส ในฤดูหนาว นักวิทย์มองว่านี่อาจจะรุนแรงกว่าคลื่นความร้อนที่ยุโรปกำลังประสบอยู่ในขณะนี้
Brutal winter heat in Northern Argentina,Paraguay,Bolivia and Southern Brazil with temperatures up to 39C.
— Extreme Temperatures Around The World (@extremetemps) August 2, 2023
For dozens stations these are records for the first half of August.
For at least 5 more days there won't be any relief and we can't rule out some 40Cs. pic.twitter.com/Tb43xNXxst
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โดยวันอังคารที่ผ่านมา คาดว่าเป็นฤดูหนาวที่อบอุ่นที่สุดในชิลีในรอบ 72 ปี Raul Cordero นักภูมิอากาศวิทยาแห่งมหาวิทยาลัย Groningen ของเนเธอร์แลนด์กล่าว
นอกจากนี้ อากาศร้อนในชิลี ยังทำให้น้ำแข็งละลาย โดยรับรู้ได้โดยชาวหุบเขาที่อาศัยอยู่ปลายน้ำ ซึ่งนี่คือสัญญาณของฤดูร้อน
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ความผิดปกตินี้น่าจะเกิดจากการรวมตัวกันของเอลนีโญและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากมนุย์ทำให้มันร้อนจัดและเกิดสภาพอากาศสุดขั้วแบบนี้ โดยในปี 2023 นี้ หลายพื้นที่ของอเมริกาใต้ประกาศทุบสถิติเผชิญหน้าอากาศที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์หลายแห่ง
แต่อย่างไรก็ตาม เอลนีโญยังไม่ได้แผลงฤทธิอย่างเต็มที่ในช่วงนี้ แต่ในอีกไม่กี่เดือนเอลนีโญจะแข็งแรงขึ้น และหากช่วงเวลานั้นมาถึง อาจทำให้อเมริกาใต้ไม่เจอกับฤดูหนาวอีกเลยในปีนี้ และจะกระทบหนักต่อผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรมต่าง ๆ เศรษฐกิจ และการใช้ชีวิตของผู้คนอีกหลายล้านคนแน่นอน
ในขณะที่ทางฝั่งยุโรป ก็กำลังเผชิญหน้ากับคลื่นความร้อนและอุณหภูมิสูงทุบสถิติเช่นเดียวกัน ซึ่งก็อาจจะได้รับผลกระทบต่อเนื่องกันเกือบทั้งโลก จากคลื่นความร้อน เอลณีโญ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่รุนแรงมากขึ้น ตามการคาดการณ์ของ UN และนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก
ที่มาข้อมูล