โลกใต้ดินกำลังปั่นป่วน เพราะภาวะโลกร้อน งานวิจัยชิ้นใหม่เผย โครงสร้างเมืองชิคาโกของชิคาโกกำลังเปลี่ยนไปอย่างเงียบ ๆ เนื่องจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น
ใครจะไปคิดว่าถนน ทางเท้า อาคารบ้านเรือน หรือตึกขนาดใหญ่ที่เราใช้อาศัยกันอยู่ทุกวันนี้ สักวันหนึ่งมันจะไม่มั่นคง เพราะภาวะโลกร้อน
การศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2023 ในวารสาร Communications Engineering เผยว่า จากการติดตามศึกษาใจกลางเมืองชิคาโก พบว่า อุณหภูมิใต้ดินกำลังสูงขึ้นเนื่องจากดูดซึมความร้อนจากผิวดิน ซึ่งผิวดินมีความร้อนมากกว่าปกติ เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศดังกล่าว ทำให้ดินรอบตัวขยายและหดตัว เกิดการเปลี่ยนแปลงมากพอที่อาจทำให้โครงสร้างของเมืองเสียหายได้
Alessandro F. Rotta Loria วิศวกรยธาและสิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัย Northwestern University กล่าวว่า นี่คือภัยเงียบ ไม่มีใครรับรู้ได้เลยว่าเมืองชิคาโกกำลังเปลี่ยนรูปอย่างช้า ๆ
ถนน ทางเท้า ล้วนดูดซับความร้อนในระหว่างวัน ทำให้พื้นเมืองบางแห่งร้อนกว่าชนบทถึง 6 องศาฟาเรนไฮต์หรือ -14.4 องศาเซลเซียสในตอนกลางวัน และ 22 ฟาเรนไฮต์ หรือ -5 องศาเซลเซียสในตอนกลางคืน ซึ่งความเป็นจริงใต้ดินควรเย็นกว่านี้
ความร้อนที่เมืองโอบอุ้มไว้ในแต่ละวัน ได้กระจายลงสู่พื้นโลกอย่างต่อเนื่อง ทำให้โครงสร้างของพื้นดินบางแห่งอ่อนไหว โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ใกล้น้ำ ที่อาจได้รับผลกระทบก่อนใคร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
7 ก.ค. โลกร้อนสุดเป็นประวัติการณ์ เอลนีโญเตรียมถล่มปีหน้า หนักกว่านี้แน่!
ส่องพันธกิจเร่งด่วน "กรม Climate Change" หลังเปิดตัวอย่างเป็นทางการ
สิ่งมีชีวิตในทะเลหายไป 90% เหตุจากโลกรวน ประเทศพึ่งอาหารทะเลเดือดร้อนหนัก
แต่คำถามสำคัญคือ มันส่งผลกระทบต่อมนุษย์ หรือการอยู่อาศัยอย่างไร?
นักวิจัยเผยว่า การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยนี้ ไม่เป็นอันตรายโดยตรงต่อชีวิตมนุษย์ แต่การเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ไม่ควรถูกละเลยเช่นเดียวกัน เนื่องจากการขยายและการหดตัวเกิดขึ้นเพราะการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ เป็นเรื่องที่เราต้องศึกษาต่อไปว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นและซึมลงชั้นใต้ดินจะส่งผลต่อการสึกหรอของโครงสร้างต่าง ๆ หรือไม่
ซึ่งจากการทดลองรวบรวมข้อมูลอุณหภูมิ 3 ปี จากเซนเซอร์ที่ถูกติดตั้งในโครงสร้างใต้ดินทั่วเมืองชิคาโก เช่น ในห้องใต้ดิน อุโมงค์รถไฟ และโรงจอดรถใต้ดินในกลางเมืองชิคาโกต่าง ๆ
ผลพบว่า อุณหภูมิพื้นดินโดยรวมของชิคาโกเพิ่มขึ้น 0.25 องศาฟาเรนไฮต์ในแต่ละปี ซึ่งบางพื้นที่มีอุณหภูมิสูงกว่าชั้นใต้ดินทั่วไปที่เงียบสงบราว 27 ฟาเรนไฮต์ หรือ -2.7 องศาเซลเซียส และภาพด้านล่างคือแบบจำลองคอมพิวเตอร์เพื่อจำลองสภาพแวดล้อมใต้ดิน จั้งแต่ปี 1950 จนถึงปัจจุบัน และจะเป็นอย่างไรนับจากนี้ไปจนถึงปี 2050
ทำความรู้จัก ‘ร่างข้อบัญญัติพื้นที่สีเขียว’ สร้างอากาศดีๆ ให้ กทม.
งานวิจัยใหม่เผยภาวะโลกร้อน Climate Change ส่งผลให้สมองมนุษย์หดเล็กลง
ข้อมูลเผยว่า มีพื้นที่บางส่วนยกตัวสูงขึ้น 0.47 นิ้ว และบางพื้นที่ยุบตัวได้มากถึง 0.31 นิ้วขึ้นอยู่กับสถานะของดินในพื้นที่ สิ่งที่นักวิทย์กังวลคือ การเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยนี้อาจทำให้เกิดรอยร้าวในฐานรากของผนังและตัวอาคารบางแห่ง
พื้นดินของชิคาโกส่วนใหญ่มักเป็นดินเหนียว ซึ่งมีความอ่อนไหวต่ออุณหภูมิและการเปลี่ยนแปลงเป็นพิเศษ เรื่องนี้จึงเป็นประเด็นที่เมืองใหญ่ทั่วโลกควรให้ความสนใจ โดยเฉพาะเมืองใกล้มหาสมุทรและแม่น้ำ ในทางกลับกัน เมืองที่สร้างอยู่บนหินแข็ง เช่น นิวยอร์กซิตี้ อาจไม่ได้รับผลกระทบด้านนี้
นอกจากผลกระทบต่อโครงสร้างแล้ว อาจส่งผลต่อระบบนิเวศใต้ดินด้วย โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตในมุมมืด อย่าง หนอน หอยทาก แมลง ซาลาแมนเดอร์ และอีกมากมาย สิ่งมีชีวิตเหล่านี้คุ้นชินกับสภาวะหยุดนิ่งของใต้ดิน แต่หากน้ำใต้ดินอุ่นเกินไป ก็อาจฆ่าหรือไล่สัตว์เหล่านี้ออกไป กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในน้ำและกลายเป็นแพล่งเพาะพันธุ์จุลินทรีย์ได้
ที่มาข้อมูล