โลกเผชิญอุณหภูมิที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์แล้ว! WMO เผย วันที่ 7 ก.ค. 2023 อุณหภูมิโลกร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ แถมเอลนีโญเตรียมถล่มปีหน้า ไทยร้อนกว่านี้แน่!
ถ้าร้อนกว่านี้ คนไทยจะละลายเป็นไอติมแล้วนะ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกแห่งสหประชาชาติ (WMO : World Meteorological Organization) เผยเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2023 ที่ผ่านมา ว่า สัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม ถือเป็นสัปดาห์ที่ร้อนที่สุดในโลกเท่าที่เคยมีบันทึกมา โดยเฉพาะวันที่ 7 ก.ค. ที่วัดได้ 17.24 องศาเซลเซียส
The world just had the hottest week on record, according to preliminary data. It follows the hottest June on record, with unprecedented sea surface temperatures and record-low Antarctic sea ice extent. #StateOfClimate
— World Meteorological Organization (@WMO) July 10, 2023
🔗 https://t.co/NbYM6Nllii pic.twitter.com/5Vaw3ISs8A
ความร้อนที่สูงขึ้นนี้กำลังกลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน?
ผู้เชี่ยวชาญของ WMO เสริมว่า อุณหภูมิในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือในแต่ละวันของเดือนมิถุนายนนั้น สูงขึ้นอย่างมาก เมื่อเทียบกับค่าปกติ ในขณะที่ระดับน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกแตะระดับต่ำสุดในเดือนมิถุนายนนับตั้งแต่เริ่มสังเกตการณ์ด้วยดาวเทียม
นอกจากนี้ ยังทำลายสถิติของเดือนมิถุนายน 2022 ด้วย การลดลงของระดับน้ำแข็งในมหาสมุทรทวีปแอนตาร์กติกา พบน้ำแข็งในมหาสมุทรหายไปประมาณ 2.6 ล้านตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นความผิดปกติของภูมิภาคแอนตาร์กติกอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นาซาเผยวิดีโอ โลกสำลักคาร์บอน ก๊าซเรือนกระจกหมุนวนบนโลกเราอย่างไร?
อุณหภูมิโลกร้อนขึ้น 1 °C ฝนตกหนักขึ้น 15% ควรพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้รองรับ
"พายุสุริยะ" คืออะไร นาซาสั่งจับตาส่อเกิด "อินเทอร์เน็ตล่ม" ทั่วโลกปี 2025
จงระวังคลื่นความร้อนในทะเลด้วย
หน่วยงานของสหประชาชาติเตือนว่า “คลื่นความร้อนในทะเล” จะส่งผลกระทบต่อการกระจายพันธุ์ของปลาและระบบนิเวศในมหาสมุทร รวมถึงส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศอย่างรุนแรง ซึ่งไม่ใช่แค่อุณหภูมิผิวน้ำเท่านั้น แต่ทั้งมหาสมุทรจะอุ่นขึ้นและดูดซับพลังงานที่อยู่ใต้มหาสมุทรที่สะสมไว้เป็นเวลาหลายร้อยปี
เอลนีโญเตรียมถล่มหนักปีหน้า
ในความเป็นจริง ปรากฎการณ์เอลนีโญได้เริ่มขึ้นแล้วปีนี้ที่มหาสมุทรแปซิฟิก จากการประกาศอย่างเป็นทางการของ WMO ซึ่งเกิดจากภาวะโลกร้อนของมหาสมุทรแปซิฟิก ที่เป็นการรวมกันของผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์สร้างขึ้น และปรากฎการณ์สภาพอากาศที่เกิดขึ้นเป็นประจำของเอลนีโญ
WMO ประกาศ เอลนีโญเริ่มแล้ว 3 ก.ค. โลกร้อนที่สุดที่เคยบันทึกไว้
น้ำแข็งขั้วโลกใต้หายไป 2.6 ล้าน ตร.กม. พื้นที่ครึ่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เจ้าหน้าที่ WMO เผยว่า ผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนีโญจะยาวนานขยายไปถึงปี 2567 เราอยู่ในช่วงเริ่มต้นของกระบวนการดังกล่าว ดังนั้นปรากฎการณ์เอลนีโญจึงไม่ส่งผลกระทบต่อเรามากในปีนี้เท่ากับที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า
WMO ยังคงยืนยันอย่างแข็งขันว่าปี 2567 มีแนวโน้มที่เอลนีโญจะแข็งแกร่งที่สุด ทำให้ทั่วโลกเผชิญสภาพอากาศสุดขั้วรุนแรง โดยเฉพาะพื้นที่ที่ประสบกับสภาพอากาศร้อนจัด ตามพื้นที่เขตร้อน
ที่มาข้อมูล