ภาวะโลกร้อน สภาพอากาศแปรปรวนส่งผลกับสิ่งมีชีวิตบนโลกร่วมถึงมนุษย์ ตอนนี้มีการศึกษาใหม่พบว่าอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นส่งผลในการหดตัวของสมองของมนุษย์ โดยพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์เปรียบเทียบขนาดฟอสซิลในช่วง 50,000 ปีผ่านมา พบว่าสมองของมนุษย์หดตัวเล็กลง
การศึกษานี้เป็นของ Jeff Morgan Stibel นักวิทยาศาสตร์การรับรู้จากพิพิธภัณฑ์ Natural History Museum ในแคลิฟอร์เนียร์ได้ทำการศึกษาเรื่องการพัฒนาและการปรับตัวของมนุษย์ที่ตอบสนองกับสภาวะโลกร้อน
โดยได้ทำการเปรียบเทียบขนาดสมองจากฟอสซิลมนุษย์เกือบ 300 ชิ้น ในช่วง 50,000 ที่ผ่านมา ซึ่งแบ่งกลุ่มอายุฟอสซิลตัวอย่างออกเป็น 4 ช่วง คือ ฟอสซิลอายุ 100 ปี, 5,000 ปี, 10,000 ปี และ 15,000 ปี เชื่อมเข้ากับบันทึกสภาพอากาศ พบว่าตั้งแต่โลกผ่านยุคน้ำแข็งสูงสุดครั้งสุดท้ายเมื่อ 50,000 ปี โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างช้าๆ มนุษย์กลับมีสมองเล็กลงถึง 10.7% ซึ่งมีปัจจัยเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิโลก ความชื้น และปริมาณฝนที่ตกลงมา เมื่อโลกร้อนขึ้น ขนาดของสมองมนุษย์จะหดตัวเล็กลงกว่าอากาศที่เย็น
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
WMO ประกาศ เอลนีโญเริ่มแล้ว 3 ก.ค. โลกร้อนที่สุดที่เคยบันทึกไว้
ไทยเข้าสู่สภาวะ “เอลนีโญ” แล้ว กอนช. เตือน ภาคการเกษตร รับมือวางแผนการใช้น้ำ
“เอลนีโญ” แผลงฤทธิ์ ทำชาวนาภาคกลางระทม หวั่นผลผลิตปี’66 ลด กระทบส่งออก
สรุปคืออุณหภูมิโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอาจทำให้สมองของเราหดตัวเล็กลงไปอีก เนื่องจากเป็นการปรับตัวของมนุษย์เพื่อตอบสนองต่อความเครียดจากสิ่งแวดล้อมภายนอกซึ่งก็คือการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง ซึ่งสังเกตได้เลยคือเมื่ออากาศร้อนเรามักจะปวดหัวได้ง่ายขึ้น
ถึงแม้การศึกษานี้จะเผยให้เห็นถึงอุณหภูมิโลกกับขนาดสมองมนุษย์มีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นอีกที่มีผลกับการกับหดตัวของสมองมนุษย์ซึ่งยังไม่ได้รับการศึกษาวิจัย รวมถึงงานวิจัยเรื่องสภาวะโลกร้อนที่ส่งผลกับสมองมนุษย์ก็ยังมีไม่มากเช่นกัน
ที่มา : Science Alert / Wio News