Climate Tech นวัตกรรมสำคัญกู้โลกร้อน ไทยเราจะเอื้อมถึงหรือไม่ นี่คือความท้าทายใหม่ที่เราต้องเร่งหาคำตอบและลงมือทำ เพื่อให้คนไทยปรับตัวกับวิกฤตสภาพอากาศให้ได้
“ภาวะโลกร้อน หรือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เกี่ยวข้องกับเรื่องอากาศ เรื่องเศรษฐกิจ ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด การจะอยู่รอดต่อไปได้คือต้องคิดว่าเราจะอยู่กับมันอย่างไรดี และจะลดผลกระทบอย่างไรได้บ้าง” นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กล่าว
เมื่อวันพุธ ที่ 7 มิถุนายน 2566 เวลา 12.00-16.00 น. ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพฯ สื่อเครือเนชั่น นำโดย สปริงนิวส์ ได้จัดงานสัมมนา “Innovation Keeping the World นวัตกรรมรักษ์โลก ไทยอยู่จุดไหน?” จบครบทุกประเด็นรับมือ “โลกรวน”
ในช่วงหัวข้อ Climate Tech เทคโนโลยีรับมือโลกเปลี่ยน โดย นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) นายเกียรติชายได้อธิบายถึงเรื่อง Climate Tech ไว้ว่า
เรื่องโลกร้อน เป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน ประเทศอื่น ๆ อย่างสิงคโปร์ ก็เจอปัญหาเดียวกันกับไทย ไม่ว่าจะอากาศร้อน น้ำทะเลหนุนสูง ซึ่งทั้งหมดนี้คือ ปัญหาโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ มันเกี่ยวข้องกับเรื่องอากาศ เรื่องเศรษฐกิจ ดังนั้น มันใกล้ตัวเราหมด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Fahsai Mini หอฟอกอากาศลดฝุ่นเพื่อพื้นที่แออัด กระบวนการทำงานรักษ์โลก
Sabuy Square ป้ายรถเมล์ติดแอร์ "พลังงานแสงอาทิตย์" แห่งแรกในประเทศไทย
นายเกียรติชายได้เปรียบเทียบปัญหาโลกร้อนที่เรากำลังเผชิญว่า เป็น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โดยทุกข์ คือปัญหาที่เรากำลังเผชิญ เช่น เรากำลังเผชิญหน้ากับอุณหภูมิที่สูงขึ้น, สมุทัย คือการรู้สาเหตุของทุกข์ เช่น ก๊าซเรือนกระจก(GHG) ในความเป็นจริงเป็นกลุ่มแก๊สที่ไม่ได้เป็นมลพิษ แต่มันคลุมโลกอยู่ และทำให้โลกร้อนขึ้น
และสาเหตุของ GHG ก็เกิดจากตัวเราเอง โดยเฉพาะจากภาคพลังงาน ที่เมื่อก่อนผลิตจากถ่านหิน เกิดจากอุตสาหกรรม เช่น ปูนซีเมนต์สำหรับการก่อสร้างที่ดำเนินอยู่ทุกวัน และเกิดจากสารอินทรีย์ ก๊าซชีวภาพที่ทำให้เกิดก๊าซมีเทนลอยสู่ชั้นบรรยากาศที่มาจากการตัดไม้ทำลายป่า พื้นที่การเกษตรและปศุสัตว์
นิโรธ คือการหาทางออก อย่างเวทีระดับโลก (COP) ก็พยายามกดดัน ออกกฎระเบียบระหว่างประเทศ เช่น ข้อตกลงปารีส, Protocol, ESG เป็นต้น เพื่อควบคุมการปล่อยมลพิษของแต่ละประเทศ
สุดท้าย มรรค คือการแก้ไขปัญหาหรือการจัดการ เราต้องทำ Climate Action ลงมือทำ เราปล่อยไม่ได้อีกแล้ว เวลาเราเหลือน้อยมากแล้ว และเราต้องคิดได้แล้วว่าเราจะอยู่กับมันยังไง หรือที่เราเรียกว่าการปรับตัว (Adaptation)
ระเบิดเวลา UN เตือน โลกมีเวลาไม่ถึง 10 ปี ก่อนเดินหน้าสู่หายนะสภาพอากาศ
ทั่วโลกมอง Technology อะไรบ้างในการทำ Climate Action
ทั่วโลกปล่อยก๊าซเรือนกระจก GHG ประมาณ 50,000 ล้านตันต่อปี แต่เป้าหมายเราต้องให้เหลือเพียง 20,000 ล้านตันต่อปี พอเป็นแบบนี้ หลายคนอาจสงสัยทำไมไม่ตั้งเป็นปล่อยให้เหลือศูนย์ไปเลย ก็ต้องบอกตามตรงว่า การทำให้ได้ศูนย์ มันเป็นไปได้ยาก ลดยังไงก็ยังต้องมีการปล่อยอยู่ดี
แต่จะทำอย่างไรจะปล่อยได้น้อยที่สุด เราก็เลยตั้งเป้าว่า ให้ลดลงเหลือ 20,000 ล้านตัน และควบรวมกับวิธี Negative Emission คือเก็บให้ได้มากที่สุดก็เก็บให้ได้อย่างน้อย 20,000 ล้านตัน ก็เท่ากับว่า เราจะสามารถลดการปล่อยได้
ดังนั้น Technology ที่สำคัญมีอยู่ 3 แบบด้วยกันคือ Technology สำหรับการลด สำหรับการปล่อย และสำหรับการเก็บและ Remove ออกไป
Technology ที่น่าสนใจตอนนี้สำหรับทั่วโลก คือ ตึกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Building Technology), การจราจรและยานพาหนะ (Transportation Technology), นวัตกรรมสร้างความเย็นเพราะโลกร้อนขึ้น (Cooling Technology)
ไทยเราจะยังคงที่ในด้านของการการนำเข้าแบตเตอรี่ (Battery Import) ต่อไปเรื่อย ๆ หากเราไม่เริ่มประดิษฐ์เอง สร้างเอง ความท้าทายคือ จะทำยังไงให้การผลิตใช้เองในบ้านเราทำได้ และราคาถูก แต่แน่นอนเราเชื่อมั่นว่าในอนาคต ราคาของเทคโนโลยีเหล่านี้จะถูกลงได้ หากทุกคนหันมาให้ความสนใจ
สุดท้าย Innovation จะมีความหมาย ก็ต่อเมื่อเราทำยังไงให้ราคาถูก ลดผลกระทบได้ และสร้างงานได้ด้วย