svasdssvasds

ทำความรู้จักกรม Climate Change หน่วยงานน้องใหม่ มีหน้าที่อะไรบ้าง?

ทำความรู้จักกรม Climate Change หน่วยงานน้องใหม่ มีหน้าที่อะไรบ้าง?

จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันทำให้เกิดภัยธรรมชาติต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อมนุษย์ ทั่วโลกจึงหันมาให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ในส่วนของประเทศไทยเองได้มีการจัดตั้ง กรม Climate Change หรือกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เรามาทำความรู้จักกรมน้องใหม่นี้กันดีกว่าว่าทำหน้าที่อะไรบ้าง?

ทำความรู้จักกรม Climate Change หน่วยงานน้องใหม่ มีหน้าที่อะไรบ้าง? กรม Climate Change หรือกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายเพื่อดูแล ศึกษา และรับมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนและปกป้องสิ่งแวดล้อม

หน้าที่ของ กรม Climate Change

ในส่วนหน้าที่ของกรม Climate Change นั้น คือจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการเกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ และลดก๊าซเรือนกระจก ประเมินความเสี่ยง และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดำเนินการ และเสนอแนวทางตามพันธกรณีของอนุสัญญา พิธีสาร และความตกลงระหว่างประเทศ และระดับภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

รวมถึงการประสานความร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงองค์กรในประเทศและต่างประเทศ เพื่อดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ นอกจากนี้ยังรวมถึงการวิจัย พัฒนา ถ่ายทอด และส่งเสริมเทคโนโลยีการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมด้วย

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือกรม Climate Change ปรับเปลี่ยนบทบาทของหน่วยงานให้มีความชัดเจน รองรับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์และมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยไม่กระทบต่ออัตรากำลังในภาพรวม และงบประมาณของประเทศชาติ

นอกจากนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อยู่ระหว่างผลักดัน (ร่าง) พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นกฎหมายฉบับแรกของไทย ยกระดับจากภาคสมัครใจ (Voluntary) เป็นภาคบังคับ (Mandatory) มีการเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการบริหารคาร์บอนเครดิต กลไกการเงิน การกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก คาดว่าจะสามารถนำกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาคณะรัฐมนตรี ภายในต้นปี 2566

จากวิกฤติ Climate Change ส่งผลให้ประเทศไทยตกอยู่ในความเสี่ยงอันดับที่ 9 ของโลก ซึ่งถือว่าเป็นอันดับต้นๆ แม้เราจะเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 0.8% เป็นอันดับที่ 22 ของโลกก็ตาม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ เป็นประเด็นสำคัญจากการประชุม COP27 ที่ผ่านมา นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ผลักดันในเรื่อง การส่งเสริมค่าเสียหายและการสูญเสีย (Loss and Damage) ให้แก่ประเทศที่ได้รับผลกระทบ หลายประเทศกำลังพัฒนา หรือประเทศที่ไม่พัฒนา เรียกร้องให้มีการจัดตั้งกองทุนเฉพาะ และประเทศที่พัฒนาแล้วจะต้องลงงบประมาณปีละ 2 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ เพื่อนำไปช่วยประเทศที่กำลังพัฒนาและได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ 

นายวราวุธ เผยว่า "สิ่งสำคัญคือความร่วมมือของทุกภาคส่วน ในการช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทย ไปถึงเป้าหมายที่ได้ประกาศเอาไว้ โดยเฉพาะประชาชนคนรุ่นใหม่ ที่มีศักยภาพ แนวคิดของพวกเขาเหล่านั้น เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของประเทศ คำว่า Sustainability ทุกฝ่ายต้องทำงานร่วมกันเท่านั้น ถึงจะเกิดผลสำเร็จและเป็นไปได้"