ตอนนี้ไทยเริ่มพัฒนาแนวทางเศรษฐกิจปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะดำเนินการในบริเวณลุ่มน้ำยัง บริเวณจังหวัดกาพสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร และสกลนคร โดยให้ความรู้กับชุมชนปลูกพืชเศรษฐกิจโดยเฉพาะข้าวที่ทนต่อสภาวะอากาศแปรปรวนและภัยพิบัติได้ดี
ไทยเห็นชอบร่างข้อตกลงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในกรอบความร่วมมือ "ลุ่มแม่น้ำโขง" ไทยส่งบริเวณ“ลุ่มน้ำยัง” กาพสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร สกลนคร ร่วมปรับรับโลกป่วน
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า เมื่อเร็วๆนี้ คณะรัฐมนตรี(ครม.)มีมติเห็นชอบร่างข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินโครงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยระบบนิเวศในบริบทความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในลุ่มน้ำโขง
รวมทั้งอนุมัติให้อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำเป็นผู้มีอำนาจลงนามในร่างข้อตกลงฯ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำในร่างข้อตกลงฯ ที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดข้องต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้เป็นดุลยพินิจของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยกรมทรัพยากรน้ำ (ทน.) เป็นผู้พิจารณา โดยไม่ต้องนำกลับไปเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
10 อันดับ สิ่งของที่พบเป็น ขยะทะเล มากที่สุด : หยุดเท หยุดทิ้ง กันเถอะ
บรูไนได้ 0.81 แต้ม อันดับ 2 เสี่ยงภัยพิบัติต่ำในอาเซียน ส่วนไทยได้ 20.91 แต้ม
สำหรับสาระสำคัญของโครงการเพื่อเพิ่มศักยภาพของภาครัฐและชุมชนในพื้นที่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยระบบนิเวศ ด้วยการรับทุนสนับสนุนจากกองทุนเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (AF) จำนวน 6.452 ล้านดอลลาร์ โดยมีมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 4 หน่วยงาน ได้แก่ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยกรมทรัพยากรน้ำ (ทน.),กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN)
ในส่วนของประเทศไทยจะมุ่งเน้นการพัฒนาแนวทางสำหรับส่งเสริมการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยระบบนิเวศ ซึ่งจะดำเนินการในบริเวณลุ่มน้ำยัง (บริเวณจังหวัดกาพสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร และสกลนคร) เช่น การฟื้นฟูป่าเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม การให้ความรู้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องและชุมชนในพื้นที่ การส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจโดยเฉพาะข้าวที่ทนต่อสภาวะอากาศแปรปรวนและภัยพิบัติได้ดี เป็นต้น