อะไรทำให้ผึ้งลดจำนวนลง ยังคงเป็นคำถามที่หาเหตุผลไม่ได้ชัดเจนนัก งานวิจัยใหม่เผยว่าประชากรผึ้งกำลังลดจำนวนลง เพราะสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ แม้ไม่อยู่ใกล้มนุษย์
ผึ้ง แมลงที่ขยันทำงานกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากประชากรผึ้งเริ่มล้มตายปีละหลายล้านตัว ผลพวงจากความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ผลการศึกษาระยะยาวฉบับใหม่ที่ตีพิมพ์ผ่านวารสาร Current Biology ได้มีการเผยข้อมูลที่นาสนใจเกี่ยวกับประชากรผึ้ง
โดยงานวิจัยชิ้นนี้ระบุว่า จากการศึกษาพบว่า แม้แต่แมลงผสมเกสรที่อาศัยอยู่ในป่าห่างไกลที่ปราศจากมนุษย์ และเป็นกลุ่มแมลงที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือการทำลายถิ่นที่อยู่ หรือเรียกได้ว่าไม่ได้เผชิญหน้ากับอันตรายใด ๆ เลย แต่จำนวนประชากรของพวกมันนั้นกำลังลดลงอย่างน่าใจหาย ซึ่งนี่เป็นสัญญาณอันตราย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
The Bee Conservancy ได้เคยอธิบายไว้ว่า ผึ้ง เป็นหัวใจหลักของการอยู่รอดของมนุษย์ เพราะกระบวนการทางการเกษตรของมนุษย์นั้นต้องอาศัยหน่วยผสมเกสรที่ล้ำค่าเหล่านี้ พวกมันมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการปลูกพืชผลที่เราไว้ใช้เพื่อบริโภคและใช้เพื่อปศุสัตว์อย่างทุกวันนี้ ดังนั้น พวกมันก็มีความสำคัญในระบบอาหารตามธรรมชาติด้วยเช่นเดียวกัน
ดังนั้น จึงสรุปความได้ว่า ถ้าเราสูญเสียผึ้งไปเท่ากับว่าเราสูญเสียพืชจำนวนมากไปด้วย และนั่นก็ตามมาด้วยการสูญเสียสัตว์ ที่อยู่อาศัย และพืชจำนวนมาก
การศึกษานี้ใช้ระยะเวลาศึกษายาวนานถึง 15 ปี (2007-2022) และได้สรุปผลการศึกษาเมื่อปีที่แล้ว จากการที่ทีมผู้ศึกษาได้ติดตามประชากรผึ้งและผีเสื้ออย่างใกล้ชิดในพื้นที่ป่าห่างไกล 3 แห่ง ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ Oconee ทางตอนเหนือของจอร์เจีย
งานวิจัยชี้ ประชากรแมลงกำลังลดลงเกือบครึ่งหนึ่งทั่วโลก เกิดอะไรขึ้น?
"ผึ้งหยาดอำพันภูจอง" ผึ้งชนิดใหม่! พบเฉพาะถิ่นในอุทยานแห่งชาติภูจองนายอย
จากการวิเคราะห์ข้อมูล ประชากรผึ้งเดิมหายไปประมาณ 62.5% ในขณะที่ประชากรผีเสื้อลดลง 57.6% โดยพื้นที่ดังกล่าวสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพไป 39%
ผลลัพธ์นี้นำไปสู่การเตือนจากผู้ทำวิจัยว่า การลดลงอย่างรวดเร็วของประชากรแมลงตอนนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เฉพาะพื้นที่ที่มีการรบกวนจากมนุษย์เท่านั้นแล้ว และมันเริ่มลามมายังป่าเงียบสงบแห่งนี้เป็นที่เรียบร้อย
ไม่มีคำอธิบายชัดเจนว่าเหตุใดกันที่ทำให้ประชากรแมลงห่างไกลมนุษย์เหล่านี้ลดจำนวนลง แต่นักวิจัยได้ตั้งสมมติฐานไว้ว่า อาจเป็นเพราะการมีอยู่ของสายพันธุ์รุกราน เช่น มดที่ทำรังบนยอดไม้อาจสร้างความเสียหายต่อประชากรผึ้งในบริเวณนั้น
หรืออาจเป็นเพราะอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นปัญหาที่เรายังไม่สามารถควบคุมได้ และเป็นเรื่องยากที่เราจะฟื้นฟูพวกมันกลับมาโดยเร็ว
ที่มาข้อมูล
Current Biology