งานวิจัยจากอังกฤษเผย ในตอนนี้ ตัวยางรถยนต์ ได้สร้างมลพิษ และผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ไปมากกว่า ไอเสียที่ปล่อยออกมาจากรถยนต์แล้ว ดังนั้น รัฐต้องควบคุมดูแลให้เข้มขึ้น และต้องจริงจัง
สำนักข่าวต่างประเทศ เปิดเผยรายงานที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศที่น่าสนใจ เพราะตอนนี้ อนุภาคมลพิษในอากาศ ในตอนนี้ ตัวยางรถยนต์ ได้สร้างมลพิษมากกว่าไอเสียที่ปล่อยออกมาแล้ว
ทั้งนี้ มีการเปิดเผยตัวเลขการเก็บข้อมูลสถิติที่น่าสนใจ คือ ในปี 2021 ว่า ปัจจุบันอนุภาคมลพิษในอากาศกว่า 52% (หรือมากกว่าครึ่งหนึ่ง) มาจากการสึกหรอของยางและเบรกรถยนต์ 24% มาจากการเสียดสีของถนน ขณะที่ 15% มาจากไอเสียรถยนต์ และอีก 10% มาจากรถบรรทุก (HGVs) ทำให้ยางรถยนต์เป็นตัวการปล่อยมลพิษมากที่สุดแล้ว โดยเป็นการทำวิจัยจาก รายงานใหม่จากมหาวิทยาลัย Imperial College London ในสหราชอาณาจักร และ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยต่างออกมาเรียกร้องให้ หน่วยงานรัฐเข้มงวดกับผลเสียจากยางรถยนต์มากขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เฉิงฉู ตัน (Zhengchu Tan) หัวหน้าทีมวิจัยจากแผนกวิศวกรรมเครื่องกลของมหาวิทยาลัย Imperial College London ให้ความเห็นว่า กระบวนการการเศษสึกหรอของยางรถยนต์ สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม อากาศที่มนุษย์หายใจ น้ำที่ไหลออกจากถนน และส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังน้ำและการเกษตร ซึ่งมันส่งผลเสียถึงกันเป็นทอดๆ
โดย รถวิ่งล้อหมุน ด้วยน้ำหนักมากกว่า 1 ตันของรถ จะทำให้เกิดการเสียดสีกับพื้นถนนจนชิ้นส่วนยางหลุดออกมา ลายบนล้อยางของเราจางลงเรื่อย ๆ และนั่นเป็นเหตุผลให้ทุกคนที่ใช้รถยนต์ต้องเปลี่ยนยางอย่างสม่ำเสมอ ตามอายุขัยของยางรถยนต์ และ ชิ้นส่วนเหล่านั้นเมื่อหลุดออกจากยาง มันจะกลายเป็นอนุภาคหลายชนิด และสร้างมลพิษให้กับสิ่งแวเดล้อมในภายหลัง
อนุภาคมลพิษจากยางรถยนต์ อาจมีสารเคมีที่เป็นพิษมากมายไม่ว่าจะเป็น โพลีอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน เบนโซไทอาโซล ไอโซพรีน และโลหะหนัก เช่น สังกะสีและตะกั่ว และมันก็สร้างไมโครพลาสติก ในทุก ๆ ที่ นักวิจัยระบุว่าการจราจรในเมืองที่มีปริมาณรถมากอาจมีไมโครพลาสติกสูงกว่าที่อื่นถึง 4 เท่า
ที่มา theguardian