รถ EV กับ รถไฮบริด อันไหนทำลายสิ่งแวดล้อมมากกว่ากัน? กำลังเป็นประเด็นคำถามที่ถกเถียงกันซึ่งทำให้หลายคนเกิดข้อสงสัย สปริงนิวส์ด้มีโอกาสสัมภาษณ์ กฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เพื่อไขข้อสงสัยในประเด็นนี้
กฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ได้เล่าถึง วงจรการผลิตของรถยนต์ไฟฟ้าและรถสันดาปภายใน (รถไฮบริด)
ในเรื่องของการผลิตรถยนต์หากเทียบกันระหว่างรถยนต์สันดาปภายในและรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งได้มีทาง IEA เป็นหน่วยงานที่ดูแลในเรื่องของการผลิตรถยนต์ ได้เก็บสถิติ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่ผลิตจนหมดอายุการใช้งาน ของรถยนต์แต่ละประเภทดังนี้
รถยนต์สันดาปภายในตั้งแต่ต้นจนจบ จะปล่อยก๊าซเรือนกระจก ถึง '42 ตัน'
รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) ตั้งแต่ต้นจนจบ จะปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพียง '20-22 ตัน'
หากจะมองเรื่องสิ่งแวดล้อมควรจะมอง 'ตั้งแต่การผลิตจนถึงการรีไซเคิล' 'ทำให้เห็นว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยกว่ารถยนต์สันดาปภายใน' ถึงแม้จะเป็นไฮบริดก็ตาม ก็ยังคงต้องใช้ 'เครื่องยนต์' อยู่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
กฤษฎา อุตตโมทย์ ยังได้เล่าเสริมว่า
แหล่งพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ชาร์จรถ EV ในปัจจุบัน ที่ผ่านมาเราใช้แหล่งพลังงานจากก๊าซธรรมชาติประมาณ 54% ถ่านหินนำเข้าประมาณ 17% ในส่วนที่เป็นพลังงานน้ำ 2% พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) 11%
ซึ่งหากมาดูในแผนพลังงานชาติ ประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะใช้ Renewable energy หรือพลังงานหมุนเวียน ไม่น้อยกว่า 50% ซึ่งในอนาคตจะค่อยๆปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานสีเขียวมากขึ้น
ซึ่งคำตอบของ กฤษฎา อุตตโมทย์ ได้ตอบคำถามที่ทำให้เราสรุปได้ว่า
"รถยนต์ไฟฟ้า สร้างมลพิษและทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยกว่ารถไฮบริดอย่างแน่นอน"
ทางผู้เขียนได้ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าในไทย และแนวโน้มสามารถคาดการณ์ได้ว่า แม้ในขณะนี้ในประเทศไทยจะยังคงต้องใช้พลังงานไฟฟ้าจากโรงงานถ่านหินหรือ Fossil Fuel อยู่ก็ตาม
แต่เป้าหมายที่อนาคตประเทศไทยกำลังจะเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ถึง 50% จะทำให้การใช้รถยนต์ไฟฟ้าและการชาร์จไฟ มาจากพลังงานสะอาดหรือพลังงานสีเขียวได้ในเร็วๆนี้อย่างแน่นอน และสุดท้ายแล้วรถ EV ก็จะตอบโจทย์ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
ที่มา : iea , กฤษฎา อุตตโมทย์