กรรมการที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Advisory Group: SAG) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO (Food and Agriculture Organization of the United Nations) ประกาศให้ “ระบบการเลี้ยงควายปลักพื้นที่ทะเลน้อย” เป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร แห่งแรกของไทย
คนไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก! นับเป็นข่าวน่ายินดีของเกษตรกรไทยและคนไทย เมื่อ กรรมการที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Advisory Group: SAG) องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือ FAO (Food and Agriculture Organization of the United Nations) ประกาศให้ “ระบบการเลี้ยงควายปลักพื้นที่ทะเลน้อย” เป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร แห่งแรกของไทย
โดย นาย Yoshihide ENDO ฝ่ายเลขานุการมรดกโลกทางการเกษตร เปิดเผยว่า ข้อเสนอโครงการ “การเลี้ยงควายปลักและระบบนิเวศในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย จ.พัทลุง และ จ.สงขลา” ได้ผ่านความเห็นชอบจากกรรมการที่ปรึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Advisory Group: SAG) ของ FAO (Food and Agriculture Organization of the United Nations) ประกาศ เป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตร (Global Important Agricultural Heritage Systems หรือ GIAHS) ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และนับเป็นพื้นที่มรดกโลกทางการเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไฟป่าแคลิฟอร์เนีย ก่อคาร์บอนแซง ภารกิจลดก๊าซเรือนกระจก นาน 17 ปี
ความคืบหน้านโยบาย ไม่เทรวม สิ่งแวดล้อมดีของกทม.ไปถึงไหนแล้ว?
ทั้งนี้ พื้นที่ดังกล่าวมีความสำคัญเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมากจนได้รับการประกาศให้เป็นเขตพื้นที่ชุ่มน้ำโลก หรือ “Ramsar site" และมีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของ FAO ในการเป็นมรดกทางการเกษตร ที่เน้นการอนุรักษ์มรดกทางการเกษตรโลก เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารและพัฒนาเศรษฐกิจ ปกป้องและส่งเสริมการใช้ทางชีวภาพให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและยั่งยืนบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย มีวิถีชีวิตที่มีความเชื่อมโยงกับควายทะเลน้อย โดยสืบทอดการเลี้ยงควายมายาวนานมากว่า 250 ปี
สำหรับ ควายในบริเวณพื้นที่ทะเลน้อย ฯ มีความโดดเด่นในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ เมื่อฤดูน้ำมากก็จะดำน้ำลงไปกินอาหารในน้ำ และควายยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลทางนิเวศวิทยา ช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศในพื้นที่ทะเลน้อย ทำให้นกที่เคยสูญพันธุ์ไป อาทิ นกกาบบัว นกเป็ดหงส์ ฯลฯ กลับคืนสู่พื้นที่ชุ่มน้ำหลังจากที่หายไปกว่า 20 ปี
ก่อนหน้านี้ โดยรอบทะเลสาบสงขลา มีปริมาณควายน้ำประมาณ 3,000 ตัว แต่ตอนนี้น่าจะเหลือแค่ 1,000 กว่าตัวเท่านั้น เพราะเมื่อน้ำท่วมแต่ละปีมีควายน้ำตายลงไปจำนวนมาก โดย สส.ในพื้นที่ เคยทำเรื่องขออนุญาตไปที่กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ขอให้มีการขุดเนินในพื้นที่น้ำท่วมถึงภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทะเลน้อย จ.พัทลุง เพื่อให้เป็นที่พักของควายในช่วงน้ำท่วม ซึ่งการดำเนินการ พื้นที่มรดกโลกทางเกษตรแห่งแรก ก็สามารถช่วยชีวิตไม่ให้ควายจมน้ำตายได้ปีละหลายร้อยตัว
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ที่จะสามารถขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางการเกษตรโลกได้ จะต้องมีองค์ประกอบครบตามหลักเกณฑ์ 5 ข้อ ได้แก่
1) ความมั่นคงด้านอาหาร/ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี
2) ความหลากหลายทางชีวภาพการเกษตร
3) ระบบความรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีมาแต่ดั้งเดิม
4) วัฒนธรรม ระบบคุณค่า และองค์กรทางสังคม
5) ลักษณะภูมิทัศน์/และภูมิทัศน์ทางทะเล
พื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางการเกษตรโลกได้สำเร็จ จะทำให้เกษตรกรและชุมชนได้รับประโยชน์ในด้านการท่องเที่ยว โอกาสทางการเกษตร การจ้างงานเพิ่มขึ้น รายได้เพิ่มขึ้น และการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ