มอลตา เพิ่งมีการจมเรือบรรทุกน้ำมัน ที่ไม่ใช้แล้ว และหมดอายุการใช้งานลำนี้ ได้กลายเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศทางทะเล (Marine ecosystem) และมุ่งเน้นให้เป็นการ keep the world ในอนาคตด้วย
มอลตา ประเทศเล็กๆในยุโรป (เกาะเล็กๆที่อยู่ทางตอนใต้ของอิตาลี) เพิ่งมีการจมเรือบรรทุกน้ำมันความกว้าง 60 เมตร และหนัก 855 ตัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ เรือบรรทุกน้ำมัน ที่ไม่ใช้แล้ว และหมดอายุการใช้งานลำนี้ ได้กลายเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศทางทะเล (Marine ecosystem) และมุ่งเน้นให้เป็นการ keep the world ในอนาคตด้วย
สำหรับ เรือบรรทุกน้ำมันลำนี้ เกยตื้น ที่ทะเลมอลตา มาตั้งแต่ปี 2018 แล้ว และเมื่อประเมินแล้วพบว่าค่าซ่อม มีราคาแพงเกินไป ดังนั้นทาง มอลตา จึงตัดสินใจที่จะ จมเรือ ลำนี้ เพื่อให้เป็นประโยชน์ในแง่มุมอื่นๆ เช่นกัน เป็นปะการังเทียม
โดย เรือบรรทุกน้ำมัน ลำนี้ จะถูกจมลงในบริเวณ ทะเลโกโซ , เพื่อดึงดูดนักดำน้ำจากทั้งในและต่างประเทศ และเมื่อเวลาได้ทำหน้าที่ของมันอย่างสมบูรณ์แบบแล้ว ความงามของมันจะเรียกร้องความความสนใจจากผู้ที่มีใจรักอนุรักษ์ความสวยงามทางทะเลเอง พร้อมๆกับการเป็นสถานที่ที่เป็นประโยชน์ในฟื้นฟูระบบนิเวศทะเล ของมอลตา ด้วยอีกทางหนึ่ง
.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
น้ำแข็งซอมบี้ คืออะไร ? ละลายเร็ว ทำน้ำทะเลสูงขึ้น 10 นิ้ว กระทบคนกว่า 200 ล้าน
สำหรับ ไอเดียการ จมเรือ เพื่อมาเป็น แนวปะการังเทียม ไม่ใช่เรื่องใหม่ของโลก และหลายๆประเทศก็ทำกัน หากยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจน ก็จะมีตัวอย่างในประเทศไทยด้วยเช่นกัน
หากย้อนไปในปี 2011 (พ.ศ.2554) กองทัพเรือไทย เพิ่งใช้ เรือรบ ที่ปลดประจำการแล้ว คือ 1. เรือหลวงปราบ และ 2.เรือหลวงสัตกูด มาเป็นแนวปะการังเทียม ที่ เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเกาะง่ามน้อย จังหวัดชุมพร และเมื่อเวลาผ่านไปเพียง 1 ปี นับจากวันที่วางแนวปะการังเทียม ผลการศึกษาพบว่าไม่พบผลกระทบต่อพื้นท้องทะเล
.
สำหรับสัตว์เกาะติดและปลาทะเลยังคงมีสภาพเดิม รวมทั้งได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสัตว์เกาะติดและประชากรปลา หลังจากผ่านไป 1 ปี พบว่ามีปลาเพิ่มมากกว่า 40 ชนิด และปัจจุบัน พบว่ามีชนิดของปลาเพิ่มขึ้น 60-70 ชนิด โดยเฉพาะบริเวณ เรือหลวงปราบ จะพบฉลามวาฬได้อย่างสม่ำเสมอ สำหรับสัตว์เกาะติด มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น ฟองน้ำเคลือบ และปะการังดำซึ่งเป็นสัตว์พันธุ์เด่น (Dominant Species)
ปัจจุบัน เรือหลวงปราบและเรือหลวงสัตกูด ได้กลายเป็นแหล่งดำน้ำที่คนทั่วโลกรู้จัก ความอุดมสมบูรณ์ของบรรดาสัตว์ทะเลหลากหลายชนิดที่เข้ามาอาศัยบริเวณเรือ
รู้หรือไม่ว่า ประเทศไทย มี แนวปะการังเทียม ที่เกิดจากการจมเรือ อยู่ที่ 14 แนวปะการังเทียม โดยข้อมูลจาก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุไว้ว่า มี เรือกองทัพเรือที่ปลดระวาง ถูกวางไว้เป็นแนวปะการังเทียม เพื่อจัดทำแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทย และทะเลอันดามัน อาทิ ชลบุรี ,ชุมพร , สุราษฎร์ธานี , ระยอง , กระบี่ , ตราด , พังงา