ออสเตรเลียประกาศแผนฟื้นฟูระบบนิเวศของอ่าวซิดนีย์ ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ มุ่งหวัง ฟื้นฟู สภาพแวดล้อมทางทะเล ด้วยงบมากกว่า 200 ล้านบาท เป็นหนึ่งในโครงการที่แสดงออกอย่างชัดเจนว่า ออสเตรเลีย เอาจริงเอาจังกับการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมทางทะเล และมุ่งหวังสู่การ keep the world
สำนักข่าวซินหัว ระบุว่า ทางการรัฐนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลีย ประกาศ แผนริเริ่มการฟื้นฟูป่าสาหร่ายทะเลและประชากรม้าน้ำ ในอ่าวซิดนีย์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล
โดย แผนริเริ่มการฟื้นฟูป่าสาหร่ายทะเลและประชากรม้าน้ำในอ่าวซิดนีย์ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของประเทศ ใช้งบประมาณ 9.1 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 226 ล้านบาท )โดยจะแบ่งเป็นการจัดสรรสำหรับ 3 โครงการ ได้แก่
1. การติดตั้งผนังกั้นน้ำทะเลที่มีชีวิต
2. การปลูกทุ่งหญ้าทะเล รวมถึงป่าสาหร่ายทะเล
3. การจัดทำสำมะโนประชากรเพนกวิน และการประเมินที่อยู่อาศัยของแมวน้ำ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เกิดไฟป่าแอมะซอน 3,358 จุดในวันเดียว ทำสถิติตัวเลขสูงสุด ในรอบ 15 ปี
น้ำท่วมปากีสถานรุนแรง ส่งผลกระทบประชาชน 33 ล้านคน ฝนมากกว่าค่าเฉลี่ย 784%
ทั้งนี้ มากกว่า 85% ของประชาชนในรัฐนิวเซาท์เวลส์ อาศัยอยู่ห่างจากชายฝั่งในระยะ 50 กิโลเมตร ส่งผลให้แนวชายฝั่งอ่าวซิดนีย์มากกว่า 50% เต็มไปด้วยโครงสร้างเมือง รวมถึงมีคนทำงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวชายฝั่งมากกว่า 142,000 คน ระดับความหนาแน่นของเมืองจึงก่อให้เกิดทั้งความท้าทาย และการพึ่งพาระบบนิเวศทางทะเลชายฝั่งรัฐนิวเซาท์เวลส์
.
แผนริเริ่มการฟื้นฟูป่าสาหร่ายทะเลและประชากรม้าน้ำ ในอ่าวซิดนีย์ เป็นการดำเนินงานร่วมกับสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งซิดนีย์ สมาคมอนุรักษ์ทารองกาแห่งออสเตรเลีย และหน่วยงานบริการสัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติของรัฐนิวเซาท์เวลส์
ก่อนหน้านี้ ทางชายฝั่งตะวันตกของออสเตรเลีย ซึ่งอยู่คนละฝั่งกับซิดนี่ย์ เพิ่งพบกับเรื่องราวที่น่าสนใจของวงการสิ่งแวดล้อมและ ธรรมชาติ เพราะมีการค้นพบ พืชเติบโตและกินอาณาเขตใหญ่ที่สุดในโลก โดยพืชชนิดนี้คือหญ้าทะเลขนาด 200 ตารางกิโลเมตร หรือราวๆ สนามฟุตบอล 20,000 สนาม ต่อๆกัน ซึ่งแผ่อาณาเขตยาว 180 กิโลเมตร ในบริเวณอ่าวชาร์คเบย์ Shark Bay นอกชายฝั่งเมืองเพิร์ธ ทางตะวันตกของออสเตรเลีย ไปทางเหนือ 800 กิโลเมตร โดยหญ้าทะเล เติบโตที่กินพื้นที่ขนาดกว้างขวางแบบนี้ เกิดจากเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว โดยมีจุดเริ่มต้น เมื่อ 4,500 ปีก่อนเลยทีเดียว