เปิดแนวทางคำตัดสินคดีเหมืองทองอัครา ที่ไทยเสียเปรียบทุกประตู สืบเนื่องมาการแก้ปัญหาแบบอำนาจนิยม ที่สร้างความขื่นขมให้กับคนทั้งประเทศ
ยังไม่รู้จะลงเอยอย่างไร กับคดีเหมืองทองอัครา ที่ยืดเยื้อมากว่า 5 ปี นับตั้งแต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โชว์ความเด็ดขาดในการแก้ปัญหา ด้วยการประกาศใช้อำนาจ ม.44 สั่งปิดเหมืองทองอัครา (เหมืองทองคำชาตรี) ในวันที่ 10 ธันวาคม 2559
ในฝั่งที่เห็นด้วยก็ชื่นชมว่าบิ๊กตู่ให้ความสำคัญกับประชาชนในพื้นที่และตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ก็มีผู้คนอีกจำนวนไม่น้อยออกอาการงงงันและเห็นเค้าลางแห่งหายนะ จากการใช้อำนาจ ม.44 กับคู่กรณีที่เป็นบริษัทข้ามชาติ ว่าอาจกลายเป็นมหากาพย์ค่าโง่ที่ประชาชนต้องมาแบกรับ ทั้งๆ ที่เป็นความผิดพลาดในการใช้อำนาจอย่างไม่รอบคอบของผู้บริหารประเทศ
โดยคณะอนุญาโตตุลาการจะอ่านคำตัดสินข้อพิพาทคดีเหมืองทองอัครา ที่ประเทศสิงคโปร์ ในวันที่ 31 มกราคม 2565 ซึ่ง จิราพร สินธุไพร ส.ส. ร้อยเอ็ด เขต 5 กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย ได้วิเคราะห์ผลการตัดสินว่ามีความเป็นไปได้ 3 แนวทาง ดังนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จับตาคดีเหมืองทองอัครา ส่อดีลรัฐยกทรัพย์สินชาติให้คู่กรณี แลกถอนฟ้อง
รัฐบาลปัดไฟเขียว “คิงส์เกต” เปิดเหมืองทองใหม่ แลกกับการเลื่อนแถลงคำชี้ขาด
เพื่อไทย ชี้ปม เหมืองทองอัครา คือใบเสร็จความเสียหาย ที่ นายกฯ ต้องรับ
แนวทางที่ 1: ประนีประนอมยอมความกัน
ยุติกระบวนการอนุญาโตตุลาการตามที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายร้องขอ ซึ่งก็หมายถึงทั้งสองฝ่ายประนีประนอมยอมความกันนั่นเอง โดยรูปแบบที่ 1 บริษัทคิงส์เกตฯ จะถอนคดีออกจากกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ส่วนรูปแบบที่ 2 คณะอนุญาโตตุลาการไม่ได้ตัดสินว่าฝ่ายใดถูกหรือผิด แต่จะนำข้อตกลงประนีประนอมยอมความของคู่กรณีมาบันทึกไว้โดยไม่มีความเห็นของอนุญาโตตุลาการประกอบ แต่หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ก็สามารถนำบันทึกฯ ไปบังคับคดีต่อไปได้
แนวทางที่ 2: ชี้ขาดแค่บางส่วน
ออกคำชี้ขาดแค่บางส่วนบางประเด็น แล้วเก็บข้อพิพาทที่เหลือไว้ออกคำชี้ขาดในภายหลัง ซึ่งจะกลายเป็นภาระส่งต่อยังรัฐบาลต่อไป
แนวทางที่ 3: ไทยแพ้คดี ต้องชดเชยให้คู่กรณี 30,000 ล้านบาท
คณะอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาททั้งหมด ซึ่งแนวทางนี้ไทยมีแนวโน้มที่จะเป็นฝ่ายแพ้คดีสูงมาก และหากไทยแพ้คดี ต้องชดเชยให้บริษัทคิงส์เกต คอนโซลิเดตเต็ด จำกัด จากออสเตรเลีย บริษัทแม่ของ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) กว่า 3 หมื่นล้านบาท
ไม่ว่าคำตัดสินจะออกแนวทางใด ไทยเสียเปรียบทุกประตู
และจากกรณีเมื่อวันที่ 19 มกราคม ที่ผ่านมา บริษัทคิงส์เกต คอนโซลิเดเต็ด บริษัทแม่ของ บริษัทอัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งว่า รัฐบาลไทยอนุมัติสัญญาเช่าพื้นที่ 4 แปลงให้กับบริษัทและเปิดทางให้กลับมาทำเหมืองแร่ชาตรีได้อีกครั้ง หลังจากที่ต้องหยุดดำเนินการตั้งแต่ปี 2560 !!!
จึงมีการตั้งข้อสงสัยว่า นี่คือดีลเพื่อให้คู่กรณีประนีประนอมยอมความ เพื่อให้คำตัดสินเป็นไปตามแนวทางที่ 1 ? และหากเป็นเช่นนั้น ถือว่าเข้าข่ายนำทรัพยากรของชาติมาสังเวยความผิดของตัวเองหรือไม่ ? แล้วผู้ที่เป็นต้นตอของปัญหา ที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับประเทศ จะรับผิดชอบอย่างไร ?
แหล่งข้อมูล
ย้อนปม "คดีเหมืองทองอัครา" ขายสมบัติชาติจริงหรือ
จับตาคดีเหมืองทองอัครา ส่อดีลรัฐยกทรัพย์สินชาติให้คู่กรณี แลกถอนฟ้อง