ทำความรู้จักประวัติ เจนเซ่น ฮวง (Jensen Huang) CEO Nvidia - ทำไมถึงได้ ฉายาเทย์เลอร์ สวิฟต์ แห่งวงการเทคโนโลยี , ทำไมจึงต้องมาพร้อมกับ เสื้อแจ็คเก็ตหนัง
ชื่อของ เจนเซน ฮวง (Jensen Huang) กลายเป็นจุดสนใจของสังคม ทันทีที่มีข่าวว่า เอ็นวิเดีย (Nvidia) บริษัทชิปยักษ์ใหญ่ของโลกเตรียมเปิดเผยแผนการลงทุนในประเทศในเดือนธันวาคมนี้ ซึ่งในช่วงเวลานั้น “เจนเซน หวง” ซีอีโอบริษัทก็จะเดินทางเยือนไทย...
ในช่วงปี 2024 ที่ผ่านมา , ความสำเร็จอย่างยั้งไม่หยุดฉุดไม่อยู่ของ NVIDIA ทำให้หลายคนหันมาสนใจเรื่องราวชีวิตของเจนเซน หวง เจ้าของตำแหน่งซีอีโอทัน ที ไม่ใช่แค่เพราะบริษัทประสบความสำเร็จเท่านั้น แต่รวมถึงการประสบความสำเร็จ แนวคิดธุรกิจ และมาดของเจ้าตัว ที่ทำให้ตอนนี้เจนเซน หวง ได้รับสมญานาม ให้เป็น“เทย์เลอร์ สวิฟต์” แห่งวงการเทคโนโลยีเลยทีเดียว เรื่องนี้ไม่ได้กล่าวเกินความจริง...
ผู้ชายที่มาพร้อมกับภาพจำเสื้อแจ็คเก็ตหนัง คนนี้เป็นใคร มาหาคำตอบกัน
เจนเซน ฮวง เกิดเมื่อ 17 ก.พ. 1963 ปัจจุบัน อายุ 61 ปี เขากำเนิดที่เมืองไถหนานของไต้หวัน มีน้องชาย 1 คน ตอนนั้นเป็นช่วงที่กำลังมีสงครามเวียดนามเกิดขึ้น (ช่วงปี 1955 - 1975) ด้วยสภาวะที่ไต้หวันตอนนั้นไม่ปลอดภัยต่อชีวิตสักเท่าไร ทำให้พ่อแม่ของเขาวางแผนอพยพทั้งครอบครัว โดยมีเป้าหมายก็คือ ‘สหรัฐอเมริกา’
แต่ระหว่างทาง เจนเซน ฮวง ได้พักอาศัยที่เมืองไทยอยู่ระยะหนึ่ง แต่เมื่อสงครามรุนแรงขึ้น และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เวลานั้นเริ่มไม่ปลอดภัย พ่อแม่จึงตัดสินใจส่งตัวเขาและน้องชายไปสหรัฐฯ ตอนที่เขาอายุได้เพียง 9 ขวบเท่านั้น โดยส่งพวกเขาไปที่เมืองโอไนดา รัฐเคนทักกี แต่หลังจากนั้นมาไม่นานนักก็ย้ายพวกเขาทั้ง 2 ไปที่รัฐออริกอน
การศึกษา , เจนเซน ฮวง ได้เข้าเรียนที่ Oregon State University ในระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าได้สำเร็จ จากนั้น ปี 1992 ‘เจนเซน ฮวง’ เรียนจบในระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ด้วยวัย 30 ปี
จุดเปลี่ยนในชีวิตของ เจนเซน ฮวง เกิดขึ้นด้วยความหลงใหลและต้องมนต์โลกของ AI และเกมคอมพิวเตอร์ ทำให้เขาตัดสินใจลาออกจากงานที่ทำ และเริ่มต้นธุรกิจของตัวเองในปี 1993 ร่วมกับเพื่อนอีก 2 คน คือ คริสมาลาชอฟสกี และ เคอร์ติส เพรม อดีตพนักงานบริษัท Sun Microsystems ซึ่งนั้นได้ กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ NVIDIA บริษัทที่พวกเขามุ่งพัฒนาชิพเซตประมวลผลกราฟิก (GPU) ตอนนั้นกระแสและความต้องการมากขึ้น
พวกเขาทั้ง 3 เห็นโอกาสนี้ตรงกัน ก่อนเปิดตัว “การ์ดจอ” ตัวแรกของโลกได้ในปี 1999 ชื่อว่า NVIDIAGeForce 256 ซึ่งในปีเดียวกันนั้น NVIDIA สามารถนำบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq ได้สำเร็จ
ตอนนี้ ณ ปี 2024 , Nvidia กลายเป็นผู้ผลิตรายสำคัญในชิปเกมคอมพิวเตอร์ และได้ขยายไปสู่การออกแบบชิปสำหรับศูนย์ข้อมูลและรถยนต์อัตโนมัติ จนกลายเป็นผู้ให้บริการชิปที่โดดเด่นเพื่อรองรับการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ ทำให้หุ้นของ Nvidia แซงหน้า Apple เป็นบริษัทที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกเมื่อเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้น 154% ในปีนี้ มีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 3.3 ล้านล้านดอลลาร์อีกด้วย
เจนเซน ฮวง มักจะแต่งตัวในลุคที่ทุกคนจำได้ นั่นคือ เสื้อแจ็คเก็ตหนังสีเข้มซึ่งเป็นแบบนี้มานานกว่า 20 ปีแล้ว ซึ่งทำให้ผู้คนเข้าถึงเขาได้ง่ายในแง่ของภาพลักษณ์ และส่วนหนึ่งเป็นเพราะภรรยาและลูกๆ ทำให้เขาหันมาแต่งตัวเช่นนี้ และตัวเจนเซน ฮวงก็ชอบกับสไตล์การแต่งตัวแบบนี้มากๆด้วย , และจากความเป็นซูเปอร์สตาร์ในวงการเทคโนโลยีของเขา ทำให้ BBC มีบทความวิเคราะห์ว่าทำไมผู้คนในโลกอินเตอร์เน็ตถึงเรียก เจนเซน ฮวง ว่าเป็น เทย์เลอร์ สวิฟต์ แห่งวงการเทคโนโลยี
โดยฉายานี้ ดั่งเดิมนั้น มาจากการที่ Mark Zuckerberg ผู้ก่อตั้ง Facebook ตั้งฉายาให้ Jensen Huang
บ๊อบ โอดอนเนล นักวิเคราะห์เทคโนโลยี เคยให้ความเห็นไว้ว่า เจนเซน ฮวง ได้รับการตอบรับไม่ต่างจากร็อกสตาร์เวลาปรากฏตัวต่อสาธารณชน
เขาพิจารณาว่าชื่อเสียงของเขาเป็นโอกาสในการโปรโมทแบรนด์ NVIDIA อีกทอดหนึ่ง เขามีความสุขอย่างมาก ในไต้หวัน เขาคือชายผู้สร้างชื่อเสียงให้ประเทศ ไปที่ไหนก็มีแต่ผู้คนเดินเข้าหา จนเริ่มมีคำฮิตติดปากว่า แฟนคลับบ้าเจนเซน (Jensanity - Jensanity" [คำศัพท์เช่นนี้มักถูกใช้กับบุคคลที่มีชื่อเสียงขึ้นมาอย่างท้วมท้น อาทิ กรณีก่อนหน้านี้ที่เจเรมี ลิน นักบาสเก็ตบอลลูกครึ่งไต้หวัน-อเมริกัน ทำผลงานได้อย่างดีจนผู้คนเรียกเขาว่า 'Linsanity']
เจนเซน ฮวง ยังได้รับการยกย่องอย่างสูงจากหลายวงการ เขาได้รับเลือกเข้าสู่ National Academy of Engineering และได้รับรางวัล Robert N. Noyce Award ซึ่งเป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุดของสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ เหรียญผู้ก่อตั้ง IEEE และปริญญาเอกกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัย National Chiao Tung มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน และมหาวิทยาลัย Oregon State ในปี 2017
เขาได้รับเลือกให้เป็นนักธุรกิจแห่งปีของ Fortune ในปี 2019 Harvard Business Review จัดอันดับให้เขาเป็นที่ 1 ในรายชื่อซีอีโอที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด 100 อันดับแรกของโลก รวมถึงรางวัล CEO แห่งปีของ the Economist และ Brand Finance รวมถึงเป็นหนึ่งใน 100 บุคคลที่มีอิทธิพลมากที่สุดของนิตยสาร TIME ด้วย
ที่มา :reuters bbc forbes efinancethai