SHORT CUT
นวัตกรรม เครื่องปั้นซูชิ ความเร็วสูง 1,200 คำต่อชั่วโมง แก้วิกฤตขาดแคลนแรงงาน-ค่าแรงเพิ่มสูง และสิ่งเหล่านี้อาจจะทำให้ในอนาคต เราอาจจะกินซูชิจากฝีมือเชฟจริงๆ ยากขึ้น
ต่อไปในอนาคต ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เราอาจจะไม่ได้ทาน ซูชิ อาหารยอดฮิต และเป็นพลังซอฟท์พาวเวอร์จากฝั่งดินแดนอาทิตย์อุทัย จากฝีมือเชฟที่เป็นคนจริงๆ ก็เป็นได้ เพราะยิ่งเวลาเดินไปข้างหน้า โลกของเรายิ่งมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหมๆ เกิดขึ้นมาเสมอ
ล่าสุด เวลานี้ Suzumo Machinery ผู้ผลิตหุ่นยนต์ทำซูชิชั้นนำ เพิ่งเปิดตัวโรบอท หุ่นยุนต์ปั้นซูชิ (เฉพาะข้าว) รุ่นใหม่ ซึ่งในความแปลกใหม่ล่าสุดนั้น มีจุดเด่นคือความรวดเร็วในการปั้นซูชิได้ถึง 1,200 คำต่อชั่วโมง
โดยการออกแบบใช้งานง่ายมากขึ้น รวมไปถึงเครื่องจักรที่มีขนาดเล็กลง ขนาดกะทัดรัด และนวัตกรรมเครื่องจักรกลเหล่านี้ จะเป็นทางหนึ่งในแก้วิกฤตขาดแคลนแรงงาน-ค่าแรงเพิ่มสูงของประเทศญี่ปุ่นด้วย
ปัจจุบัน หุ่นยนต์ทำซูชิของบริษัท Suzumo มีอยู่แล้วใน 89 ประเทศ โดยบริษัทตั้งเป้าที่จะเร่งการขยายตัวไปทั่วโลก ท่ามกลางกระแสความนิยมที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของอาหารญี่ปุ่น รวมถึงในประเทศไทยด้วยที่อาหารญี่ปุ่นเป็นที่นิยมเป็นอย่างยิ่ง
ขณะเดียวกัน , นอกจากนี้ มีเครื่องมือ ทำซูชิ แล้ว ก็ยังมี การพัฒนาเครื่องปั้น โอนิกิริ ด้วย โดย Fuji Seiki ผู้ผลิตเครื่องทำข้าวปั้นชั้นนำ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในเมืองฟุกุโอกะ เปิดเผยว่า ได้รับการสอบถามเกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกับเชฟ ที่เป็น สร้างข้าวปั้นโอนิกิริเนื้อนุ่มฟูเพิ่มขึ้น 2 เท่า เนื่องจากหุ่นยนต์นี้จะสามารถปั้นข้าวให้นุ่มฟูได้ ขณะที่เชฟ (ที่เป็นมนุษย์) จะจัดการในกระบวนการกับไส้และการห่อ
ในความเป็นจริงแล้ว นวัตกรรม และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการทำอาหารญี่ปุ่น , ยังมีอีกมากมาย อาทิ เครื่องปั้น ‘เกี๊ยวซ่า’ ขนาดเท่าไมโครเวฟ ห่อเกี๊ยวซ่าได้ 1,500 ชิ้นต่อชั่วโมง โดยผลิตจาก Toa Industry ผู้ผลิตเครื่องทำเกี๊ยวซ่าในเมืองฮามามัตสึ จังหวัดชิซึโอกะ
ขณะเดียวกัน Shinagawa Machinery Works ในจังหวัดนารา ก็มีเทคโนโลยี นวัตกรรมเครื่องผัดที่สามารถปรุงเมนูข้าวผัดสไตล์จีนในปริมาณมหาศาล เพียงแค่ใส่ส่วนผสมลงในกระทะขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.2 เมตร โดยเวลาประมาณ 3 นาที สามารถผลิตข้าวผัดจำนวน 70-100 จาน
จากข้อมูลของ Global Information ระบุว่า ตลาดหุ่นยนต์อาหาร ทั่วโลก มีมูลค่าสูงถึง 1.92 พันล้านดอลลาร์ (เกือบๆ 7 หมื่นล้านบาท) ในปี 2022
โดยคาดว่าจะเติบโต 12.3% ต่อปีตั้งแต่ปี 2023-2030 เมื่อปัญหาการขาดแคลนแรงงานแย่ลง หุ่นยนต์จึงมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในแวดวงอุตสาหกรรมอาหาร และสิ่งเหล่านี้ อาจจะมาแทนหน้าที่ของมนุษย์ในการประกอบอาหารในอนาคต
ที่มา nikkei
ข่าวที่เกี่ยวข้อง