SHORT CUT
UNCTAD เผยรายงาน AI โตมหาศาล แต่ผลประโยชน์กระจุกตัว เสี่ยงทิ้งห่างประเทศกำลังพัฒนา แนะเร่งลงทุน สร้างคน วางกรอบธรรมาภิบาลให้ครอบคลุม
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังปฏิวัติเศรษฐกิจโลก สร้างโอกาสมหาศาล แต่ก็แฝงความเสี่ยงที่จะยิ่งซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำ
UNCTAD เตือนว่า แม้ AI จะเป็นเครื่องมือทรงพลังเพื่อความ "ก้าวหน้า" แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดประโยชน์ "อย่างทั่วถึง"
ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องลงมือทำตั้งแต่ตอนนี้ ทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล สร้างขีดความสามารถ และเสริมสร้างธรรมาภิบาล AI เพื่อควบคุมศักยภาพของ AI ให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
นางเรเบกา กรินสแปน เลขาธิการ UNCTAD เน้นย้ำถึงความสำคัญของการให้ "มนุษย์" เป็นศูนย์กลางการพัฒนา AI
เรียกร้องให้มีความร่วมมือระหว่างประเทศที่เข้มแข็งขึ้นเพื่อ "เปลี่ยนจุดสนใจจากเทคโนโลยีมาสู่ผู้คน ทำให้ประเทศต่างๆ สามารถร่วมกันสร้างกรอบการทำงานปัญญาประดิษฐ์ระดับโลกได้"
UNCTAD คาดการณ์ว่าตลาด AI จะมีมูลค่าสูงถึง 4.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2033 ซึ่งเทียบเท่าขนาดเศรษฐกิจของเยอรมนี และจะช่วยเพิ่มผลิตผลและขับเคลื่อนนวัตกรรมได้อย่างมาก
อย่างไรก็ตาม รายงานย้ำว่าประโยชน์เหล่านี้เสี่ยงที่จะกระจายอย่างไม่ทั่วถึง โดยมีแนวโน้ม เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทขนาดใหญ่และประเทศที่ร่ำรวยมากกว่า ซึ่งอาจทำให้ประเทศที่เศรษฐกิจกำลังพัฒนาต้องดิ้นรนอย่างหนักเพื่อตามให้ทัน
การครอบงำตลาดทั้งในระดับประเทศและองค์กร อาจยิ่งถ่างช่องว่างทางเทคโนโลยี ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากเสี่ยงที่จะพลาดโอกาสจากประโยชน์ของ AI
หนึ่งในข้อกังวลหลักคือผลกระทบต่อตลาดแรงงาน โดย AI อาจส่งผลกระทบต่อตำแหน่งงานทั่วโลกมากถึง 40% ระบบอัตโนมัติมัก เป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจมากกว่าพนักงาน ทำให้ช่องว่างด้านรายได้มีแนวโน้มขยายกว้างขึ้น และ ลดทอนความได้เปรียบในการแข่งขันด้านแรงงานราคาถูกของประเทศกำลังพัฒนา
ข้อกังวลนี้สอดคล้องกับคำเตือนก่อนหน้านี้จาก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และรายงานของ สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) เมื่อเดือนมกราคมที่ระบุว่า นายจ้างถึง 41% กำลังวางแผนที่จะลดจำนวนพนักงานในตำแหน่งที่ AI สามารถทำหน้าที่แทนได้
การลงทุนในการ Reskill, Upskill และปรับตัวของแรงงานจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้แน่ใจว่า AI จะช่วยเพิ่มโอกาสการจ้างงานแทนที่จะกำจัดทิ้ง
AI กำลังกำหนดนิยามใหม่ของโอกาสทางเศรษฐกิจ และกลายเป็นหัวใจของนโยบายอุตสาหกรรมและนวัตกรรม อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ด้าน AI ขององค์กรทั่วโลกกว่า 40% ยังคงกระจุกตัวอยู่ในบริษัทเพียง 100 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกาและจีน
ยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีอย่าง Apple, Nvidia และ Microsoft ล้วนได้รับประโยชน์มหาศาลจากการเติบโตของ AI และมีมูลค่าตลาดรวมกันเทียบเท่ากับ GDP ของประเทศในทวีปแอฟริกาทั้งหมด
สิ่งนี้สะท้อนถึงอำนาจทางเศรษฐกิจที่กระจุกตัว และตอกย้ำความท้าทายของประเทศกำลังพัฒนาในการสร้างระบบนิเวศ AI ของตนเอง ซึ่งการกำหนดนโยบายที่เน้น 3 ปัจจัยหลัก คือ โครงสร้างพื้นฐาน, ข้อมูล และทักษะ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
ขณะที่ AI กำลังกำหนดอนาคตเศรษฐกิจโลก ยังมีถึง 118 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่คือ กลุ่มประเทศโลกใต้ (Global South) ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการหารือด้านนโยบายและธรรมาภิบาล AI ที่สำคัญ
การกีดกันนี้อาจทำให้ประเทศเหล่านี้ยิ่งล้าหลังในเศรษฐกิจดิจิทัล UNCTAD จึงเสนอว่าประชาคมระหว่างประเทศต้องดำเนินการเพื่อให้แน่ใจว่ากรอบกติกา AI ที่กำลังก่อตัวขึ้นจะรับใช้ความก้าวหน้าระดับโลก ไม่ใช่เพียงผลประโยชน์ของคนกลุ่มน้อย
รายงานของ UNCTAD ได้เสนอแนวทางเพื่อให้แน่ใจว่า AI จะขับเคลื่อนการเติบโตที่ครอบคลุม ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญ ได้แก่
ที่มา : UNCTAD