SHORT CUT
'ทรู' โชว์ทดสอบ แจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน 5 ภาษา ในพื้นที่ได้รับแจ้งเตือนจริงครั้งแรก พร้อมเปิดศูนย์กลางบริหารจัดการ กรณีเกิดภัยพิบัติ 24 ชั่วโมง พร้อมรับทุกสถานการณ์
ทรู จัดการทดสอบ "LIVE-Cell Broadcast Service" ระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านโทรศัพท์มือถือ นายมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เราร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาระบบ Cell Broadcast Service หรือ CBS สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาระบบเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
และยุทธศาสตร์การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) เพื่อใช้ในการแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน โดยระบบนี้จะส่งข้อความเตือนภัยไปยังโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการทุกเครื่อง ทั้งคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย พร้อมกันทันทีและแม่นยำ
ด้วยจุดเด่นสำคัญของระบบ CBS ที่ได้รับการยอมรับและใช้งานในหลายประเทศทั่วโลก ได้แก่ สามารถส่งข้อความแจ้งเตือนภัยได้ในวงกว้างและรวดเร็ว รองรับ 5 ภาษา ทั้งไทย อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย ครอบคลุมผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือทุกเครือข่ายในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ โดยไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนล่วงหน้า
ส่งข้อความแจ้งเตือนภัยได้แม้โทรศัพท์มือถือไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และสามารถส่งข้อความแจ้งเตือนภัยได้ในรูปแบบข้อความ ตัวอักษร รูปภาพ และเสียง ทั้งยังมีสัญญาณเสียงและข้อความที่แสดงบนหน้าจอ รวมถึงรองรับ Text to Speech เทคโนโลยีช่วยเหลือที่อ่านออกเสียงข้อความ ทำให้มีประโยชน์ต่อการแจ้งเตือนแก่ผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็นอีกด้วย
ด้าน นายประเสริฐ จันทรรวงรอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี กล่าวว่า ระบบ Cell Broadcast จะมีรายละเอียดในเรื่อง ศูนย์บัญชาการกลางของภาครัฐ ผ่านระบบ Cell Broadcast Entities : CBE ที่เป็นระบบของหน่วยงานรัฐ ที่ต้องใช้งบประมาณในการพัฒนาระบบ ซึ่งเบื้องต้นจะใช้งบประมาณจำนวน 434 ล้านบาท โดยจะขอสนับสนุนจาก กองทุน USO 3 ของสำนักงาน กสทช. ซึ่งไม่รวมกลับระบบ Cell Broadcast Center : CBC ของผู้ให้บริการโครงข่าย (โอปอเรเตอร์) จำนวน 3 ราย อีกประมาณ 1,200 ล้านบาท รวมค่าบำรุงรักษา 3 ปี
ใน 1-2 ปีนี้ผมจะคุยกับทางมหาดไทยว่าให้ใครเป็นผู้รับผิดชอบในการเป็นผู้แจ้งเตือน และระบบที่ดำเนินการนั้นเดิม มหาดไทยใช้การเช่าเซิรฟ์เวอร์ แต่จะเปลี่ยนให้มาใช้คลาวด์ทั้งหมดตามนโยบาย Cloud First Policy
ทั้งนี้ ยอมรับว่า งบประมาณที่กระทรวงดีอี ได้ขอสนับสนุนในส่วนของ CBE จำนวน 434 ล้านบาทน่าจะซ้ำซ้อนกับทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ที่ได้งบราว 400 ล้านบาท ดังนั้น กระทรวงดีอีจะพิจารณาในส่วนต่างๆเพิ่มเติมอาจปรับลดเหลือ 200 ล้านบาท ส่วนในของโอเปอเรเตอร์ทั้ง 3 ราย เอไอเอส ทรู คอร์ปอเรชั่น และเอ็นที ได้ขอยื่นขอ เพื่อทำระบบ CBC จำนวน 1,031 ล้านบาท โดยให้หักเงินจากที่ต้องส่งรายปีให้กองทุน USO รวมงบประมาณทั้งโครงการ CBE และ CBC ประมาณ 1,465 ล้านบาท ดังนั้นกระทรวงดีอีต้องรีบเสนอ ครม. เพื่อให้โครงการนี้สามารถ เริ่มใช้งานได้ในต้นปี 2568
นพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ประธาน กสทช.) โดยจะเร่งดำเนินการได้รวดเร็วซึ่งทั้ง CBE และ CBC ผ่านการรับการสนับสนุนงบประมาณจากเงินบัญชี 3 (USO 3) กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ซึ่งขั้นตอนจากนี้จะต้องมีการนำเรื่องเข้าสู่การประชุม สำนักงาน กสทช. เพื่อขอความเห็นชอบใน 1 เดือนต่อจากนี้
ระบบ Cell Broadcast Service หรือ CBS ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการแจ้งเตือนภัยให้กับประชาชน โดยทรู คอร์ปอเรชั่นทดสอบระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน หรือ Cell Broadcast ในห้องทดสอบปฏิบัติการ (Lab test) เป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2567
ระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน หรือ Cell Broadcast สามารถตั้งระดับการเตือน 5 ระดับตามฟังก์ชั่นการใช้งานและร่วมมือกับภาครัฐ ประกอบด้วย
นอกจากนี้ ทรู คอร์ปอเรชั่นยังได้พัฒนาศูนย์ปฏิบัติการเครือข่ายอัจฉริยะ Business and Network Intelligence Center (BNIC) ที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการเมื่อเกิดภัยพิบัติ เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ในการสร้างสังคมที่ปลอดภัยและพร้อมรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง