svasdssvasds

ฉางเอ๋อ-6 กับภารกิจเก็บตัวอย่างจากด้านไกลของดวงจันทร์กลับสู่โลก

ฉางเอ๋อ-6 กับภารกิจเก็บตัวอย่างจากด้านไกลของดวงจันทร์กลับสู่โลก

ฉางเอ๋อ-6 กับภารกิจเก็บตัวอย่างจากด้านไกลของดวงจันทร์กลับสู่โลก...นี่คือ หมุดหมายสำคัญในประวัติศาสตร์การสำรวจดวงจันทร์ของมนุษย์

SHORT CUT

  • ยานฉางเอ๋อ 6 ของจีนกลับถึงพื้นโลก เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2024 
  • การกลับมาของฉางเอ๋อ มาพร้อมตัวอย่างจากด้านมืดหรือด้านไกลของดวงจันทร์ 
  • นับเป็นชิ้นแรกของโลกและอาจช่วยหาคำตอบเกี่ยวกับต้นกำเนิดระบบสุริยะได้ และนี่คือ หมุดหมายสำคัญในประวัติศาสตร์การสำรวจดวงจันทร์ของมนุษย์

ฉางเอ๋อ-6 กับภารกิจเก็บตัวอย่างจากด้านไกลของดวงจันทร์กลับสู่โลก...นี่คือ หมุดหมายสำคัญในประวัติศาสตร์การสำรวจดวงจันทร์ของมนุษย์

25 มิถุนายน 2024 ถือเป็นอีกหน้าประวัติศาสตร์ของการสำรวจอวกาศ เมื่อยานส่งกลับของภารกิจฉางเอ๋อ-6 ลงจอดอย่างปลอดภัยในเขตปกครองตนเองมองโกเลียทางตอนเหนือของจีน พร้อมด้วยตัวอย่างหินจากด้านไกลของดวงจันทร์ นับเป็นความสำเร็จครั้งแรกของโลก 

ย้อนกลับไปวันที่ 3 พฤษภาคม 2024 ภารกิจฉางเอ๋อ-6 ถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศ และผ่านขั้นตอนต่างๆ เช่น เปลี่ยนผ่านวงโคจรโลก-ดวงจันทร์ ชะลอตัวใกล้ดวงจันทร์ โคจรรอบดวงจันทร์ และแยกส่วนประกอบยานลงจอด-ยานพุ่งขึ้น และยานโคจร-ยานส่งกลับ นับเป็นหนึ่งในภารกิจอันซับซ้อนและท้าทายที่สุดในความพยายามสำรวจอวกาศของจีน 

หลังจากการเดินทางอันยาวนานและซับซ้อนผ่านไปเกือบ 1 เดือน ในวันที่ 2 มิถุนายน ยานฉางเอ๋อ-6 ลงจอดได้แตะพื้นผิวดวงจันทร์เป็นครั้งแรกบริเวณแอ่งขั้วใต้-เอตเคน ซึ่งอยู่บนด้านไกลของดวงจันทร์ที่เราไม่สามารถมองเห็นได้จากโลก และดำเนินงานเก็บรวบรวมตัวอย่าง หลังจากนั้นยานได้ทะยานขึ้นจากดวงจันทร์พร้อมตัวอย่างและเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์อีกครั้งในวันที่ 4 มิ.ย.

ฉางเอ๋อ-6 กับภารกิจเก็บตัวอย่างจากด้านไกลของดวงจันทร์กลับสู่โลก

การส่งมอบตัวอย่างระหว่างยานพุ่งขึ้นและเทียบท่ากับยานโคจร ก่อนจะขนย้ายตัวอย่างสู่ยานส่งกลับเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. ขณะยานพุ่งขึ้นแยกตัวออกจากส่วนประกอบดังกล่าวและลงจอดบนดวงจันทร์ภายใต้การควบคุมจากภาคพื้นโลกเพื่อหลีกเลี่ยงการกลายเป็นขยะอวกาศ

ยานส่งกลับใช้เวลาอีก 13 วันในวงโคจรรอบดวงจันทร์ เพื่อรอจังหวะที่เหมาะสมในการเดินทางกลับสู่โลก โดยยานส่งกลับแยกตัวจากยานโคจรและขนส่งตัวอย่างกลับสู่โลก หลังจากเสร็จสิ้นการเปลี่ยนผ่านวงโคจรดวงจันทร์-โลก 2 ครั้ง และปรับทิศทางการโคจร 1 ครั้ง


หยางเหว่ย นักวิจัยประจำสถาบันธรณีวิทยาและธรณีฟิสิกส์ สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน กล่าวว่าภารกิจฉางเอ๋อ-6 ถือเป็นหมุดหมายสำคัญในประวัติศาสตร์การสำรวจดวงจันทร์ของมนุษย์ และมีส่วนส่งเสริมการทำความเข้าใจวิวัฒนาการของดวงจันทร์อย่างครอบคลุมรอบด้านเพิ่มขึ้น

โดยปัจจุบัน จีนเป็นประเทศเดียวที่ส่งยานไปลงจอดยังด้านมืดของดวงจันทร์ หลังจากทำสำเร็จมาแล้วเมื่อ 2019

related