svasdssvasds

ที่คีบบอกความสุก : นวัตกรรมเพื่อความสุขในการกินหมูกระทะของคนตาบอด

ที่คีบบอกความสุก : นวัตกรรมเพื่อความสุขในการกินหมูกระทะของคนตาบอด

ชวนทำความรู้จัก “ที่คีบบอกความสุก” นวัตกรรม เพื่อความสุขในการกินของคนตาบอด โดยสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ มีการติดเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิอาหารแบบเข็มไว้กับที่คีบอาหาร มีระบบแจ้งเตือนไว้ให้เลือกทั้งเตือนแบบเสียง เพื่อบอกว่าชิ้นไหนสุกแล้ว

SHORT CUT

  • ชวนทำความรู้จัก  “ที่คีบบอกความสุก” นวัตกรรม เพื่อความสุขในการกินของคนตาบอด  
  • โดยสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ มี การติดเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิอาหารแบบเข็มไว้กับที่คีบอาหาร 
  • ที่คีบจะมีระบบแจ้งเตือนไว้ให้เลือกทั้งเตือนแบบเสียง เพื่อบอกว่าชิ้นไหนสุก พร้อมอร่อยได้ในทันที 
     

ชวนทำความรู้จัก “ที่คีบบอกความสุก” นวัตกรรม เพื่อความสุขในการกินของคนตาบอด โดยสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ มีการติดเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิอาหารแบบเข็มไว้กับที่คีบอาหาร มีระบบแจ้งเตือนไว้ให้เลือกทั้งเตือนแบบเสียง เพื่อบอกว่าชิ้นไหนสุกแล้ว

เคยตั้งคำถามกันไหมว่า ผู้พิการทางสายตา จะสามารถกินหมูกระทะได้ด้วยตัวเองหรือไม่ , แล้วอะไรที่ทำให้ผู้พิการทางสายทราบว่าหมูกระทะที่ ย่างไปนั้น สุกแล้ว

หลายๆ คนอาจจะไม่เคยคิดถึงว่า ผู้พิการทางสายตา นั้น มีปัญหาในการกินหมูกระทะ 

เชื่อหรือไม่ว่า “อยากกินหมูกระทะด้วยตัวเองสักครั้งในชีวิต” คือความฝันของคนพิการทางสายตา ที่เรื่องง่ายๆ อย่างการกินหมูกระทะกลับเป็นเรื่องที่ยากจะเข้าถึง 

นี่คือโจทย์ที่ทัชใจ นายกานต์รวีย์ แดงเพ็ง นางสาวปณาลี รติพัชรพงศ์ และนางสาวมิ่งขวัญ หล่อตระกูล เด็กมัธยมจากโรงเรียนดรุณสิกขาลัย ร่วมกันประดิษฐ์ “เครื่องวัดอุณหภูมิเนื้อสัตว์สำหรับคนพิการทางสายตา” เพื่อให้คนตาบอดได้ทำตามฝันที่ตั้งไว้  และนี่เป็น ส่วนหนึ่งในโครงการวมว. ที่โรงเรียนทำร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

นายกานต์รวีย์ แดงเพ็ง

นางสาวปณาลี รติพัชรพงศ์

นางสาวมิ่งขวัญ หล่อตระกูล

นายกานต์รวีย์ เปิดเผย ว่าโครงงานครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการวมว. ที่โรงเรียนทำร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

โดยโจทย์ที่สนใจเป็นเรื่องของคนพิการ โดยเฉพาะกลุ่มคนพิการทางสายตา ซึ่งจากข้อมูลประเทศไทยมีคนพิการทางสายตาสูงถึง 184,197 คน หรือคิดเป็น 7.99% จากคนพิการในประเทศไทยทั้งหมด 2,304,068 คน และจากการที่พวกเราได้พูดคุยและเก็บข้อมูลจากคนพิการทางสายตาเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้ง 24 คน

พบว่านอกจากปัญหาเรื่องการเดินทางไปยังสถานที่ที่ไม่คุ้นเคย การเลือกซื้อสิ่งของด้วยตนเองในร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ แล้ว  การทำอาหารกินเองหรือแม้แต่การไปกินในร้านปิ้งย่างที่เป็นเรื่องปกติของคนทั่วไป ก็เป็นสิ่งที่คนตาบอดอย่างเขาไม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง

“เขาไม่สามารถรู้ได้ว่าอาหารที่ทำหรือเนื้อที่ปิ้งอยู่สุกหรือไม่ ทำให้หลายครั้งต้องกินของไม่สุกหรือไหม้เกินไป หรือจำเป็นต้องมีคนคอยช่วยเหลือตลอดเวลา  เราจึงต้องการประดิษฐ์อุปกรณ์เพื่อวัดอุณหภูมิอาหารเพื่อคนพิการทางสายตาให้สามารถประกอบอาหารและรับประทานอาหารประเภทต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ พกพาง่าย ใช้งานสะดวก ทำความสะอาดไม่ยาก ที่สำคัญต้องสามารถแจ้งเตือนให้รู้เมื่ออาหารชิ้นนั้นสุก  ซึ่งจะช่วยให้เขาลดการพึ่งพาคนอื่นและขอความช่วยเหลือเท่าที่จำเป็น ตามหลัก Independent Living หรือการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ ซึ่งจะช่วยให้คนพิการทางสายตาเกิดความภาคภูมิใจในตัวเองด้วย”

ชวนทำความรู้จัก  “ที่คีบบอกความสุก” นวัตกรรม เพื่อความสุขในการกินของคนตาบอด

ดังนั้น สิ่งประดิษฐ์นี้ จึงถูกพัฒนาขึ้นมา จากโจทย์ที่ว่า จะว่าทำอย่างไรถึงจะทำให้คนตาบอดรู้ว่าอาหารนั้นสุกแล้ว และนั่นนำไปสู่ไอเดีย “การติดเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิอาหารแบบเข็มไว้กับที่คีบอาหาร”

 โดยจะมีการเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมให้สามารถแจ้งเตือนเมื่ออุณหภูมิของเนื้อชิ้นนั้นสูงถึงระดับที่ตั้งไว้   

ทั้งนี้ บริเวณปลายที่คีบจะมีแท่งโลหะที่เป็นตัววัดอุณหูมิ การใช้งานเพียงกดปลายที่คีบลงบนเนื้อชิ้น อุณหภูมิในเนื้อสัตว์ที่เซนเซอร์วัดได้ ก็จะถูกส่งเข้าโปรแกรมเพื่อส่งสัญญาณให้ผู้ใช้งานได้รู้หากเนื้อชิ้นนั้นสุก 

ระบบแจ้งเตือนไว้ให้เลือกทั้งเตือนแบบเสียง และเตือนแบบสั่น เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานทั้งภายในบ้านและนอกสถานที่ 

ทั้งนี้ “เครื่องวัดอุณหภูมิเนื้อสัตว์สำหรับคนพิการทางสายตา”  ได้รับรางวัลเหรียญเงินจากการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ โรงเรียน วมว.ทั่วประเทศ รวมถึงรางวัลบทความวิชาการดีเด่น ด้านการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อและส่งเสริมอาชีพให้คนพิการ จากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  จะได้รับการการสนับสนุนหรือต่อยอดไปสู่ผลิตจริงหรือไม่

ผศ.ดร.ธิติมา วงษ์ชีรี ที่ปรึกษาจากศูนย์วิจัยและบริการเพื่อชุมชนและสังคม สำนักวิจัยและบริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มจธ.  ในฐานะที่อาจารย์ที่ปรึกษา ให้ความเห็นว่า แม้ว่าสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้อาจจะยังไม่ได้รับการผลิตจริงออกสู่ท้องตลาดในตอนนี้ แต่ข้อค้นพบและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น สามารถต่อยอดไปสู่ผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิดที่จะช่วยสนับสนุนการใช้ชีวิตของคนตาบอดในประเทศไทยในอนาคต

ผศ.ดร.ธิติมา วงษ์ชีรี

อาจารย์จุฑารัตน์ สุ่นประเสริฐ ครูที่ปรึกษาในโรงเรียนดรุณสิกขาลัย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง