svasdssvasds

เปิดเทคโนโลยี ทำไมนาฬิกา ต้องดังเข้าไว้ ปลุกตัวเองแต่ห้องข้างๆตื่นด้วย?

เปิดเทคโนโลยี ทำไมนาฬิกา ต้องดังเข้าไว้ ปลุกตัวเองแต่ห้องข้างๆตื่นด้วย?

เคยสงสัยกันมั้ยว่าเทคโนโลยีของนาฬิกานั้น จุดเริ่มต้นมากจากอะไร? แล้วทำไมถึงต้องปลุกด้วยเสียงที่ดังมากๆ ปลุกจนบางที่รู้ได้เลยว่าบางคนที่ตั้งเองโดนปลุกก็ตื่น แต่คนไม่ได้ตั้งก็ตื่น ทั้งเทคโนโลยีของนาฬิกาและเสียงปลุกของตัวมันดีแล้วจริงๆหรือ?

SHORT CUT

  • จุดเริ่มต้นของ Smart Watch ในปี ค.ศ.1929 “Warren Morrison“ เริ่มประดิษฐ์นาฬิกาข้อมือแบบ ควอตซ์ (Quartz watches) หรือ นาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์ นาฬิกาประเภทนี้ เป็นระบบที่แม่นยำ  
  • และสตีฟ มันน์ ผู้ที่ ได้รับการขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งคอมพิวเตอร์ที่สวมใส่ไปได้ทุกที่ “ ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ในรูปแบบนาฬิกาคอมพิวเตอร์ (SmartWatch) เรียกว่า “นาฬิกาอัจฉริยะ” 
  • นอนหลับให้เพียงพอ เข้านอนตื่นนอนให้เป็นเวลา ปรับเสียงนาฬิกาปลุกไม่ให้ไม่ดังมาก เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดีในระยะยาว ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าสะดวกแบบไหน แต่ทั้งนี้้ทั้งนั้นก็อย่าไปปลุกให้ห้องข้างๆเขาตื่นด้วยนะ
     

เคยสงสัยกันมั้ยว่าเทคโนโลยีของนาฬิกานั้น จุดเริ่มต้นมากจากอะไร? แล้วทำไมถึงต้องปลุกด้วยเสียงที่ดังมากๆ ปลุกจนบางที่รู้ได้เลยว่าบางคนที่ตั้งเองโดนปลุกก็ตื่น แต่คนไม่ได้ตั้งก็ตื่น ทั้งเทคโนโลยีของนาฬิกาและเสียงปลุกของตัวมันดีแล้วจริงๆหรือ?

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป เทคโนโลยีก็เข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น หนึ่งในนั้นนั่นก็คือ "นาฬิกา" ที่เปลี่ยนไปแต่ละยุคสมัย แล้วจะมีใครสงสัยกันมั้ยว่าในสมัยก่อนนั้น นาฬิกาไม่ต้องมีผู้คนสมัยก่อนก็ยังสามารถตื่นกันเองได้ โดนการโดนปลุุกจากเสียงไก่ หรือความคุ้นชิน แต่พอถึงจุดหนึ่งผู้คนมากขึ้น การคิดค้นมากขึ้นก็ทำให้เทคโนโลยีของนาฬิกานั้นได้เริ่มต้นขึ้นมา ถ้าเล่าตั้งแต่สมัยก่อนหลายๆคนอาจจะเข้าใจจุดเริ่มต้นกันดีอยู่แล้ว แล้วพวก Smart Watch ที่แพงหูฉี่ในสมัยนี้ มันเริ่มจากอะไรกันล่ะ 

จุดเริ่มต้นของ Smart Watch

ในปี ค.ศ.1929 “Warren Morrison“ ได้เริ่มประดิษฐ์นาฬิกาข้อมือแบบ ควอตซ์ (Quartz watches) หรือ นาฬิกาอิเล็กทรอนิกส์ นาฬิกาประเภทนี้ เป็นระบบที่แม่นยำ และเที่ยงตรง ใช้การขับเคลื่อนด้วย แบตเตอรี่ หรือ ถ่านเพื่อช่วยในการทำงาน และ ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เป็นตัวหมุนเข็มนาฬิกาให้เดินบอกเวลา หรือแสดงเวลาผ่านระบบตัวเลขดิจิตอลบนหน้าปัดแบบ LCD หรือ LED ซึ่งจะใช้พลังงานไฟฟ้าบางส่วนส่งผ่านผลึกควอตซ์แล้วรับสัญญาณความถี่กลับออกมา ให้ไมโครเซสเซอร์ประเมินผลออกมาเป็นเวลา และควบคุมการเดินของเข็มอีกทอดหนึ่ง

และต่อมาในปี ค.ศ.1980 เป็นช่วงเวลาที่ ได้มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้กับระบบกลไก การผลิตนาฬิกาข้อมือ มีการประดิษฐ์นาฬิกาโดยใช้ชิป (Chip) เป็นส่วนประกอบเพิ่มเติมในกลไกของนาฬิกา ซึ่งนอกจากจะบอกเวลาแล้วยังสามารถเก็บข้อมูลที่จำเป็น และ ยังสามารถใช้เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ได้อีกด้วย หลังจากนั้นเทคโนโลยีในด้านการประดิษฐ์นาฬิกาจึงได้ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ
 

ในปี 1998 สตีฟ มันน์ (Steve Mann) ชาว Canadian ผู้ที่ได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งคอมพิวเตอร์ wearable computer ได้คิดค้นออกแบบและสร้างนาฬิกาข้อมือลินุกซ์เรือนแรกของโลก ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ในรูปแบบนาฬิกาคอมพิวเตอร์ (SmartWatch) หรือที่เรียกว่า “นาฬิกาอัจฉริยะ” นั่นเอง

สิ่งนี้สามารถตอบโจทย์คนยุคใหม่ได้อย่างแท้จริง เพื่อใช้สำหรับในการทำงาน  การบอกเวลา หรือใช้เป็นนาฬิกาปลุกได้ ฯลฯ และที่สำคัญยังสามารถเชื่อมต่อ การใช้งานบางฟังก์ชั่นในมือถือได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องหยิบมือถือขึ้นมากด นับเป็นนวัตกรรมการผลิตนาฬิกาข้อมือที่ได้รับความนิยมจากคนทั่วโลกเป็นอย่างมากมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งนาฬิกาแบบ Smart Watch นี้ สามารถรองรับระบบปฏิบัติการได้สองระบบคือ android และ IOS สามารถตอบโจทย์คนยุคใหม่ได้อย่างง่ายดาย 

ประโยชน์ของ Smart Watch

  • เชื่อมต่อใช้งานบางฟังก์ชั่นในมือถือได้เลย โดยไม่ต้องหยิบมือถือมากด
  • Smart Watchบางรุ่นช่วยในการคำนวณ Calories (แคลอรี) ได้
  • Smart Watchบางรุ่นสามารถช่วยในการดูแลสุขภาพได้ เช่น นับเวลาการนอน นับจำนวนก้าวในการวิ่งออกกำลังกาย คำนวณพลังงานที่ใช้ในแต่ละวันได้
  • ตั้งนาฬิกาปลุกได้
  • สามารถหาโทรศัพท์ได้ถ้าโทรศัพท์ที่เชื่อมต่อ อยู่ใกล้ในระยะที่เชื่อมต่อบลูทูธ
  • สามารถเป็นรีโมทในการสั่งการมือถือเพื่อกดถ่ายรูปได้
  • มีการออกแบบที่สวยงาม
     

ข้อเสียของ Smart Watch

  • ถ้ารุ่นที่มีคุณภาพ จะราคาสูงมาก
  • ถ้าใช้ที่ไม่ค่อยมีคุณภาพ จะเสียหายได้ง่าย

ทำไมนาฬิกาถึงต้องปลุกผู้คนด้วยเสียงที่ดังมากๆ?

ความเข้าใจเป็นอะไรที่ส่งต่อกันมาตั้งแต่รุ่นสู่รุ่น เพราะเข้าใจอย่างเดียวกันว่าเราจะตื่นเพราะเสียงที่ดังแต่เพียงเท่านั้น จากการศึกษา พบว่าโทนเสียงของนาฬิกาปลุกที่แตกต่างกัน ก็มีผลต่อร่างกายของเราเช่นกัน โดยนักวิจัยทดลองให้อาสาสมัครจำนวน 50 คน ตั้งนาฬิกาปลุกในโทนเสียงที่แตกต่างกันตามความชื่นชอบของแต่ละคน และพบว่าเสียงนาฬิกาปลุกที่มีความนุ่มนวล ไพเราะ ช่วยให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัว และลดอาการมึนงงได้ดี มากกว่ากว่าเสียงนาฬิกาปลุกแบบแหลมสูง แสบแก้วหู

โดยปกติแล้ว ร่างกายของเราจะผลิตสารเคมีที่เรียกว่า ฮอร์โมน (Hormone) จากต่อมไร้ท่อ เพื่อกระตุ้นกระบวนการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย สำหรับกลไกการนอนหลับถูกควบคุมโดยฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งผลิตออกมาในภาวะที่มีแสงน้อย หรือไม่มีแสง ทำให้เรารู้สึกง่วงนอน และในช่วงเช้าจะค่อยๆ ลดลงจนหมดไป และจะผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) แทน เพื่อช่วยให้เราตื่นนอน กระตุ้นให้ร่างกายเกิดการตื่นตัว และนำสารอาหารทั้งไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีนมาผลิตพลังงาน

ดร.โรเบิร์ด เอส โรเซ็นต์เบิร์ก (Dr. Robert S. Rosenberg) ผู้อำนวยการแพทย์ ศูนย์ความผิดปกติด้านการนอนหลับแห่งรัฐแอริโซนา (The Medical Director of the Sleep Disorders Center of Prescott Valley, Arizona.) ได้อธิบายในหนังสือที่ชื่อ Sleep Soundly Every Night, Feel Fantastic Every Day ว่าการตื่นนอนจากการหลับลึกในทันทีด้วยเสียงนาฬิกาปลุก ทำให้เกิดอาการมึนงงตลอดทั้งวัน ทั้งยังส่งผลทำให้ประสิทธิภาพของสมอง หรือความจำลดลงอีกด้วย

ผลการศึกษานี้ ไม่เพียงอธิบายผลของการตื่นอย่างทันทีทันใดจากเสียงนาฬิกาปลุกเท่านั้น แต่การตั้งนาฬิกาปลุกเป็นระยะ ๆ หรือการเลื่อนนาฬิกาปลุกเพื่อยืดเวลานอนหลับออกไปเพียงไม่กี่นาทีนั้น ก็จะทำให้รบกวนวงจรการนอนของร่างกาย ไม่ทำให้เราง่วงน้อยลง หรือตื่นนอนอย่างสดชื่นมากขึ้น แต่ยังส่งผลเสียต่ออารมณ์ ความรู้สึก และประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายอีกด้วย ดังนั้นเราจึงควรนอนหลับให้เพียงพอ เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา ปรับเสียงนาฬิกาปลุกไม่ให้ไม่ดังมาก และมีน้ำเสียงที่นุ่มนวล ก็จะเพื่อสุขภาพร่างกายที่ดีในระยะยาว

จากงานวิจัยของ McFarlane ก็ยังพบว่า ในแต่ละวันการที่ตั้งเสียงนาฬิกาปลุกดังๆ นั้นส่งผลให้รู้สึกงัวเงียและง่วงกว่าเดิม ต่างจากการตั้งเสียงนาฬิกาปลุกแบบดนตรีเบา ๆ และซอฟต์ ๆ ที่จะสามารถตื่นขึ้นมาแบบสดชื่นได้มากกว่า ฉะนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าสะดวกกับแบบไหน แต่ทั้งนี้้ทั้งนั้นก็อย่าไปปลุกให้ห้องข้างๆเขาตื่นด้วยนะ

ที่มา:nggtimepieces

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related