svasdssvasds

แสงออโรร่า แสงเหนือ คืออะไร? ปรากฏการณ์บนฟากฟ้าหลากสีสัน ทั้งชมพู และ เขียว

แสงออโรร่า แสงเหนือ คืออะไร? ปรากฏการณ์บนฟากฟ้าหลากสีสัน ทั้งชมพู และ เขียว

แสงออโรร่าหรือแสงเหนือ เรียกได้ว่าเป็นความมหัศจรรย์บนปากฟ้าเลยก็เป็นได้ เพราะมีความสวยงามตระการตามากๆ ทำให้มีทั้งผู้คนที่ตามล่าหาเหล่าแสงนี้ แต่จะมีใครรู้มั้ยว่า แสงออโรร่าหรือแสงเหนือนี้ คืออะไร?

SHORT CUT

  • แสงออโรร่า หรือ แสงเหนือ คือ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติในเวลากลางคืน มักจะขึ้นในบริเวณแถบขั้วโลก เกิดขึ้นที่ความสูงจากพื้นโลก (altitudes) ประมาณ 100 ถึง 300 กม.
  • จะปรากฏบริเวณรูปไข่ (Oval-shape region) รอบ ๆ ขั้วแม่เหล็กของโลก โดยรูปไข่จะเบ้ไปทางด้านกลางคืนของโลก เมื่อออโรราสงบ รูปไข่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3000 กม.
  • สีของแสงออโรร่า สีเขียวเข้ม เกิดที่ความสูง (Altitudes) ที่ 120 ถึง 180 กม. แสงสีแดงปรากฏที่ความสูงที่สูงกว่า ถ้าเกิดพายุสุริยะ แสงสีแดงจะมีความสูงตั้งแต่ 90 ถึง 100 กม.

แสงออโรร่าหรือแสงเหนือ เรียกได้ว่าเป็นความมหัศจรรย์บนปากฟ้าเลยก็เป็นได้ เพราะมีความสวยงามตระการตามากๆ ทำให้มีทั้งผู้คนที่ตามล่าหาเหล่าแสงนี้ แต่จะมีใครรู้มั้ยว่า แสงออโรร่าหรือแสงเหนือนี้ คืออะไร?

แสงออโรร่า หรือ แสงเหนือ 

แสงออโรร่า หรือ แสงเหนือ คือ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีแสงเรืองบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน โดยมักจะขึ้นในบริเวณแถบขั้วโลก โดยบางครั้งจะเรียกว่า แสงเหนือ หรือ แสงใต้ ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดปรากฏการออโรราเป็นตัวอย่างปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่น่าทึงที่สุดที่เกิดขึ้นในอวกาศที่ใกล้พื้นโลก มันอาจปรากฏจากสิ่งจางๆ เป็นวงนิ่ง แล้วระเบิดออกมาเป็นสีต่าง ๆ พุ่งกระจายภายในเวลาไม่กี่วินาที บางครั้งจะปรากฏเหมือนมันจะแตะกับพื้น หรือในเวลาอื่นอาจเห็นมันพุ่งสูงขึ้นสู่ท้องฟ้า แต่ความจริงแล้ว แสงออโรรานั้นเกิดขึ้นที่ความสูงจากพื้นโลก (altitudes) ประมาณ 100 ถึง 300 กิโลเมตร บริเวณที่อยู่บริเวณบรรยากาศชั้นบนที่อยู่ใกล้กับอวกาศ

ความหมายของชื่อออโรร่า

ออโรราตามประวัตินั้นมีชื่อมากมายหลายชื่อ ชื่อวิทยาศาสตร์ของปรากฏการณ์นี้ คือ ออโรรา บอเรลลีส (Aurora Borealis) ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า รุ่งอรุณสีแดงแห่งทิศเหนือ ซึ่งตั้งชื่อโดย กาลิเลโอ กาลิเลอิ (Galileo Galilei) (ค.ศ. 1564 – 1642) คำว่า "Aurora Borealis" แปลว่า "แสงเหนือ" (Northern Light) ส่วน "Aurora Australis" แปลว่า "แสงใต้" (Southern Light) และคำว่า "Aurora Polaris" แปลว่า "แสงขั้วโลก" ใช้เรียกทั้งแสงเหนือและแสงใต้

แสงออโรร่า แสงเหนือ คืออะไร? ปรากฏการณ์บนฟากฟ้าหลากสีสัน ทั้งชมพู และ เขียว
 

สถานที่ปรากฏแสงออโรร่า

บริเวณที่เกิดออโรร่าเป็นบริเวณรูปไข่ (Oval-shape region) รอบ ๆ ขั้วแม่เหล็กของโลก โดยรูปไข่จะเบ้ไปทางด้านกลางคืนของโลก เมื่อออโรร่าสงบ รูปไข่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3000 กิโลเมตร แต่เมื่อเกิดออโรร่ารุนแรงขึ้น รูปไข่จะกว้างขึ้นกว่า 4000 หรือ 5000 กิโลเมตร เนื่องจากขั้วแม่เหล็กเหนือของโลกอยู่ทางตอนเหนือของแคนาดา ออโรร่า โบเรลลีส (Aurora Borealis) จึงพบมากที่เส้นรุ้ง (Latitude) ที่มีประชากรอาศัยมากในซีกโลก (hemisphere) ตะวันตก ส่วนออโรร่าออลเตรลีส (Aurora Australis) สามารถมองเห็นได้จากเกาะทัชมาเนีย (Tasmania) และทางตอนใต้ของนิวซีแลนด์

แสงออโรร่า แสงเหนือ คืออะไร? ปรากฏการณ์บนฟากฟ้าหลากสีสัน ทั้งชมพู และ เขียว

สีของแสงออโรร่า

ดวงอาทิตย์ปล่อยแสงทุกสีที่มองเห็นได้ออกมาก ทำให้เราเห็นแสงอาทิตย์เป็นสีขาว ส่วนสเปกตรัมของออโรร่า ก่อนจะศึกษารายละเอียด เราต้องรู้เรื่อง สาเหตุการเกิดแสงก่อน ในบรรยากาศประกอบด้วยไนโตรเจน และ ออกซิเจน เป็นหลัก อนุภาคของแก๊สเหล่านี้จะปลดปล่อยโฟตอนซึ่งมีความยาวคลื่นคงที่ เมื่ออนุภาคมีประจุไฟฟ้า กระตุ้นแก๊สในบรรยากาศ อิเล็กตรอนจะเริ่มเคลื่อนที่รูปนิวเคลียสในวงโคจรที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะมีพลังงานเหลือเฟือ อนุภาคที่ถูกกระตุ้นจะไม่เสถียรและจะปลดปล่อย พลังงานออกมาในรูปของแสง เรียกว่าแสงนี้ว่า ออโรร่า

  • แสงสีเขียวเข้ม เกิดที่ความสูง (Altitudes) ที่ 120 ถึง 180 กิโลเมตร 
  • แสงสีแดงปรากฏที่ความสูงที่สูงกว่า 
  • สีฟ้า และม่วงปรากฏที่ความสูงต่ำกว่า 120 กิโลเมตร 
  • ถ้าเกิดพายุสุริยะ แสงสีแดงจะปรากฏที่ความสูงตั้งแต่ 90 ถึง 100 กิโลเมตร

 

แสงออโรร่า แสงเหนือ คืออะไร? ปรากฏการณ์บนฟากฟ้าหลากสีสัน ทั้งชมพู และ เขียว

เมื่อแสงออโรร่าจางลง มันจะปรากฏเป็นสีขาวเมื่อมองด้วยตาเปล่า เมื่อมันสว่างขึ้น สีจึงมองเห็นขึ้นมา และสีเขียวซีดที่เป็นเอกลักษณ์ของมันจะมองเห็นขึ้นมา เมื่อมีความหนาแน่นมากขึ้น ในบริเวณที่ต่ำลงมาจะมองเห็นเป็นสีเขียวสด และ สีแดงจางๆ จะมองเห็นที่ความสูงมากๆ เหนือชั้นบรรยากาศขึ้นไป 100 กิโลเมตร ประกอบด้วยโมเลกุลไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่ง ไนโตเจนจะมีมากที่ความสูง 10 กิโลเมตร และออกซิเจน มีมากที่ 200 กิโลเมตร เส้นกราฟสีเขียวแสดงความหนาแน่นของแก๊สออกซิเจนและสีม่วงแสดงความหนาแน่นของก๊าซไนโตรเจน ณ ความสูงต่าง ๆ ในชั้นบรรยากาศเทอโมสเฟียร์ เมื่ออะตอมออกซิเจนถูกกระตุ้น มันจะปล่อยแสงมากมายหลายสีออกมาก แต่สีที่ที่ส ว่างที่สุดคือที่แดงและสีเขียว

และสุดท้ายต้องบอกว่าไทยเราจะไม่มีทางได้เห็นอย่างแน่นอน สำหรับใครที่กำลังตั้งถาม เพราะ ประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร ถือเป็นจุดที่หนาที่สุดของเกราะแม่เหล็กโลก ดังนั้นหากแสงเหนือปรากฏขึ้นบนฟ้าเมืองไทยเมื่อใด นั่นหมายถึงหายนะครั้งใหญ่ที่อาจมาจากการที่โลกเราสูญเสียสนามแม่เหล็กที่คอยปกป้องเราไปแล้วนั่นเอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related