svasdssvasds

ไวรัสสอดแนมผ่านโฆษณาบนเว็บ ภัยเงียบที่เราไม่รู้ตัว แถมขายให้รัฐบาลด้วย

ไวรัสสอดแนมผ่านโฆษณาบนเว็บ ภัยเงียบที่เราไม่รู้ตัว แถมขายให้รัฐบาลด้วย

ไวรัสสอดแนมผ่านโฆษณาบนเว็บ ภัยเงียบที่เราไม่รู้ตัว แถมขายให้รัฐบาล(ประเทศอื่น) สอดแนมประชาชนด้วย เราควรทำอย่างไร ? และต้องระวังยังไง ?

SHORT CUT

  • สตาร์ตอัพ พัฒนา ไวรัสสอดแนมด้วยโฆษณาบนเว็บ ที่สามารถล้วงข้อมูลได้เสร็จสรรพสำเร็จ
  • รายงานระบุว่ามีการนำเสนอให้กับรัฐบาลและลูกค้ารายอื่น ๆ ด้วย
  • ผู้ใช้ที่ต้งอระวังเป็นพิเศษคือนักเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่เขาเว็บเถื่อนเช่น เว็บหนังผิดลิขสิทธิ์ และ เนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ ส่วนคนธรรมดาก็ใช่ว่าจะรอด เพราะยังมีไวรัสดูดเงินในเว็บเดียวกัน รอแฮกอยู่แทน

ไวรัสสอดแนมผ่านโฆษณาบนเว็บ ภัยเงียบที่เราไม่รู้ตัว แถมขายให้รัฐบาล(ประเทศอื่น) สอดแนมประชาชนด้วย เราควรทำอย่างไร ? และต้องระวังยังไง ?

Techcrunch เว็บไซต์ข่าวด้านเทคโนโลยี รายงานว่า Spyware หรือไวรัสสอดแนมที่ถูกออกแบบมาเพื่อบันทึกพฤติกรรมต่าง ๆ ของเราบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถถูกฝังผ่านโฆษณาแบบ Banner บนเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้ โดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัว

โฆษณาบนเว็บไม่ได้อันตรายทุกเว็บ เฉพาะเว็บเทา ๆ ที่ต้องห่วง

ปฎิเสธไม่ได้ว่า เจ้าของเว็บส่วนใหญ่ในปัจจุบันได้รายได้จากโฆษณาบนเว็บของตนเอง โดยเฉพาะ Banner แต่ส่วนใหญ่แล้วเฟซบุ๊ก แพลตฟอร์ม X ยูทูป เว็บข่าวและเว็บทางการส่วนใหญ่เราสามารถวางใจได้เพราะมีกฎหมายกำกับไว้ชัดเจน

แต่เว็บเทา ๆ อย่างเว็บพนัน เว็บหนังผู้ใหญ่ เว็บหนังเถื่อนและอื่น ๆ อาจไม่ใช่อย่างนั้น พวกเขาพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลของคนที่อาจเข้าไปแสวงหาความสุขเพียงชั่วคราวกับเงินของคนร้ายที่จะมาแฮกข้อมูลคุณ

วิธีการทำงานของไวรัสสอดแนมผ่านโฆษณาบนเว็บ

ไวรัสสอดแนมผ่านโฆษณาบนเว็บเป็นอันตรายที่เราไม่รู้ตัว มันทำงานโดยการแทรกโค้ดที่เป็นอันตรายลงในโฆษณาที่แสดงผ่านเว็บไซต์บนคอมพิวเตอร์และมือถือ โดยมันจะหลอกให้เหยื่อกดเข้าไปในโฆษณา หรือพยายามมีปฎิสัมพันธ์กับเหยื่อไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง

คนซื้อส่วนหนึ่งเป็นรัฐบาล (ประเทศอื่น)

ไวรัสสอดแนมของรัฐบาล ฟังดูแล้วอาจเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อเกินจริง แต่เราเห็นได้จากข้อเท็จจริงที่ว่า ไวรัสล้วงข้อมูลโดยที่เราไม่ต้องกดอะไรเลยอย่าง Pegasus ที่ขายให้กับรัฐบาลประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะ ก็มีการซื้อสิทธิ์ในการใช้งานจริงจากรัฐบาลหลากหลายประเทศ รวมถึงรัฐบาลไทยก่อนหน้านี้ด้วย

ดังนั้นการซื้อไวรัสสอดแนมของรัฐบาลมาฝังไว้กับโฆษณาบนเว็บเทา ๆ จึงไม่ใช้เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน โดยเฉพาะนักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เป็นศัตรูกับรัฐบาลโดยตรงอาจตกเป็นเป้าหมายที่รัฐบาลรอให้หลงกลได้

ในรายงานระบุว่า ผู้พัฒนาไวรัสสอดแนม สามารถระบุว่าเป้าหมายที่รัฐบาลอยากสอดแนมโดยเฉพาะได้อย่างแนบเนียนด้วยโฆษณาบนเว็บ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือบริษัทสตาร์ทอัพในยุโรปชื่อ Intellexa ที่พัฒัฒนาไวรัสสอดแนม ชื่อ Predator spyware ซึ่งสามารถเข้าถึงและดูดข้อมูลของเป้าหมายได้แบบเสร็จสรรพ

ตามเอกสารที่เห็นโดยสำนักข่าว Haaretz ของอิสราเอล ระบุว่า  Intellexa นำเสนอไวรัสสอดแนมด้วยโฆษณาบนเว็บ และพิสูจน์แนวคิดในปี 2022 โดยเรียกโครงการนี้ว่า Aladdin ซึ่งช่วยให้สามารถฝังสปายแวร์โทรศัพท์ผ่านโฆษณาออนไลน์ได้

เอกสารดังกล่าวกล่าวถึงการสาธิตระบบ Aladdin พร้อมคำอธิบายทางเทคนิคว่าสปายแวร์แพร่ระบาดไปยังเป้าหมายได้อย่างไร และตัวอย่างโฆษณาที่เป็นอันตรายด้วย อย่างไรก็ตามยังไม่ชัดเจนว่า Aladdin ได้รับการพัฒนาอย่างสมบูรณ์แล้ว หรือขายให้กับลูกค้าภาครัฐหรือไม่

แต่บริษัทเอกชนอีกแห่งหนึ่งของอิสราเอลชื่อ Insanet ประสบความสำเร็จในการพัฒนาไวรัสสอดแนมด้วยโฆษณาบนเว็บที่สามารถระบุตำแหน่งบุคคลภายในเครือข่ายโฆษณาได้ ซึ่งสำนักข่าว Haaretz เปิดเผยไปเมื่อปีที่แล้ว

วิธีป้องกันเบื้องต้น

วิธีป้องกันไวรัสสอดแนมด้วยโฆษณาบนเว็บ ทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่ลง Adblock ตัวบล็อกโฆษณา แต่วิธีนี้ก็จะไม่ดีกับเว็บดี ๆ ที่ต้องการสร้างรายได้ผ่านโฆษณาและไม่ได้มีส่วนรู้เห็นในการใช้ไวรัสสอดแนมของรัฐบาล ซึ่งเราสามารถปิดเฉพาะบางเว็บได้เช่นกัน

ไวรัสสอดแนมผ่านโฆษณาบนเว็บ ภัยเงียบที่เราไม่รู้ตัว แถมขายให้รัฐบาลด้วย

แม้ในทางปฎิบัติตัวบล็อกโฆษณา Adblock แค่ปิดกั้นไม่ให้เราเห็นโฆษณา แต่อย่างน้อยก็ทำให้เราลดความเสียงจากไวรัสที่อาจมากับโฆษณาด้วยเช่นกัน

สุดท้ายหากอ่านบทความมาถึงตรงนี้อย่าเพิ่งตื่นตระหนกแล้วแชร์ไปหาเพื่อน ๆ พร้อมกับตำหนิรัฐบาล แต่เราควรเริ่มจากการเรียนรู้หลักการทำงานของไวรัสเหล่านี้ก่อน แล้วจึงหันไประมัดระวังตัว งดการเข้าเว็บเทา ๆ เพราะในนั้นไม่ได้มีแค่ไวรัสสอดแนมขอรัฐบาล แต่ยังมีไว้รัสดูดเงินของมิจฉาชีพด้วย เช่นกัน

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

related