svasdssvasds

อีก 5 ปี นายจ้าง 92% เตรียมใช้ AI "แก้ปัญหาธุรกิจ"

อีก 5 ปี นายจ้าง 92% เตรียมใช้ AI "แก้ปัญหาธุรกิจ"

เมื่อเทคโนโลยี "ปัญญาประดิษฐ์" หรือ "เอไอ" ถูกนำมาใช้อย่างเต็มศักยภาพ บุคลากรไทยที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญด้านเอไอมีโอกาสเห็นการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างมากกว่า 41%

SHORT CUT

  • บริษัทในเครืออะเมซอน เริ่มศึกษาแนวโน้มการใช้งานเอไอที่กำลังเกิดขึ้นรวมไปถึงทักษะที่เป็นที่ต้องการในองค์กรต่างๆ 
  • "AI" จะถูกนำมาใช้อย่างมีศักยภาพ พนักงงานหรือบุคคลากร ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเอไอมีโอกาสเห็นการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างมากกว่า 41%
  • ภาครัฐต้องให้ความสำคัญและเร่งพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ พร้อมรับมือกับความก้าวหน้าของเอไอทั้งในปัจจุบันและอนาคต

เมื่อเทคโนโลยี "ปัญญาประดิษฐ์" หรือ "เอไอ" ถูกนำมาใช้อย่างเต็มศักยภาพ บุคลากรไทยที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญด้านเอไอมีโอกาสเห็นการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างมากกว่า 41%

บริษัทในเครืออะเมซอน (เอดับบลิวเอส) ร่วมกับ "Access Partnership" ได้ริเริ่มศึกษาแนวโน้มการใช้งานเอไอที่กำลังเกิดขึ้นรวมไปถึงทักษะที่เป็นที่ต้องการในองค์กรต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมพนักงานกว่า 1,600 คนและนายกว่า 500 รายในประเทศไทยได้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า

เงินเดือนจะเพิ่มขึ้นกว่า 41%

"AI" หรือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เข้ามามีบทบาทในชีวิตเราเป็นอย่างมาก และกำลังจะถูกนำมาใช้อย่างมีศักยภาพ พนักงงานหรือบุคคลากรคนไหน ที่มีความเชี่ยวชาญด้านเอไอมีโอกาสเห็นการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างมากกว่า 41% โดยสองหมวดที่มีโอกาสเพิ่มรายได้สูงที่สุดคือพนักงานด้านไอที (54%) และด้านการดำเนินธุรกิจ (51%)

นอกจากโอกาสในการเพิ่มค่าจ้าง บุคลากรในประเทศไทย 98% คาดว่าการเพิ่มทักษะด้านเอไอจะส่งผลให้พวกเขามีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน การเพิ่มความมั่นคงในอาชีพ และส่งเสริมความใฝ่รู้ให้แก่พวกเขา

ทักษะ AI ใช้ทุก Gen

ข้อมูลระบุว่า บุคลากรในประเทศไทย 95% ครอบคลุมทุกกลุ่มอายุ ระบุถึงความสนใจในการพัฒนาทักษะเอไอ เพื่อโอกาสในการก้าวหน้าในสายงานอาชีพ

โดยมีบุคลากร 93% ในกลุ่มGenZ, 95% ในกลุ่มGenY และอีก 95% ในกลุ่มGenX ที่ต้องการเรียนรู้ทักษะด้านเอไอ ขณะเดียวกัน 97% ในกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่มักอยู่ในช่วงเกษียณอายุแล้วก็ให้ความสนใจที่จะลงทะเบียนในหลักสูตรเพื่อยกระดับทักษะด้านด้านเอไอหากได้รับโอกาสด้วยเช่นกัน

ผลการศึกษาพบด้วยว่า บุคลากรไทยที่มีความพร้อมด้านทักษะเอไอนั้นอาจมีมากอย่างมหาศาล โดยกลุ่มนายจ้างคาดหวังว่าประสิทธิภาพขององค์กรจะเพิ่มขึ้นจากการที่มีทักษะการใช้AIได้ถึง 58%

และเทคโนโลยีเอไอสามารถพัฒนาการสื่อสารได้ถึง 66% ปรับงานซ้ำซ้อนให้เป็นระบบอัตโนมัติได้ 65% และส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ได้ถึง 60% นอกจากนี้ ในทิศทางเดียวกันตัวบุคลากรเองเชื่อว่าเอไอสามารถยกระดับประสิทธิผลในการทำงานของพวกเขาได้มากถึง 56%

บริษัทเตรียมขับเคลื่อนด้วยAIภายในปี 2571

AWS เผยว่า พัฒนาการของเอไอในประเทศไทยนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว 98% ของนายจ้างมองว่า บริษัทของตนจะปรับเปลี่ยนสู่การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยเอไอภายในปี 2571

ขณะที่นายจ้างส่วนใหญ่ (97%) เชื่อว่าแผนกไอทีจะได้รับประโยชน์มากที่สุด ส่วนแผนกอื่นๆ นั้นสามารถใช้ประโยชน์จาก เอไอได้ด้วยเช่นกัน รวมไปถึงฝ่ายวิจัยและพัฒนา (95%) ฝ่ายการเงิน (95%) ฝ่ายการดำเนินธุรกิจ (94%) ฝ่ายขายและการตลาด (93%) ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (91%) และฝ่ายกฎหมาย (90%)

วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ ผู้จัดการ บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดมุมมองว่า Generative AI มอบโอกาสพลิกโฉมธุรกิจในประเทศไทยแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน

ผลการศึกษาในครั้งนี้ตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญในอนาคตด้านทักษะเอไอสำหรับพนักงานอย่างชัดเจน ประเมินขณะนี้อุตสาหกรรมต่างๆ ได้เริ่มปรับตัวเพื่อใช้เอไอ ตั้งแต่บริการทางการเงินไปจนถึงการก่อสร้าง การค้าปลีก หรือแม้แต่ภาครัฐที่มุ่งเน้นพัฒนานโยบายด้านการส่งเสริมเอไอ

ปัจจุบัน 98% ของนายจ้างและลูกจ้างในผลสำรวจคาดว่า จะมีการนำเครื่องมือด้าน Generative AI มาใช้ในที่ทำงานภายในห้าปีข้างหน้า โดยมีนายจ้างจำนวน 74% มองว่าการ “เพิ่มนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์” จะเป็นประโยชน์อันดับแรกที่องค์กรจะได้รับ ตามด้วยการปรับงานซ้ำซ้อนให้เป็นระบบอัตโนมัติอีก 66% และการสนับสนุนการเรียนรู้อีก 62%


 

บุคลากรไทยขาดทักษะด้าน AI

ผลการศึกษานี้ยังเปิดเผยให้เห็นถึงปัญหาขาดแคลนทักษะด้านเอไอในบุคลากรไทยที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพื่อปลดล็อกศักยภาพและประโยชน์ของเอไอได้อย่างเต็มรูปแบบ

พบว่า การจ้างบุคลากรที่มีความพร้อมในทักษะเอไอถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ในกลุ่มนายจ้างไทยเก้าในสิบราย (94%) โดย 64% ระบุว่าไม่สามารถหาบุคลากรที่มีทักษะเอไอตามที่พวกเขาต้องการได้

นอกจากนี้ เห็นถึงช่องว่างด้านการฝึกอบรม โดย 89% ของนายจ้างระบุว่าพวกเขาไม่รู้วิธีการดำเนินโครงการฝึกอบรมบุคลากรด้านเอไอและพนักงานอีก 81% กล่าวว่า พวกเขาไม่แน่ใจว่าทักษะด้านเอไอจะเป็นประโยชน์แก่สายอาชีพใดได้บ้าง

ดังนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรอุตสาหกรรมต่างๆ รวมไปถึงผู้ให้บริการทางการศึกษา เพื่อช่วยให้นายจ้างไทยสามารถดำเนินโครงการฝึกอบรมเอไอ พร้อมแนะแนวทางให้แก่พนักงานของตนได้

"การนำเทคโนโลยีที่พึ่งพาระบบคลาวด์ในการใช้งานเช่นเอไอมาใช้มีความจำเป็นที่จะต้องฝึกอบรมเพื่อยกระดับทักษะบุคลากรในวงกว้าง เพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมและเติบโตได้ในอนาคตแห่งยุคเอไอ"

คลื่นยุคใหม่แห่งเอไอกำลังขยายตัว

อภินิต คาอุล ผู้อำนวยการ Access Partnership ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าสังคมโดยรวมจะได้รับผลประโยชน์จากประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่รายได้ที่เพิ่มขึ้นสำหรับบุคลากรในไทยที่มีทักษะ

ด้วยจำนวนองค์กรที่คาดว่าจะใช้โซลูชันและเครื่องมือเอไอเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บวกกับการพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเอไออย่างต่อเนื่อง ยิ่งทำให้นายจ้างและภาครัฐต้องให้ความสำคัญและเร่งพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ พร้อมรับมือกับความก้าวหน้าของเอไอทั้งในปัจจุบันและอนาคต

related