SHORT CUT
กลุ่มนักวิจัยของ จีน ได้สร้างความก้าวหน้าในการปรับปรุงการคาดการณ์ หยาดน้ำฟ้า โดยใช้แนวทางล้ำสมัยที่ผสมผสาน ฟิสิกส์ และ ปัญญาประดิษฐ์ (หรือ AI )
เรื่องของ AI เป็นเรื่องที่ทุกคนกำลังให้ความสนใจ ณ ปี 2024 เพราะนี่จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ ชีวิตคนง่ายขึ้น และอีกหนึ่งสิ่งของการมี AI ก็ทำให้เราสามารถพยากรณ์สิ่งต่างๆได้ ใกล้เคียงความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นได้มากขึ้น
และล่าสุด กลุ่มนักวิจัยของ จีน ได้สร้างความก้าวหน้าในการปรับปรุงการคาดการณ์ หยาดน้ำฟ้า (โดยคำว่า หยาดน้ำฟ้า นั้น ถือว่ามาจาก Precipitation : เป็นชื่อเรียกการรวมของหยดน้ำและน้ำแข็ง ซึ่งเกิดจากการควบแน่นของไอน้ำก่อนตกลงมาสู่พื้น เช่น ฝน ลูกเห็บ หิมะ) โดยใช้แนวทางล้ำสมัยที่ผสมผสาน ฟิสิกส์ และ ปัญญาประดิษฐ์ (หรือ AI )
โดย หากจะอธิบายเรื่องคำว่า หยาดน้ำฟ้า ให้ได้ใจความเพิ่มนั้น หยาดน้ำฟ้า (Precipitation) เป็นชื่อเรียกรวมของหยดน้ำและน้ำแข็ง ที่เกิดจาการควบแน่นของไอน้ำแล้วตกลงมาสู่พื้น เช่น ฝน ลูกเห็บ หิมะ เป็นต้น หยาดน้ำฟ้าแตกต่างจากจากหยดน้ำหรือละอองน้ำในก้อนเมฆ (Cloud droplets) ตรงที่หยาดน้ำต้องมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากพอที่จะชนะแรงต้านอากาศ และตกสู่พื้นโลกได้โดยไม่ระเหยเป็นไอน้ำเสียก่อน
ฉะนั้นกระบวนการเกิดหยาดน้ำฟ้าจึงมีความสลับซับซ้อนมากกว่ากระบวนการควบแน่นที่ทำให้เกิดเมฆ โดยหยาดน้ำฟ้าที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ได้แก่
โดย การศึกษาการปรับปรุงการ คาดการณ์ หยาดน้ำฟ้า นั้น ได้ เผยแพร่ในวารสารจีโอฟิสิคัล รีเสิร์ช เลตเทอร์ส (Geophysical Research Letters) จัดทำโดยทีมวิจัยที่นำโดยสถาบันฟิสิกส์บรรยากาศ สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน
การศึกษาระบุว่ าในยุคของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI แบบจำลองอุตุนิยมวิทยาและสภาพภูมิอากาศที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลล้วนกำลังค่อย ๆ ไล่ตามและแซงหน้าแบบจำลองเชิงตัวเลขแบบดั้งเดิม
แต่ในทางกลับกัน ความท้าทายที่สำคัญยังคงมีอยู่ในแบบจำลองการเรียนรู้เชิงลึกในปัจจุบัน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อความสามารถการคาดการณ์สภาพอากาศและปรากฏการณ์ทางภูมิอากาศที่ซับซ้อน อาทิ หยาดน้ำฟ้า โดยทางกลุ่มนักวิจัยจึงได้เสนอแนวทางใหม่ในการจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ที่เกี่ยวข้องกับการผสมผสานฟิสิกส์ พลวัตบรรยากาศ และแบบจำลองการเรียนรู้เชิงลึก
ทีมวิจัยใช้ประโยชน์ จากเอิร์ธแล็บ (EarthLab) แบบจำลองระบบโลกเชิงตัวเลขวิทยาศาสตร์ใหม่ที่พัฒนาโดยสถาบันฯ ซึ่งอาศัยข้อมูลและพลังการประมวลผลเพื่อยกระดับทักษะการคาดการณ์หยาดน้ำฟ้า ของแบบจำลองเชิงตัวเลขนี้
โดยมุ่งไปที่การเชื่อมโยงตัวแปรทางฟิสิกส์ผ่านโครงข่ายประสาทเทียมแบบกราฟ เพื่อระบุข้อจำกัดทางกายภาพ และปรับปรุงความแม่นยำของการคาดการณ์ “หยาดน้ำฟ้า”
ทั้งนี้ หวงกัง ผู้ร่วมเขียนบทความวิจัย กล่าวว่าในยุคของปัญญาประดิษฐ์ การบูรณาการฟิสิกส์ถือเป็นความท้าทายสำคัญที่มาพร้อมแนวทางและมุมมองที่หลากหลาย โดยทีมวิจัยได้ทดลองใช้เงื่อนไขที่ยืดหยุ่นได้กับแบบจำลองจากมุมมองการเชื่อมโยงทางฟิสิกส์ โดยคำนึงถึงพลวัตของบรรยากาศและภูมิอากาศ
ที่มา xinhuathai
ข่าวที่เกี่ยวข้อง