svasdssvasds

ภาพวาด AI ทำยังไงให้มีลิขสิทธิ์ ? หลังดราม่าแอป Loopsie ขโมยรูปไปใช้โดยไม่ขอ

ภาพวาด AI ทำยังไงให้มีลิขสิทธิ์ ? หลังดราม่าแอป Loopsie ขโมยรูปไปใช้โดยไม่ขอ

ชวนหาคำตอบภาพวาด AI ทำอย่างไรให้มีลิขสิทธิ์ หลังดราม่าแอปแต่งรูป Loopsie ขโมยรูปไปให้ AI เรียนรู้โดยไม่ขออนุญาตแต่เก็บเงินค่าใช้ ขณะที่ก่อนหน้านี้ สำนักงานลิขสิทธิ์ สหรัฐฯ ออกมาบอกว่า AI วาดรูป จดลิขสิทธิ์ไม่ได้

ภาพวาด AI หรือรูปที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ที่เรียนรู้จากแหล่งต่าง ๆ มาประกอบเป็นภาพใหม่ โดยปัญหาที่เกิดขึ้นและเป็นข้อถกเถียงในปัจจุบันคือ ภาพวาด AI มีลิขสิทธิ์หรือไม่ ?

ปัญหาของภาพวาด AI คือ แหล่งที่มาของภาพที่มันเรียนรู้ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ถูกลิขสิทธิ์หรือไม่ ? เพราะ AI จะเรียนรู้จากรูปตัวอย่างที่ผู้พัฒนาหามาซึ่ง เคยมีกรณีอย่างเว็บสร้างภาพ AI รายหนึ่ง นำรูปของ Getty Image ไปเรียนรู้ ซึ่งสาเหตุที่เว็บนั้นถูกจับได้เพราะ AI ดันไปเรียนรู้ลายน้ำของเว็บมาด้วยนั่นเอง

ภาพวาด AI ทำยังไงให้มีลิขสิทธิ์ ? หลังดราม่าแอป Loopsie ขโมยรูปไปใช้โดยไม่ขอ

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

คลิปข่าวที่เกี่ยวข้อง

เดือนมีนาคม ที่ผ่านมา สำนักงานลิขสิทธิ์ของสหรัฐฯ หรือ USCO ได้ออกมากล่าวว่า รูปภาพใด ๆ ที่สร้างขึ้นด้วยการส่งข้อความ (Prompt) ไปยังเครื่องมือเอไอต่าง ๆ เช่น Midjourney หรือ Stable Diffusion จะไม่สามารถจดลิขสิทธิ์ภายในสหรัฐฯได้

ทาง USCO มองว่าผลงานภาพที่ถูกสร้างโดยเอไอ เป็นผลงานที่ถูกผลิตซ้ำในทางกลไกหรือ Mechanical Reproduction เพราะเอไอได้ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่แล้วจากระบบนิเวศลายเส้นมาประมวลผลให้เกิดขึ้นเป็นรูปใหม่ หรือบางกรณีก็มีความใกล้เคียงกับรูปเดิมของศิลปินที่เป็นมนุษย์ ทำให้เกิดปัญหาคัดลอกผลงานที่ตามมา

ขณะที่ภาพที่มนุษย์วาดหรือสร้างขึ้น ต้องใช้ทักษะที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ของมนุษย์ เช่น การนำภาพถูกลิขสิทธิ์มาตัดต่อเป็นรูปใหม่ เป็นต้น

ภาพวาด AI ทำยังไงให้มีลิขสิทธิ์ ? 

สำหรับวิธีการที่ทำให้ ภาพวาด AI มีลิขสิทธิ์ คือ การใช้ AI วาดรูป ที่ถูกลิขสิทธิ์และอนุญาตให้สร้างรายได้ได้ เช่น Adobe Firefly, Shutterstock AI, Getty Image AI และต้องให้มนุษย์เข้าไปอยู่ในกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน เช่น นำภาพที่ AI สร้าง มาดัดแปลงแก้ไขให้สวยงาม หรือ รวมเป็นหนังสือการ์ตูนแล้วสร้างเนื้อเรื่องโดยให้มนุษย์เป็นผู้จัดวางและเรียนหน้ากระดาษ

ซึ่งในกรณีของ Loopsie แอปแต่งภาพการ์ตูนญี่ปุ่น ซึ่งภาพจาก Loopsie จะนำภาพต้นฉบับของผู้ใช้ไปแปลงเป็นภาพการ์ตูนด้วย AI แต่ Loopsie ได้ใช้ Stable diffusion ซึ่งเป็นโมเดล AI ที่เทรนจากฐานข้อมูล LAION เต็มไปด้วยรูปลิขสิทธิ์ที่ได้มาโดยไม่ได้รับการยินยอม จึงเข้าข่ายผิดลิขสิทธิ์

สำหรับประเทศไทยยังไม่มีรายงานการฟ้องร้องเรื่องลิขสิทธิ์ สำหรับภาพวาด AI

ตัวอย่างกรณีศึกษาของของศิลปินชื่อ Kris Kashtanova เปิดเผยผ่านบัญชีอินสตราแกรมส่วนตัวว่า ผลงานหนังสือนิยายประกอบภาพที่มีภาพที่สร้างจากเอไอของเขาได้รับการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ในสหรัฐฯ ในวันที่ 15 กันยายน 2565

ภาพวาด AI ทำยังไงให้มีลิขสิทธิ์ ? หลังดราม่าแอป Loopsie ขโมยรูปไปใช้โดยไม่ขอ

หนังสือนิยายมีชื่อว่า Zarya of the Dawn ซึ่ง Kashtanova สร้างภาพประกอบโดยใช้ Midjourney โดยได้ยื่นต่อสำนักงานลิขสิทธิ์ของสหรัฐฯ ว่าใช้เอไอเพื่อช่วยสร้างภาพประกอบ (ไม่ได้สร้างภาพทั้งหมดด้วยเอไอ) เขาเขียนเรื่องราวและสร้างสรรค์การจัดวางรูปแบบหนังสือด้วยตนเอง

related