svasdssvasds

วงการการเงินดึง ‘Generative AI’ พลิกโฉมธุรกิจเดินหน้าสู่โลกอนาคต

วงการการเงินดึง ‘Generative AI’ พลิกโฉมธุรกิจเดินหน้าสู่โลกอนาคต

ธุรกิจด้านการเงินรวมทั้งฟินเทคหลายราย สนใจที่จะนำ”ปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์” หรือ “Generative AI” เข้ามาให้การบริการด้านการเงิน ด้วยกระแสความนิยมของเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยนี้ กลายเป็นเมกะเทรนด์ที่น่าจับตามอง

ชลเดช เขมะรัตนา นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย มองว่าภาคการเงินในต่างประเทศ มีการนำเทคโนโลยีเอไอ มาใช้ในระยะหนึ่งแล้ว โดยใช้ในการอ่านข้อความและตรวจสอบการทำธุรกรรมในบางขั้นตอนที่ต้องทำซ้ำๆ หรือการเอาเอไอมาช่วยตรวจสอบระบบ การชำระเงินและบัตรเครดิต

ซึ่งหากเกิดการโจรกรรมทางไซเบอร์ AI จะสามารถใช้ บิ๊ก ดาต้า ทั้งหมดมาวิเคราะห์ เพื่อตรวจสอบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ รวมทั้งวางแผนป้องกันปัญหาที่อาจเจอได้ 

นอกจากนี้ กลุ่มการเงินยังมีแผนด้านการตัดสินใจลงทุนเทคโนดลยีใหม่ๆ เช่น ROBO ADVISOR หรือบริการสร้างและบริหารพอร์ตกองทุนรวมอัตโนมัติ ที่จะเข้ามาช่วยออกแบบสัดส่วนการลงทุนตามเป้าหมาย ลดความเสี่ยง และมองโอกาสความต้องการลงทุน

โดยมีการปรับใช้งานในประเทศไทยมาราวๆ 5-6 ปีแล้ว สิ่งนี้เรียกว่าเป็นการลงทุนเทคโนโลยีในตระกูล "AI ดั้งเดิม"

ชลเดช เขมะรัตนา นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย

ในปีนี้จึงเห็นหลายแบงก์ในไทยลงมาเล่นในกระแสเอไอ มากขึ้น เนื่องจากสามารถแก้ปัญหาได้หลายจุด ทั้งการบริการลูกค้าอย่างทั่วถึงและเพิ่มคุณภาพการบริการ เช่น แก้ไขปัญหา Datacall ปัญหาการบริการคอลเซ็นเตอร์ที่ไม่สามารถรองรับลูกค้าได้

ในอนาคตโลกอาจมี Generative AI ที่ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับผู้บริโภคในตลาดการเงิน เพื่อแนะนำบริการทางการเงิน โดยตรง ทั้งในเรื่องของการคำนวน เครดิตสกอริ่งในการกู้ยืม ควรมีดอกเบี้ยเท่าไหร่ หรือใช้เทรดดิ้งโมเดลอย่างไร รวมถึง Customer Service ในประเทศไทย ที่บางองค์กรใช้ AI ในการโต้ตอบกับลูกค้า เพื่อสร้าง Customer Engagement

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

โอกาสเงิน 4.4 ล้านล้านดอลลาร์ ไหลเข้าเศรษฐกิจโลก

รายงานจาก McKinsey เผยว่า Generative AI อาจทำเงิน 4.4 ล้านล้านดอลลาร์ เข้าสู่เศรษฐกิจโลกทุกปี วิเคราะห์จากศักยภาพทางเศรษฐกิจของเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากกรณีการใช้งานที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ทางการแพทย์ที่ซับซ้อน การวินิจฉัยไปสู่การสร้างสรรค์ทางศิลปะ และการวิเคราะห์ข้อมูลในโลกการเงิน

เรียกได้ว่า Generative AI เป็นเทคโนโลยีหลักในอุตสาหกรรม AI ซึ่งอาจมีมูลค่า 15.7 ล้านล้านดอลลาร์ภายในปี 2573 และการเติบโตของแอปพลิเคชั่น AI เช่น ChatGPT และ Stable Diffusion ได้ก่อให้เกิดการปฏิวัติทางเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำถึงศักยภาพของ AI ที่จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเฉพาะว่า

  • ธนาคาร
  • เทคโนโลยีขั้นสูง
  • วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต

เป็น 3 อุตสาหกรรมที่ได้รับประโยชน์จาก AI มากที่สุดในแง่ของอุตสาหกรรม การธนาคาร เทคโนโลยีนี้จะสามารถสร้างมูลค่ามากขึ้น 2 แสนล้านดอลลาร์ถึง 3.4 แสนล้านดอลลาร์ต่อปี หากนำไปใช้อย่างเต็มที่

วงการการเงินดึง ‘Generative AI’ พลิกโฉมธุรกิจเดินหน้าสู่โลกอนาคต

“หุ้นเทค” กลายเป็นหุ้นทางเลือกที่ตลาดสนใจ

หากมองในมุมของตลาดหุ้น หมวด ”อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ” หรือหุ้นเทคโนโลยี นับว่าเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตของกำไรในระดับสูง

ซึ้งหุ้นกลุ่มนี้มีกำไรต่อหุ้น (EPS) เติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 22% ต่อปี และมีรายได้เติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 8% ต่อปีเหมาะสำหรับการลงทุนในระยะยาว เพราะเป็นหนึ่งในกลุ่มเมกะเทรนด์ของโลก รายได้เติบโตได้ดีในทุกสภาวะเศรษฐกิจ 

นายกสมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทยมองว่า Nvidia คือ หุ้นที่น่าสนใจ แม้จะเป็นหุ้นเทคโนโลยีที่เติบโตขึ้นใหม่  

แต่ได้กระแสมาจากการเป็นคริปโทไมนิ่ง หรือการเป็นผู้นำการผลิตซอร์ฟแวร์ Data center ที่เราคุ้นหูในชื่อ “ธุรกิจชิป” ซึ่งตลาดมีความต้องการในสินค้ากลุ่มนี้ เพิ่มมากขึ้น พร้อมเทรนด์การใช้ AI จึงกลายเป็นจุดดึงดูดนักลงทุนจนมีมูลค่าหุ้นเติบโตขึ้น

นอกจากนี้ เทรนด์ AI อาจเป็นเทคโนโลยีที่เติบโตในระยะยาวอย่างแท้จริง ไม่เหมือนตลาดคริปโทที่มีความผันผวนสูงรวมทั้งมีความเสี่ยง

ที่มาจากหลายบริษัทยักษ์ใหญ่เข้ามาลงทุนในเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ OpenAI และ ChatGPT เช่น ไมโครซอฟท์ เพื่อที่จะนำเอาศักยภาพของเทคโนโลยีมารวมเข้ากับเครื่องมือต่างๆ ของบริษัท 

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จะเกิดความชัดเจนยิ่งขึ้นในตลาดการเงิน คือ การนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาสร้างสรรค์แก่ลูกค้า จนกลายเป็น Financials AI ที่มีทั้งการให้คำปรึกษาทางการเงินด้วยปัญญาประดิษฐ์ จากแต่เดิมที่ถูกใช้แต่ในระบบหลังบ้าน ซึ่งผู้บริโภคไม่สามารถจับต้องได้ 

สู่การบริหารออกแบบด้านการเงินที่ทันสมัยและตรงใจผู้บริโภคได้ดีมากขึ้น

related