หัวเว่ย แนะภาครัฐและธุรกิจ ไม่ควรมองข้ามเรื่อง "ดิจิทัลอินเทลิเจนซ์" ที่จะนำไปปรับใช้กับธุรกิจและลูกค้า เพราะเรื่องของเทคโนโลยีไม่ได้ใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงในอีก 10 ปีข้างหน้า แต่จะเปลี่ยนภายใน 3-5 ปี นั่นจึงเป็นโอกาสในการเติบโตและยั่งยืนไปพร้อมกัน
ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ขึ้นพูดในหัวข้อ เทคโนโลยีใหม่ เปลี่ยนไทย-เปลี่ยนโลก
เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2565 เครือเนชั่น นำโดย สปริงนิวส์ ฐานเศรษฐกิจ และโพสต์ทูเดย์ ได้เปิดเวทีสัมมนาอนาคตประเทศไทย นวัตกรรมขับเคลื่อนประเทศ ณ ห้องแกรนด์ บอลลูม โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ เวลา 12.00-16.30 น.
วันนี้เราอยู่ในโลกของดิจิทัลอินเทลิเจนซ์ (Digital Intelligence) ทั้งในแง่ของธุรกิจและการใช้ชีวิต นั่นแสดงว่าโลกของเรามีการ disrupt ขึ้นอย่างรวดเร็ว แบบไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และดิจิทัลอินเทลิเจนซ์ทำให้เรื่องของเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ไม่ใช่แค่ในเรื่องของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว แต่ลูกค้า (Customer) ก็เปลี่ยนอย่างรวดเร็วเช่นกัน เพราะการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วแสดงให้เห็นว่าเรากำลังมีโอกาสในการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการสร้างความมั่นคงของประเทศ
ทั้งนี้ เรื่องของเทคโนโลยีจะมีซ้อนกัน ไม่ว่าจะเป็น อุปกรณ์สื่อสารไว้คุยกับอุปกรณ์ด้วยกัน เครือข่ายอย่าง 5G การจัดเก็บข้อมูลไว้บนคลาวด์ และการใช้ AI มาช่วยให้การทำงานเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น
ซึ่งไม่ว่าเทคโนโลยีจะพัฒนาไปอย่างไร เราไม่สามารถมองข้ามเรื่อง Sustainsibility ได้เลย
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
วันนี้หากโลกของเรากำลังเข้าสู่โลกดิจิทัลทวินส์ (Digital Twins) หรือเมืองที่จะมีฝาแฝดด้านเทคโนโลยี ผ่าน 3 เลเยอร์ คือ
ยกตัวอย่างเช่น กล้องวงจรปิด ที่สมัยก่อนใช้ถ่ายได้อย่างเดียว แต่ถ้าจะดูข้อมูลย้อนหลังต้องใช้เวลาในการดึงข้อมูล เมื่อเอาความฉลาดใส่เข้าไปกล้องวงจรปิดสามารถช่วยในการจับผิดพฤติกรรมที่ไม่ดี แจ้งเตือนเมื่อเกิดภัยร้าย และช่วยให้เข้าถึงข้อมูลเรื่องความปลอดภัยได้แบบทันที รวมทั้งช่วยในเรื่องของการควบคุมระเบียบในการบริหารจัดการข้อมูลต่างๆ ให้ไปก่อให้เกิดประโยชน์
อย่างเส้นทางการเดินรถที่จะมาในเวลาไหน ให้ผู้โดยสารวางแผนการเดินทางได้อย่างรวดเร็ว
นอกจากนี้ การนำ AI เข้ามาตอบสนองในเรื่องของความปลอดภัยและเรื่องสุขภาพ จะช่วยลดภาระคุณหมอในการรักษาผู้ป่วย ส่งข้อมูลการรักษาได้แบบทันทีทันใด ทำให้ช่วยบรรเทาการเจ็บป่วยที่รุนแรง รวมทั้งการใช้แอปพลิเคชั่นทางการแพทย์ ก็ช่วยให้ลดทราฟิกในการรอคิว ลดปัญหาเมืองรองไม่สามารถเข้าถึงหมอได้ยาก และการรีโมทเฮลท์แคร์จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์ ได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างอนาคต ไม่ว่าจะเป็น ค้าปลีก พลังงาน การเงิน โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ต่างก็ต้องคิดในเรื่องของการรักษ์โลกหรือ Sustainsibility
หากผู้ประกอบการไม่สามารถปรับตัวตามเทคโนโลยีให้ทัน ก็ยากที่จะพัฒนาหรือสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ
นอกจากนี้ โอกาสของเทคโนโลยีต้องไม่ใช่แค่การใช้งานทั่วไป แต่ต้องเป็นอีโคซิสเต็มส์ เพื่อสร้างอิมแพคให้แก่ประเทศ