เมดพาร์ค เดินหน้าสร้างความยั่งยืน ซึ่งเป็นเมกะเทรนด์ ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลได้เกิดขึ้นและเป็นกระแสที่มาแรงอย่าง รวมทั้งหนุนไทยสู่การเป็นเมดิคัลฮับระดับโลก
ในการสัมมนา THANX FORUM 2023 HEALTH AND WELLNESS SUSTAINABILITY จัดโดย “ฐานเศรษฐกิจ” นางสมถวิล ปธานวนิช ผู้ร่วมก่อตั้งและที่ปรึกษา โรงพยาบาลเมดพาร์ค ได้ขึ้นกล่าวในช่วงเสวนา “DIGITAL HEALTH TECH ระบบนิเวศใหม่การแพทย์ไทย” ว่า โรงพยาบาลเมดพาร์ค ถูกก่อตั้งขึ้นด้วยวิสัยทัศน์และพันธกิจที่ได้ผนวกเรื่องของความยั่งยืน
ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มดำเนินการแนวความคิด คือการเป็น Value Healthcare Provider เราเป็นโรงพยาบาลระดับ Super Tertiary care เป็นศูนย์รวมของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง มากกว่า 30 สาขา เราดูแลรักษาโรคยากซับซ้อน
ดังนั้น เทคโนโลยีที่เลือกใช้จึงต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และตอบโจทย์ในเรื่องของงานบริการหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
นอกจากนี้ ที่เมดพาร์คยังมีการนำเทคโนโลยีมาใช้งาน ในเรื่องของ
ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลช่วยได้มากในเรื่องของการส่งผ่านข้อมูล การบันทึกและการเก็บประวัติ ซึ่งไม่ว่าข้อมูลผู้ป่วยจะถูกอ้างอิงมาจากโรงพยาบาลใด
ทางเมดพาร์ค ก็สามารถที่จะแชร์ วิเคราะห์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับแพทย์เจ้าของไข้เดิมได้ ซึ่งทางโรงพยาบาลได้ทำมาตลอดระยะเวลาในช่วงโควิด-19 กับทั้งในและต่างประเทศ
นอกจากนี้ ที่เมดพาร์คยังได้เน้นย้ำ กับทีมแพทย์และสหวิชาชีพที่ทำงานร่วมกัน และดูแลคุณภาพชีวิตบุคลากรของโรงพยาบาลให้ดีเช่นกัน
ความสะอาดและการป้องกัน PM2.5
นอกจากนี้ ในเรื่องของความสะอาดที่ มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่เป็นปัญหาที่น่ากังวลไม่ว่าจะใช้น้ำช่วยบรรเทาฝุ่นให้เจือจาง หรือน้ำฝนทตกลงมาก็ช่วยชะล้างไม่ได้ เพราะมีขนาดที่เล็กมาก สามารถเข้าไปสะสมในสมองลึกถึงในเส้นเลือดได้
ดังนั้นตึกของเมดพาร์คจึงเป็นตึกที่เป็นกรีนบิวดิ้ง ที่อากาศจะถูกดันออกไป เชื้อโรคจะเข้ามายาก และมีการเติมอากาศที่มีการกรองและฆ่าเชื้อ ซึ่งการดูแลบุคลากรให้ทำงานกับเราและมีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ และถือเป็นสิ่งสำคัญในเรื่อง Sustainability (ความยั่งยืน)
ยังไม่หมดแค่นั้น ทั้งตึกของเมดพาร์คยังมีการใช้กระจกที่ไม่สะท้อน หรือสะท้อนแสงน้อย ทำให้ไม่สะท้อนความร้อนไปยังตึกข้างเคียง หรือชุมชนข้างเคียง และทำให้ด้านในอาคารประหยัดการใช้ไฟฟ้า หรือประหยัดรายจ่ายจากเครื่องปรับอากาศ
ทางโรงพยาบาลยังมีพื้นที่สีเขียวค่อนข้างมาก และหน้าตึกของโรงพยาบาลจะมีป้ายบอกคุณภาพของอากาศ รวมถึงปริมาณฝุ่น PM 2.5 ที่เปรียบเทียบข้างนอกกับข้างในอาคาร โดยมอนิเตอร์แบบเรียลไทม์ตลอดเวลา
“เมื่อประเทศไทยต้องการที่จะเป็นเมดิคัลฮับ เราต้องแสดงให้โลกเห็นว่า เขามาที่เราแล้วปลอดภัย ทั้งหมดทั้งมวลที่ทำเพื่อลดการติดเชื้อในอาคาร เพราะผู้ป่วยที่มีโรคแทรกซ้อนส่วนใหญ่จะมีความอ่อนไหว หรือผู้ป่วยที่มาจากต่างประเทศก็นำเชื้อโรคติดตัวมาด้วย ซึ่งอาจจะเป็นเชื้อดื้อยาต่าง ๆ ดังนั้นระบบดูแลป้องกันการติดเชื้อของเราจะต้องแข็งแรงมาก”
ทั้งนี้ โรงพยาบาลยังได้จัดทำแอพพลิเคชั่น My MedPark เพื่อช่วยคนไข้ดูแลตัวเองได้ดีขึ้น เพราะจะมีเก็บข้อมูลอยู่กับตัว มีผลแล็บของตัวเอง มีการแจ้งเตือนต่าง ๆ การใช้ยา การนัดหมอเรียลไทม์ และสามารถฝากคำถามต่าง ๆ ไว้ได้
โดยมีระบบซีเคียวริตี้ในการเข้าใช้ข้อมูลของตัวเอง ซึ่งเวลานี้ได้รับผลตอบรับที่ดีมาก และที่สำคัญทางโรงพยาบาลมีการคิดค่าบริการที่โปร่งใส ทั้งนี้ทางเมดพาร์คยินดีจะร่วมมือกับทุก ๆ โรงพยาบาลในประเทศไทย เพื่อยกระดับให้ประเทศเป็นเมดิคัลฮับที่ดี ที่ชาวโลกยอมรับและมาใช้มาบริการมากขึ้น และคนไทยเข้าถึงได้
ขณะนี้จำนวนแพทย์ต่อประชากรของไทย น้อยกว่าเมื่อเทียบกับหลาย ๆ ประเทศ อย่างเช่น
ที่สำคัญคือเราจะใช้ความเชี่ยวชาญตรงนั้น มาร่วมมือกันในการดูแลและรักษาผู้ป่วยได้อย่างไร ซึ่งเราไม่มีความคิดที่จะแย่งคนไข้ แต่จะร่วมมือเพื่อเป็นประโยชน์กับคนไข้ก่อน
เพราะเรามองว่าในอนาคต จะเป็นยุคแห่งความร่วมมือและการบูรณาการ การสร้าง continuum of care ที่ไร้พรมแดน เพื่อดูแลผู้ใช้บริการแบบเรียลไทม์ ในขณะเดียวกันตอบโจทย์ความต้องการ แบบเฉพาะตัว customized and individualized ได้มากขึ้น ความสวยงามของเฮลท์เทค ก็คือเป็นตัวช่วยของแพทย์ ที่จะทำให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการรักษาดีขึ้น
เมดพาร์คจึงเน้นที่การนำแพทย์ที่เชี่ยวชาญมาทำงานร่วมกันเป็นทีมควบคู่กับการเลือกใช้เฮลท์เทคที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเรา ดูแลรักษาผู้ป่วยโรคยากซับซ้อนอย่างบูรณาการและต่อเนื่อง