ChatGPT คืออะไร วันนี้เรารวบรวมข้อมูลมาอธิบายสั้นๆ ให้คุณสามารถเข้าใจได้ และปัจจุบัน ChatGPT ทำอะไรได้บ้าง เชื่อถือได้ไหม และอนาคตมันจะมาแย่งงานเราได้หรือเปล่า
ChatGPT (Chat Generative Pre-trained Transformer) คือ แชทบอทที่สามารถพิมพ์คำถามหรือคำสั่งเข้าไปและสามารถตอบได้ในรูปแบบบทสนทนา
ซึ่ง ดร.ปรัชญา บุญขวัญ นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้อธิบายที่มาของ ChatGPT ว่าเป็นการทำงานคล้ายกับว่าเป็นการเดาคำและจับคู่คำที่ทำได้อย่างแม่นยำ โดยเรียนรู้จากแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม ChatGPT จึงดูเก่งและฉลาดมาก
ChatGPT ทำอะไรได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นผู้ช่วยงานเขียนวิจัย , ร่างฟอร์มอีเมล์หรือจดหมาย รวมถึงการหาข้อมูลต่างๆในเชิงลึกที่รวดเร็วกว่าการค้นหากูเกิล ทำได้แม้กระทั่งการเขียนโปรแกรม
ChatGPT เบื้องหลังมี 3 ส่วนเล็กๆ ได้แก่
1.Transformer Model ทาง AI เป็นการแปลงข้อความข้อความหนึ่งไปอีกข้อความหนึ่ง เช่น เครื่องแปลภาษา , สรุปข่าวอัตโนมัติ ซึ่งจะเรียนรู้ว่าคำแบบนี้ควรตอบแบบไหน ซึ่งจะจับคู่และเรียนรู้จนได้คำตอบออกมา
2.Large Language Model เป็นการทายคำ ที่การเรียนรู้มาเยอะ ใช้ศาสตร์ของสถิติ และความน่าจะเป็นในการหาลำดับคำที่เกิดขึ้นในประโยค โดยวิเคราะห์จากเนื้อความของบริบทเพื่อการทำนายคำถัดไป
3.คลังข้อมูลชนิดพิเศษ มีการใส่คำสั่งและคำตอบเข้าไป ซึ่งมีทั้งคำถามปลายปิด,คำถามปลายเปิด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ซึ่งประเทศไทยยังคงมีปัญหาเรื่องแหล่งข้อมูลเนื่องจากมีขนาดเล็กอยู่ ในต่างประเทศมีข้อมูลสาธารณะจำนวนมาก แต่ในประเทศไทยยังคงเป็นข้อมูลปิดอยู่มาก ทำให้การพัฒนา ChatGPT ภาษาไทยเป็นไปได้ช้ากว่า
จุดอ่อนของ ChatGPT ทำอะไรได้ไม่ดีบ้าง?
ChatGPT มีจุดเด่นเรื่องการท่องจำ แต่งบทกลอน คิดคำต่างๆ แต่ที่ทำได้ไม่ดีนั้นคือเรื่องคณิตศาสตร์และการให้เหตุผลหรือคำถามที่ต้องการความเข้าใจและความละเอียดอ่อนเป็นสิ่งที่แชทบอทไม่สามารถทำได้
ซึ่งปัจจุบันยังมีการตอบผิดตอบถูกอยู่บ้าง เนื่องจากแชทบอทได้คำตอบมาจากการท่องจำ และ "เดาคำ" และต้องรีเช็กหรือตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งก่อนนำไปใช้งาน
รศ.ดร.วิริยะ เตชะรุ่งโรจน์ ได้พูดถึงจุดแข็งของ ChatGPT คือ Creative Writing หรือการเขียนเชิงสร้างสรรค์ , Essay Writing , Code Writing , Prompt Writing และการตอบคำถาม ซึ่งยังได้กล่าวเสริมเกี่ยวกับการร่วมงานของมนุษย์และแชทบอทที่จะทำงานด้วยกันได้ ซึ่งจุดแข็งของมนุษย์คือความยืดหยุ่นมากกว่าแชทบอท
ดร.ภูมิศิริ ดำรงวุฒิ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึง ChatGPT ในส่วนของงานวิจัย ซึ่งโดยปกติแล้วการทำวิจัยต้องอ้างอิงหมด ถึงแม้จะใช้ ChatGPT ควรจะต้องหาการอ้างอิงข้อมูล ถ้าระบุไม่ได้ ไม่ควรจะใส่ลงไปในงานวิจัย
เราสามารถสรุปได้ว่า ChatGPT ยังไม่น่ากลัวอย่างที่คิด และยังไม่สามารถมาแย่งงานเราได้ แต่ทุกคนต้องปรับตัวและพัฒนาให้รู้จักและใช้ AI หรือ ChatGPT ควบคู่ไปกับการทำงานในปัจจุบัน ก็ถือว่าตัวช่วยและเครื่องมือที่น่าสนใจมาก