ไขวลี หมดยุครายได้ทางเดียว แต่ต้องมี อาชีพหลัก อาชีพรอง จริงแค่ไหน ? หรือจริง ๆ แล้วนี่ถือเป็นการสิ้นสุดยุคคนเดียวทำเป็นแค่อย่างเดียวแล้ว ?
วลี "หมดยุคสร้างรายได้ทางเดียว" กลายเป็นคำที่คนรุ่นใหม่แชร์กันอย่างแพร่หลายช่วง 1-2 วัน ที่ผ่านมา ทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า สิ้นสุดยุค คนเดียว ทำได้อย่างเดียวจริงไหม ? หรือแค่ข้าวของแพงขึ้นเลยต้องทำงานเพิ่มขึ้น ?
วลีนี้เกิดจาก เพจหนึ่ง โพสต์เรื่องราวที่ว่า "หมดยุคสร้างรายได้ทางเดียว แล้วตามด้วย ปัจจุบัน 1 ตำแหน่ง ควรจะมี ... ตำแหน่ง" ทำให้กลายเป็นกระแสบนโลกออนไลน์
น่าสนใจว่าด้วยลักษณะการทำงานในยุคปัจจุบัน หนึ่งตำแหน่งมักถูกเพิ่มงานให้ควบคุมได้หลายสายงาน เช่น อาชีพกราฟิก หากสามารถออกแบบและตัดต่อได้ องค์กรก็จะชอบ
อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง
บุ๋ม บุณย์ญานุช บุญบำรุงทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ YourNextU by SEAC ระบุไว้ในรายการ SPRiNG Digital Life กับ ต๋า สปริงนิวส์ ว่า เมื่อก่อนเรามักพูดถึงคนที่เก่งแบบพยัญชนะตัว T หรือ ความลึกเรื่องเดียวและกว้างในหลายเรื่อง ซึ่งในยุคถัดมาเราก็พูดถึง ความรู้แบบตัว H หรือ ลึกและกว้างมากกว่า 1 ด้าน
"ปัจจุบัน คนเราควรเก่งและมีทักษะทำงานแบบ ซี่หวี คือ เก่งและลึกในหลากหลายด้านมาก ๆ"
ขณะเดียวกัน เนื่องจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ทำให้สภาวะเศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่สภาวะถดถอย นั่นหมายความว่า ค่าครองชีพจะสูงขึ้น ดังนั้นองค์กรก็ต้องลดรายจ่ายบางอย่าง เช่น จำนวนพนักงาน และหากเรามีเพียงทักษะเดียว เราจะขาดซึ่งอำนาจต่อรองและคุณค่าที่องค์กรจะรักษาเราไว้
ขณะเดียวกันหากเรามีความสามารถมากกว่า 1 ตำแหน่งในสาขาเดียวกัน นั่นหมายความว่าเราจะมีโอกาสในการทำงานมากกว่าคนอื่นในการทำงาน หรือสมัครงานในที่ใหม่ ๆ
ดังนั้นคำถามคือว่า วันนี้หากเรามีทักษะการทำงานรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งลึก มันลึกมากพอที่จะทำให้คุณโดดเด่นในอาชีพการทำงานหรือไม่ ? ถ้าไม่แล้ว เรามีความรู้กว้างพอที่จะนำศาสตร์ในสาขาอื่น ๆ มาดังแปลงและเพิ่มคุณค่าให้กับตัวเอาเองหรือไม่ ? ถ้าไม่ แล้วอะไรที่จะทำให้องค์กรรั้งเราไว้ต่อไปในสภาพที่ทุกคนต้องต่อสู้กับสภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังย่ำแย่ ? แต่ถ้าใช้แล้วเงินเดือนที่คุณได้คุ้มกับค่าจ้างที่ได้รับหรือไม่ ?