เป็นอีกหนึ่งประเทศที่แบน TikTok หลังสหรัฐฯ อังกฤษและอินเดีย กล่าวหาว่าเป็นสายลับจีนในการนำข้อมูลของประชากรไปให้แก่จีน แม้ TikTok จะยอมถอยหลายด้านทั้งขายหุ้นให้ไมโครซอฟท์ จ้างงานคนอเมริกากว่าหมื่นตำแหน่ง แต่เหมือนว่ายังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้เลย
ปัญหาความขัดแย้งและข้อกล่าวหาเรื่องการขโมยข้อมูลของผู้ใช้โซเชียลมีเดียไปให้แก่จีน จนทำให้ TikTok ต้องเจอความท้าทายมากขึ้นเรื่อยๆ
ก่อนหน้านี้ TikTok ต้องเสียฐานลูกค้ากว่า 20 ล้านรายในอินเดียไป เนื่องจากความขัดแย้งและการปะทะกันของ 2 ประเทศบริเวณตะเข็บชายแดน
จากนั้น โดนัลด์ ทรัมป์ ขณะที่ยังเป็นประธานาธิบดี ก็มีคำสั่งแบน TikTok ในสหรัฐ จนทำให้บริษัทแม่อย่าง Bytedance ต้องยอมปล่อยหุ้นใหญ่ในมือแบ่งให้แก่ไมโครซอฟท์ส่วนหนึ่ง เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจว่าไม่เคยนำข้อมูลไปขายให้แก่จีน
รวมทั้งยังจ้างงานคนอเมริกาอย่างน้อย 1 หมื่นตำแหน่งภายใน 3 ปี คิดเป็น 10 เท่าของการจ้างงานในบริษัท เพื่อรักษาผู้ใช้งานเกือบ 100 ล้านคนในสหรัฐ เพราะไม่อยากซ้ำรอยเดียวกับในอินเดีย
ด้าน สิงคโปร์ที่ติดร่างแหกรณีความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีจุดยืนเดียวกับสหรัฐ และเลือกยืนอยู่ข้างสหรัฐแทนชาติเอเชียด้วยกัน และออสเตรเลียก็เป็นประเทศที่ชงให้ชาติอาเซียนอย่าง เวียดนาม อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ไม่ยอมให้จีนในประเด็นข้อพิพาทบนเขตน่านน้ำทับซ้อนนี้ เพราะไม่อยากให้จีนแผ่อำนาจและอิทธิพลเข้ามาในแถบอาเซียนมากเกินไป
อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม
ทางการอังกฤษเอง ก็มีการประกาศห้ามใช้แอป TikTok ทันที ตามหลังสหรัฐฯ แคนาดา เบลเยี่ยม และอีกหลายประเทศในยุโรปด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย ซึ่งเนื้อหาที่ระบุคือ "ความปลอดภัยของข้อมูลรัฐบาลต้องมาก่อน" และ "การห้ามใช้แอปฯ ในอุปกรณ์ของรัฐ เป็นขั้นตอนที่รอบคอบและเหมาะสมตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง"
แม้ TikTok จะค่อนข้างผิดหวังต่อการตัดสินใจของทางการอังกฤษ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ จึงตัดพ้ออังกฤษได้แค่ว่า "เป็นการแบนที่อยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจผิด ซึ่งผู้ใช้งาน TikTok ในอังกฤษไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับปัญหานี้เลย"
อย่างไรก็ตาม การแบน TikTok ในสหรัฐฯ ไม่ได้จบลงหลังลงจากตำแหน่งของทรัมป์ แต่ยุคของไบเดนเอง ก็ยังแสดงความกังวลเกี่ยวกับหลักฐานการนำข้อมูลไปให้จีน ทำให้ไบเดนเองก็ยังแสดงความกังวลและออกคำสั่งห้ามใช้แอปในหน่วยงานแห่งรัฐ รวมทั้งทำเนียบขาว ก็ยังสนับสนุนร่างกฏหมายของวุฒิสภาในการเพิ่มอำนาจให้แก่ฝ่ายบริหาร ในการห้ามใช้ TikTok และเทคโนโลยีจากต่างประเทศ หากเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของชาติ
ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เป็นอีกสองประเทศล่าสุด ที่หน่วยงานรัฐบาลประกาศห้ามใช้แอป TikTok ในอุปกรณ์ของหน่วยงานภาครัฐ โดยตัดสินใจตามคำแนะนำของหน่วยงานด้านความปลอดภัย เพื่อป้องกันปัญหาด้านการเก็บข้อมูล หรือหากคนนั้นต้องการใช้งาน TikTok จริงๆ ก็ต้องแยกใช้เครื่องในการทำงานกับเครื่องที่ใช้ในชีวิตส่วนตัว
แม้ว่าประเทศต่างๆ ทั่วโลก จะไม่มี "หลักฐาน" ที่ชัดเจนว่า TikTok ขโมยข้อมูลจริงหรือไม่ นอกจากคำกล่าวอ้างที่ฝ่ายความมั่นคงหวั่นเกรงไปเอง หรือหนึ่งในคำให้การของบริษัทผู้จัดเก็บข้อมูลอย่าง Oracle ที่ออกมาบอกว่ามีการส่งข้อมูลจากสหรัฐไปยังจีน แต่ก็ไม่ได้มีความชัดเจนว่าเป็นข้อมูลที่ส่งกลับไปนั้นเป็นข้อมูลที่เซนซิทีฟหรือไม่ นอกจากข้อมูลทั่วไปที่เอาไปใช้ในการทำกลยุทธ์ด้านการตลาด
งานนี้น่าจะเป็นศึกหนักของ TikTok ในการสร้างความมั่นใจและสู้กับคำว่า "สายลับจีน" ออกจากแบรนด์ของตนเองให้ได้