Toyota และ CP เตรียมพัฒนาผลิตรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้า 100% (BEV) และพลังงานไฮโดรเจน (FCEV) เพื่อใช้ในการขนส่งสินค้า สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในประเทศไทย พร้อมเปิดกว้างพันธมิตรทุกภาคส่วน
Toyota ผู้ผลิตรถยนต์ชื่อดังจากญี่ปุ่น ได้จับมือร่วมกับ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (ซีพี) เตรียมพัฒนารถบรรทุกไฟฟ้า 100% และพลังงานไฮโดรเจน เพื่อใช้ในการขนส่งและบรรทุกสินค้าต่างๆ
โดยจุดมุ่งหมายที่ต้องการก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในประเทศไทย
นาย อากิโอะ โตโยดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และ ประธานคณะกรรมการบริหารของ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น และ นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสของ ซีพี จะแสวงหาความร่วมมือทางสังคม ด้วยการเชื่อมโยงกันระหว่างสองบริษัทฯ เราจะช่วยกันดำเนินการในสิ่งที่สามารถทำได้ในขณะนี้ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนกระบวนการผลิต การขนส่ง และการใช้พลังงาน เพื่อนำไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายใต้กรอบความร่วมมือดังนี้
1.ศึกษาการผลิตไฮโดรเจนโดยใช้ก๊าซชีวภาพที่ได้จากของเสียจากฟาร์มในประเทศไทย (การศึกษาในเขตเศรษฐกิจพิเศษ)
2.การใช้รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) ในกิจกรรมของ ซีพี ซึ่งจะใช้ไฮโดรเจนดังกล่าว และ รวมไปถึง รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้า100% BEV : Battery Electric Vehicle (นำเสนอแนวทางที่หลากหลาย เช่น BEV และ FCEV โดยพิจารณาจากระยะการเดินทางและน้ำหนักบรรทุก)
3.ศึกษาความร่วมมือด้านการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ โดยอาศัย เทคโนโลยีการเชื่อมต่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเส้นทางการจัดส่ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
โดยครั้งนี้จะมีบริษัทอื่นๆเข้ามาพัฒนาร่วมด้วย เช่น Hino Motors, Ltd. และกลุ่มบริษัทใน Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (ประกอบด้วย ISUZU Motors Limited, SUZUKI Motor Corporation, DAIHATSU Motor Co., Ltd. และ TOYOTA)
วัตถุประสงค์ที่น่าสนใจของ CP และ Toyota Motors คือต้องการแก้ปัญหาความท้าทายที่ภาคขนส่งและความเป็นกลางทางคาร์บอน รวบบริษัทผลิตรถยนต์เพื่อการขนส่งและเชิงพาณิชย์ร่วมมือกันเป็นพันธมิตร
ซึ่งข่าวสารครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า Toyota ต้องการพัฒนารถยนต์พลังงานไฟฟ้าและรถยนต์พลังงานไฮโดรเจนไปพร้อมๆกัน เพื่อทางเลือกในการใช้พลังงานที่เหมาะในแต่ละพื้นที่ ทางผู้เขียนเชื่อว่าอีกไม่นาน เขตนิคมอุตสาหกรรมต่างๆจะมีปั้มเติมไฮโดรเจนเพื่อรองรับรถยนต์พลังงานไฮโดรเจน (FCEV) และสถานีชาร์จไฟฟ้าจะถูกกระจายสู่ทั่วประเทศอย่างรวดเร็วจากการพัฒนาครั้งนี้