svasdssvasds

ไทยรั้งท้าย! คลื่น 3500 MHz ยังรอประมูล อาจเสียเปรียบแข่งขัน

ไทยรั้งท้าย! คลื่น 3500 MHz ยังรอประมูล อาจเสียเปรียบแข่งขัน

รายสุดท้ายในเอเชีย! ผู้เชี่ยวชาญคลื่นความถี่ชี้ ไทยรั้งท้าย จัดสรรคลื่น 3500 MHz เชื่อ! หนุนภาคธุรกิจและส่งเสริมประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัลเต็มรูปแบบ

รศ.ดร.วิทวัส สิฏฐกุล หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการนวัตกรรมไร้สายล้ำหน้ายุค 5G มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวว่า โดยส่วนตัวมองว่าการนำคลื่น 3500 MHz มาประมูลในรอบนี้ ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการสื่อสาร เนื่องจากเป็นคลื่นความถี่ที่เหมาะสมกับเทคโนโลยี 5G มากที่สุด และยังไม่ได้มีการนำมาจัดสรรให้กับกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยปัจจุบัน กสทช.จัดสรรคลื่น 3500 MHz ไว้เป็นช่องว่าง เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนกับสัญญาณดาวเทียม C-Band หรือจานดำ ที่ใช้คลื่น 3700 – 4200 MHz  

ไทยรั้งท้าย! คลื่น 3500 MHz ยังรอประมูล อาจเสียเปรียบแข่งขัน

GSM-A เผยใช้ 3500 MHz กิจการสื่อสารเพิ่มมูลค่า 15 เท่า!

จากการศึกษาของ GSM-A พบว่า มูลค่าของคลื่น 3500 MHz หากนำมาใช้งานในกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะมีมูลค่าสูงกว่าการใช้งานในกิจการดาวเทียมถึง 15 เท่า ดังนั้น การชะลอการนำคลื่น 3500 MHz มาประมูล ถือเป็นต้นทุนค่าเสียโอกาสที่มหาศาลที่เกิดขึ้นต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ

เนื่องจากคลื่น 3500 MHz มีความสำคัญหลักในการสร้างโครงข่าย 5G ที่จะรองรับการพัฒนาประเทศให้เติบโตและแข่งขันดัวยเศรษฐกิจดิจิทัล ได้อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งสำนักงาน กสทช. เคยมีผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงมูลค่าเพิ่มที่เกิดจาก 5G มูลค่าไม่น้อยกว่า 150,000 ล้านบาท ยกตัวอย่างเช่น ระบบสาธารณะสุขทางไกล อุตสาหกรรมอาหาร, อุตสาหกรรมปิโตรเลียมและรวมถึงการต่อยอดไปเทคโนโลยี 5.5G เพื่อสานประโยชน์การใช้งาน AI และ Internet of Thing  (IoT) อย่างเต็มรูปแบบ ด้วยศักยภาพการเชื่อมต่อเร็วขึ้น 10 เท่า โดยมีความเร็วในการดาว์นโหลดสูงสุดถึง 10 Gbps ความเร็วอัพโหลดสูงสุดถึง 1Gbps และยังรองรับการเชื่อมต่อสูงถึง 100,000 ล้านอุปกรณ์

รายสุดท้ายเอเชีย ใช้ประโยชน์สื่อสารจาก 3500 MHz

กสทช. ควรจะเร่งนำคลื่นความถี่ย่าน 3500 MHz ที่ยังไม่มีการใช้งานบางส่วน เช่น ช่วงคลื่น 3300-3400 MHz มาประมูล เนื่องจากทุกประเทศในภูมิภาคเอเชีย ยกเว้นประเทศไทยได้วางแผนและเริ่มนำคลื่น 3500MHz มาใช้พัฒนา 5G นอกจากนี้ ยังมีผู้ให้บริการ 217 รายจาก 262 รายทั่วโลก (มากกว่า 80%) ได้นำมาใช้งาน เนื่องจากมีอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องตลาดที่ผู้บริโภคใช้งานอยู่ รองรับคลื่น 3500 MHz มีจำนวนมากที่สุดถึง 2,149 รุ่น

ท้ายที่สุด ผลกระทบที่ทีวีดิจิทัลกังวลอยู่นั้น ได้มีการศึกษาถึงวิธีการป้องกันและแก้ไขผลกระทบในด้านเทคนิคของภาคสัญญาณดาวเทียมให้อยู่ร่วมกันได้อย่างเป็นธรรมในอนาคต เช่น การติดตั้ง LNB Filter ให้กับบ้านเรือนประชาชนที่ใช้จานดำในรัศมีที่ได้รับผลกระทบจากการรบกวน การวางแผนการขยายสถานีฐานอย่างมีแบบแผน เป็นต้น

related